วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

แนวทางการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ

จากการที่แต่ละภาควิชาได้จัดการความรู้ประเด็นการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ งานจัดการความรู้ได้นำมาสรุปเป็นแนวปฏิบัติของวิทยาลัยพยาบาลดังต่อไปนี้

๑. สร้างความเข้าใจและความกระจ่างชัดในการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกัน
๒. การพิจาณารายวิชาที่สอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ
๓. การวางแผนการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ
๓.๑ การจัดทำมคอ. ชัดเจน กิจกรรมที่ชัดเจน จะส่งผลการวัดและประเมินผลที่สอดคล้อง
๓.๒ กำหนดสมรรถนะให้เกิดกับนักศึกษาในเรื่อง การสื่อสารที่ดี ทีมที่ดี การเขียนแผนงานและโครงการ
? การบริหารจัดการ การเรียนรู้ตามสภาพจริง จะช่วยให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะหรือสมรรถนะด้านการบริหารจัดการ ได้แก่ การศึกษาและข้อมูลสภาพปัญหา การวางแผน การดำเนินการตามแผน การประเมินผล และการปรับปรุงหรือการพัฒนาต่อเนื่อง
? การสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคล
? การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า จากสถานการณ์ที่ไม่ได้เป็นดังที่คาดหวังไว้
? การสร้างเสริมความร่วมมืออันดี กับ อสม. ผู้ป่วย ญาติ และพยาบาล
? การคิดสร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อพัฒนาแผนงาน กิจกรรม นวัตกรรมการดูแลและสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยกรณีศึกษาตามสภาพจริง
๓.๓ พัฒนานักศึกษาให้มีสมรรถนะการสร้างสัมพันธภาพและการติดต่อสื่อสาร การสร้างสัมพันธภาพการประเมินผู้ป่วยในครั้งแรกที่นักศึกษาเสนอ เพิ่มเติมจะเป็นขั้นตอนที่ช่วยให้นักศึกษาวิเคราะห์ปัญหาของผู้ป่วยได้ ละเอียดมากยิ่งขึ้น และนำมาสู่การปฏิบัติการพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพที่ครอบคลุมในทุกมิติ
๓.๔ การค้นหาทุนทางสังคม การบูรณาการได้ดีต้องมีภาคีเครือข่ายที่ดี
๓.๕ ปฏิทินการปฏิบัติงานควรมีความสอดคล้องกับปฏิทินชุมชน และปฏิบัติงานของทีมอ.ส.ม. ทีมพยาบาลชุมชน และองค์กรชุมชนเพื่อให้เกิดความทำงานที่สอดประสานกันและมีประสิทธิภาพ
๓.๖ วางแผนการพัฒนาผลการเรียนรู้ (Learning Outcome [LO]) ในด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (domain) ควรมีความสัมพันธ์และสอดคล้องกันระหว่าผลลัพธ์การเรียนรู้ กิจกรรมการสอน และกิจกรรมการวัดประเมินผล โดยยึดหลักตามกรอบแนวคิด ?OLE Alignment? (Outcome-Learning activity-Evaluation activity Alignment) การดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่มีการบูรณาการกับการสร้างเสริมสุขภาพตามแผนที่วางไว้นั้น ควรมีการดำเนินการแบบมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมแบบภาคีเครือข่าย ระดับท้องถิ่นหรือประชาชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดการดำเนินการแบบคล่องตัว ยังทำให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน ทั้งด้านกระบวนการและผลลัพธ์การดำเนินการเรียนการสอนและการสร้างเสริมสุขภาพ
๓.๗ เครือข่ายความร่วมมือในส่วนของชุมชน ควรพิจารณา ดังนี้
๑) เครือข่ายความร่วมมือหลักที่สำคัญ ได้แก่ เครือข่ายภาคประชาชน ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. เป็นต้น
๒) เครือข่ายความร่วมมือ ส่วนองค์กรในชุมชนทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น โรงเรียน สถานบริการสุขภาพในท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นนั้น ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยผลักดันและเสริมความเข้มแข็งของดำเนินงานและ ผลลัพธ์ยั่งยืน
๔. การดำเนินการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ
๔.๑ การทำมคอ.ที่มีวัตถุประสงค์ของการบูรณาการกับการสร้างเสริมสุขภาพที่ชัดเจน
วัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชาภาคปฏิบัติ โดยพิจารณาความสอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เช่น
?วางแผนและจัดกิจกรรมสร้างเสริมศักยภาพของผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพหรือญาติในการควบคุมและดูแลปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุได้?
๔.๒ กิจกรรมการเรียนการสอนที่ชัดเจน อาศัยการสื่อสารที่ดี ทำให้เกิดทีมที่ดี
๔.๓ การบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลสามารถทำได้ทั้งที่ชุมชนและการบูรณาการในหอผู้ป่วย การบูรณาการในหอผู้ป่วย เช่น การแนะนำผู้ป่วยก่อนกลับบ้าน D/C plan
๕. การวัดและประเมินผล
๕.๑ การวัดและประเมินผล นอกจากประเมินผู้เรียนตามวัตถุประสงค์และผลการเรียนรู้ ของรายวิชาแล้ว ควรพิจารณาเพิ่มเติมในส่วนของผู้รับบริการ/ประชาชนกลุ่มเป้าหมายหรือผลลัพธ์ ด้านการสร้างเสริมสุขภาพที่ชัดเจน โดยประเมินเป็นระยะๆ ดังนี้
ระยะแรก ให้ระบุการวัดความรู้เกี่ยวกับปัญหาและการแก้ไขปัญหาสุขภาพ หรือการวัดความตระหนักในความรับผิดต่อสุขภาพเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพหรือผล กระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น หรือวัดทักษะการจัดการปัญหาสุขภาพ ภายหลังกิจกรรมเสร็จสิ้น
ระยะหลัง ให้ระบุการวัดเพิ่มในประเด็นการแสดงพฤติกรรมหรือการคงไว้ซึ่งพฤติกรรมสร้าง เสริมสุขภาพนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการวัดดังกล่าว อาจวัดเป็นระยะๆ เช่น ทุก ๑ สัปดาห์ หรือ ๒ สัปดาห์ หรือ ๑ เดือน เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
๕.๒ จะต้องวัดผลที่เกิดกับนักศึกษา สำหรับผลที่เกิดกับผู้ป่วยหรือประชาชน ถือเป็น outcome เชิงประจักษ์ สำหรับที่หอผู้ป่วยจะแตกต่างการประเมินผลของผู้ป่วยที่มีสุขภาพที่ดีขึ้น
๕.๓ มีการประเมินผลมาเป็นคะแนนฝึกปฏิบัติ
๖ .การพิจารณาผลกระทบ
-นักศึกษาสามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันได้ นักศึกษาสามารถสร้างเสริมสุขภาพตนเองได้ ทำสื่อได้ด้วยตนเองโดยใช้อุปกรณ์และสร้างสื่อเป็นวีดีโอ เพื่อไปให้ชุมชนใช้ต่อไป
๗. การบูรณาการกับพันธกิจอื่น เช่น บริการวิชาการ วิจัย
แต่ละภาควิชามีการพิจารณาในประเด็นการบริการวิชาการ และการวิจัยไปด้วยเพื่อที่จะสามารถยืนยันผลของการทำงาน เช่น การบูรณาการการสร้างเสริมสุขภาพกับการเรียนการสอนและบริการวิชาการ ที่นำความรู้จากรายวิชา เพื่อนำไปให้ความรู้ หรือการตรวจสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคให้กับประชาชน หลังจากที่มีการบูรณาการกับบริการวิชาการแล้ว ได้ดำเนินการทำวิจัยต่อเนื่อง เพื่อเป็นการต่อยอดความรู้

ศศิธร ชิดนายี
หัวหน้างานวิจัย การจัดการความรู้และวิเทศสัมพันธ์
วันพฤหัส 6 กันยายน 2012