รายงานการประชุมการจัดการองค์ความรู้เรื่อง ?แนวทางปฏิบัติการจัดการเรียนการสอน แบบ Active Learning?ครั้งที่ ๒
รายงานการประชุมการจัดการองค์ความรู้เรื่อง ?แนวทางปฏิบัติการจัดการเรียนการสอน
แบบ Active Learning?
วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ เวลา ๑๓.๐๐ ? ๑๖.๐๐ น.
ณ ห้อง ๓๒๔ ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม
๑. นางสาววิไลวรรณ บุญเรือง หัวหน้าภาควิชาฯ
๒. นางวิมล อ่อนเส็ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๓. นางประภาพร มโนรัตน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๔. นางสาวดุจเดือน เขียวเหลือง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๕. นายอดุลย์ วุฒิจูรีพันธุ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๖. นางอัญชรี รัตนเสถียร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๗. นายบุญฤทธิ์ ประสิทธินราพันธุ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๘. นางสาวจิระภา สุมาลี พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๙. นายอิทธิพล แก้วฟอง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
ประธานที่ประชุม นางสาววิไลวรรณ บุญเรือง
เปิดประชุมเวลา ๑๓.๐๐ น.
ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
ประธานสรุปประเด็นองค์ความรู้เรื่อง แนวทางปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning จากการประชุมครั้งที่ผ่านมา
จึงแจ้งที่ประชุมทราบ
มติที่ประชุม รับทราบ
ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม
ไม่มี
ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องเพื่อพิจารณา
๑. ภาควิชาฯร่วมกันวิเคราะห์ แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ของภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช ซึ่งได้มาจากการประชุมวันที่ ๒๘ ส.ค. ๕๖ ได้แนวทางปฏิบัติร่วมกันและได้มอบหมายให้อาจารย์ทุกท่านนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในบทเรียนที่ตนเองรับผิดชอบตามแนวปฏิบัติ ดังนี้
๑) จัดทำ มคอ. ในรายวิชาที่รับผิดชอบสอน กำหนดกิจกรรม การเรียนการสอนที่ใช้รูปแบบ AL
๒) จัดทำแผนการสอนที่ใช้รูปแบบ AL
๓) ดำเนินการสอนตามแผนที่กำหนด
๔) ประเมินผลการจัดการเรียนการสอน
๕) สรุปผลการจัดการเรียนการสอน
๖) นำผลการจัดการเรียนการสอนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
และที่ประชุมมอบหมายให้ อ.จิระภา สุมาลี ได้ทดลองนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาทักษะชีวิต (ภาคทดลอง) และจะติดตามความก้าวหน้าในการประชุมครั้งต่อไป
…………………………………………….
(นางสาวจิระภา สุมาลี)
ผู้บันทึกรายงานการประชุม
การจัดการเรียนการสอนแบบ AL ต้องคำนึงถึงผู้เรียนร่วมด้วย เพราะว่าผู้เรียนแต่ล่ะบุคคลย่อมมีความรู้แตกต่างกันไป ดังนั้นเพื่อให้ผู้เรียนสามารถดึงความรู้มาใช้ในสถานการณ์ต่างๆได้จะต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่สามารถทำให้ผู้เรียนเชื่อมโยงระหว่างโครงสร้างความรู้ที่ผู้เรียนมีอยู่เดิม กับความรู้ใหม่ที่ได้รับ
มีข้อเสนอแนะถึงการนำ AL ไปใช้ในการประเมิน อาจารย์ออกแบบการประเมินที่สามารถนำไปใช้ได้จริง โดยเฉพาะหากใช้การสอนเป็นกิจกรรมกลุ่ม แต่อาจารย์ผู้สอนมีเพียงท่านเดียว อาจารย์ควรวางแผรการประเมินให้ชัดว่าต้องการประเมินในเรื่องใดบ้าง เช่น ผลงานกลุ่ม พฤติกรรมการทำงานกลุ่ม หรือพฤติกรรมของผู้เรียน
เพราะพอถึงเวลาประเมินจริง อาจารย์เพียงท่านเดียวอาจประเมินได้ไม่ครอบคลุม
แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอน แบบ Active Learning เป็นกรอบการปฏิบัติให้อาจาย์แต่ละท่าน เห็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ชัดเจน ซึ่งทำให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งจะเห็นแนวทางการวัดและประเมินผล ทำให้อาจารย์มีแนวทางการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนต่อไป
การจัดการเรียนการสอน แบบ Active Learning ในช่วงของการทำ มคอ.ของรายวิชา อ.ที่สอนแต่ละบท มาคุยกัน จะช่วยให้ได้รูปแบบการสอน ที่หลากหลายและนักศึกษาไม่รู้สึกเบื่อกับการเรียน
จากการประชุมมีการระบุแนวปฏิบัติร่วมกันในการจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุก
(Active Learning) ของภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช ซึ่งเป็นแนวทางที่ดี มีรายวิชาทีทดลองสอน”ทักษะชีวิต” เพื่อนำผลลัพธ์ที่ได้มาปรับปรุงเป็นต้นแบบให้กับรายวิชาอื่นๆ ทั้งผลดีที่ได้รับ ข้อเสนอแนะ หรืออื่นๆ และหากนำผลการทดลองสอนมาปรับใช้กับทุกรายวิชาที่มีหลายรูปแบบ หลากหลายวิธีการสอน จะส่งผลดีต่อการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
แนวปฏิบัติการเรียนการสอนแบบ AL ของภาควิชาฯ เป็นสิ่งที่น่าสนใจ การจัดทำแผนการสอน ควรคำนึงถึงความรู้พื้นฐานของผู้เรียนด้วย เพื่อที่จะเลือกกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้เรียน เพื่อให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ในการจัดการเรียนการสอนแบบ AL นั้นผู้สอนจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมที่จะสอน หรือ ศึกษาขอบเขตและกรอบในการทำงาน ศึกษาผู้เรียนโดยการ วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง และจัดระบบการเรียนการสอน ซึ่งจะเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากที่สุด รวบรวมทรัพยากรโดยเฉพาะสื่อต่างๆ และดำเนินการพัฒนาผู้เรียนและพัฒนางาน และจะต้องมีการประเมินผล-สรุปผลและนำมาปรับปรุง เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนต่อไป
ในระบบการเรียนการสอน Al นั้น การที่จะให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมมากที่สุดได้นั้น ผู้สอนต้องพยายามสร้างนิสัยการเรียนรู้แบบ AL ให้เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอด้วย โดยต้องให้ผู้เรียนได้รู้ตัวว่าในขณะนั้นผู้เรียนจะต้อง
– รู้ว่าตัวเองจะต้องเรียนรูู้เกี่ยวกับอะไรบ้าง
- สิ่งที่จะเรียนรู็นั้นไปเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เรียนไปแล้วอย่างไร
- สิ่งที่เรียนนั้นมันสอดคล้องหรือไม่กับความเป็นไปของโลกปัจจุบันอย่างไร
- ทำอย่างไรจึงจะรู้ว่าข้อเท็จจริงหรือข้อความรู้ ที่ได้รับรู้ไปนั้นถูกต้องไหม สามารถสอบถามความรู้เพิ่มเติมจากผู้อื่นหรือไปทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้ได้คำตอบมาก่อนที่จะสรุปคำตอบสุดท้าย
ดูแล้วการทำอะไรที่ได้คุณภาพก็คงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก สู้สู้คะ
การจัดการเรียนการสอนแบบ active learning ควรเริ่มเตรียมการตั้งแต่การวางแผน การทำ มคอ. แผนการจัดการเรียนการสอน รวมถึงการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกันเพื่อให้สามารถพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษาได้อย่างเต็มศักยภาพ
จากที่ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวชร่วมกันวิเคราะห์ แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning น่าจะการเพิ่ีมเติมผลการวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning การนำไปปรับใช้ และข้อเสนอแนะ ลงในมคอ ของรายวิชาด้วย เพื่อเป็นการส่งเสริมกระบวนการเรียนอย่างเป็นอิสระแก่ผู้เรียน
แนวปฏิบัติการเรียนการสอนแบบ AL ของภาควิชาฯ เป็นการปฏิบัติที่ดีน่าสนใจในการนำไปทดลองใช้ในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาที่มีความหลากหลาย และที่สำคัญการจัดการเรียนการสอนแบบนี้เป็นการให้นักศึกษาได้มีองค์ความรู้แบบติดตัวมีความเข้าใจและจดจำเนื้อหาได้ดี