การพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
รายงานการประชุมภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล
ครั้งที่? 1/2559? วันที่ 8 กรกฎาคม 2559
เวลา 15.30 -16.30 น. ณ ห้อง 327 อาคารเรียน 3
รายชื่ออาจารย์เข้าประชุม
- นางสาวดวงดาว เทพทองคำ
- นายนภดล เลือดนักรบ
- นางสาวสุปราณี หมื่นยา
เปิดประชุมเวลา 15.30 น.
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
เรื่องที่ 1 การจัดการความรู้โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
เรื่องที่ 2 แนวทางการประเมินผลลัพธ์ของการพัฒนานักศึกษาด้านการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม
-
ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องสืบเนื่อง
3.1 ผลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เข้าร่วมโครงการการจัดการความรู้ เรื่อง ?การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ : แก่นแท้หรือแค่เปลือก ระยะที่ ๒? ที่กำหนดไว้ในร่างกำหนดการ วันที่ 17 กรกฎาคม 255๘ ?โดยนางเพ็ญลักขณา ขำเลิศ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชที่ 18 ตำบลบ่อโพง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและผู้เข้าร่วมการประชุม คือ พยาบาลพี่เลี้ยงแหล่งฝึกทุกแห่งทั้งโรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ได้นำประเด็นสำคัญที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มามาปรับใช้โดยนำมาเป็นหัวข้อการสะท้อนคิดในการกิจกรรมโครงการเสริมหลักสูตร ซึ่งรูปแบบการสะท้อนคิดอาจารย์นภดล เลือดนักรบ ทำหน้าที่เป็นวิทยากรดำเนินการ ทั้งนี้จะสรุปไว้ในวาระเรื่องอื่นๆ ในท้ายสุดถึงขั้นตอนสรุปการดำเนินงาน
มติที่ประชุม : รับทราบ
ระเบียบงวาระที่ ๔ เรื่องหารือที่ประชุม
4.1 หารือที่ประชุมเรื่องการจัดการความรู้ในประเด็น แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยการวางแผนที่จะมีการจัดการความรู้เป็นระยะนับตั้งแต่ขั้นเตรียมการ? ขั้นสอน และขั้นประเมินผล ซึ่งจะเป็นการจัดการความรู้แบบวิเคราะห์การดำเนินการในรายวิชาทฤษฎีหลักการและเทคนิคการพยาบาล ตลอดจนการวางแผนในโครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์และการฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษาในวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล
มติที่ประชุม: เห็นด้วยที่จะมีการนำความรู้ที่ได้รับจากการจัดการความรู้ในทุกระยะ และจากการดำเนินการกิจกรรมเสริมหลักสูตรในโครงการเตรียมความพร้อมฯ โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในรายวิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาลภาคทฤษฎี ทดลอง และภาคปฏิบัติ โดยในการประชุมครั้งนี้ ในระเบียบวารที่ 5 เรื่องอื่นๆ? จะเป็นการจัดการความรู้ร่วมกันระหว่างอาจารย์ในภาควิชาฯ เพื่อเป็นการวิเคราะห์และเชื่อมโยงจากการจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎี ภาคทดลอง วิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาล ไปยังการวางแผนในโครงการการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ต่อไป สรุปเป็นขั้นประเมินผลอีกครั้งเมื่อสิ้นสุดการจัดการเรียนการ
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ
5.1 การจัดการความรู้เรื่อง แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
ขั้นตอนการดำเนินการ
- ขั้นเตรียมการ อาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลฯ ?มีการวางแผนการจัดการเรียนกาสอน
เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้คู่กับแนวคิดการเอื้ออาทรต่อผู้อื่นด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ทำความเข้าใจผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการหลังเสร็จสิ้นการสอน
1.1?? ศึกษาและเลือกรูปแบบหรือเทคนิควิธีการสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหา/สาระความรู้และกระตุ้นให้
ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นหรือใฝ่รู้ใฝ่เรียนอยู่ตลอดเวลา โดยทำความเข้าใจในรูปแบบหรือเทคนิควิธีการที่เลือกอย่างกระจ่างชัด? ในปีการศึกษา 2557 ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลได้นำวิธีการจัดการเรียนการสอนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ในรายวิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาลและวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลอาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลเลือกวิธีการ VARK learning style มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฏี ใช้วิธีการสาธิตและสาธิตย้อนกลับ (Demonstration-Return Demonstration Method) ในการเรียนภาคทดลองในห้องปฏิบัติการ และการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ก่อนการเรียนภาคปฏิบัติ และใช้วิธีการศึกษาจากสถานการณ์จริง (authentic learning) ในการเรียนภาคปฏิบัติที่หอผู้ป่วย
1.2 เตรียมสื่อและอุปกรณ์ที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เป็นระบบ โดยแบ่งเป็นภาคทฤษฎี ภาคทดลอง? การเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกภาคปฏิบัติในโครงการและการฝึกภาคปฏิบัติดังนี้
การเรียนการสอน/กิจกรรมเสริมหลักสูตร | รูปแบบ/เทคนิควิธีการสอน | สื่อ/อุปกรณ์ |
1. หลักการและเทคนิคการพยาบาล (ทฤษฎี) | VARK learning style | -VCD /เครื่องเสียง/ปากกา/กระดาษ/เอกสารประกอบการสอน |
2. หลักการและเทคนิคการพยาบาล (ทดลอง) | Demonstration-Return Demonstration Method | -หุ่นจำลอง
-วัสดุครุภัณฑ์ทางการแพทย์ -อาจารย์ผู้สอน -แบบประเมินผล |
3. โครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ | Panel Discussion
Game Cooperative Learning Team based Learning Case Study analysis |
-วิทยากร
-อาจารย์ภาควิชาฯ -นักศึกษา -อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นเกม -ผู้ป่วยกรณีศึกษา |
การเรียนการสอน/กิจกรรมเสริมหลักสูตร | รูปแบบ/เทคนิควิธีการสอน | สื่อ/อุปกรณ์ |
3. โครงการเตรียมความพร้อมการพยาบาลพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ | Group Discussion
Story Telling |
-รายงานผู้ป่วย (chart)
-VCD |
4. ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล | Case study
Authentic learning |
-อุปกรณ์บนหอผู้ป่วย
-สถานการณ์บนหอผู้ป่วย -อาจารย์/นักศึกษา -ผู้ป่วยกรณีศึกษา/ผู้ดูแลผู้ป่วย -พยาบาล |
5. การจัดการความรู้เรื่อง การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ : | - อาจารย์นภดล เลือดนักรบ
-ผู้เข้าร่วมจัดการความรู้ (น.ศ.ชั้นปีที่ 4 และอาจารย์) |
1.3 วางแผน จัดลำดับและแบ่งช่วงกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เป็นระบบ โดยอาจารย์ภาควิชาฯ มีการระบบการวางแผน จัดลำดับ และแบ่งช่วงกิจกรรม โดยการแจ้งระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมตามแผนที่ภาควิชาฯวางไว้ มอบให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบแต่ละรายวิชาและกิจกรรมเสริมหลักสูตรดำเนินการให้เรียบร้อย
1.4 การแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย เห็นว่าในแผนจัดการศึกษาการแบ่งกลุ่มนักศึกษาได้กำหนดไว้แล้วขอให้อาจารย์พิจารณาความเรียบร้อยอีกครั้ง สำหรับกลุ่มในการเรียนภาคทดลอง อาจารย์ได้แบ่งกลุ่มผู้เรียนจำนวนเฉลี่ย 12 ?13 คน/กลุ่ม และมีการกระจายนักศึกษาที่มีผลการเรียนที่อยู่ในระดับดี ปานกลาง และพอใช้
2. ขั้นสอน อาจารย์ในภาควิชา ฯ เห็นควรดำเนินตามขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วยขั้นตอน ขั้นนำสู่บทเรียน? ขั้นสอนเนื้อหา และขั้นประเมินผล
3. ขั้นประเมินผล? ในแต่ละการออกแบบการสอน จะกำหนดการประเมินผลไว้และจะต้องมีความสอดคล้องกับกิจกรรมการสอนและการออกแบบการเรียนรู้ที่ต้องมีการพัฒนาให้เห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม
สำหรับการจัดการความรู้ในปีการศึกษานี้ได้มีการดำเนินการโดยผู้เข้าร่วมเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีทั้งนักศึกษา อาจารย์พยาบาล ดังนั้นจึงให้ที่ประชุมได้แสดงความเห็นในการเรียนรู้ใหม่หรือความรู้ใหม่ที่ได้รับจากการจัดการความรู้ ซึ่งที่ประชุมเห็นว่า ความรู้ใหม่ที่ได้รับและเกิดขึ้นเป็น Explicit Knowledge คือวงจรหรือกระบวนการการจัดการความรู้ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ว่าควรจะมีการดำเนินการแบบเป็นขั้นตอน ได้แก่ ๑)?? การกำหนดความรู้ ๒)?? การสร้างและแสวงหาความรู้ ???๓)??การจัดความรู้ให้เป็นระบบ ?๔)?? การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ?และ ๕) การเรียนรู้
สำหรับขั้นตอนการปฏิบัติการสะท้อนคิด สามารถสรุปได้จากกิจกรรมการดำเนินการโดยใช้ขั้นตอนดังนี้
- การบรรยายสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะจุดสำคัญที่ต้องการให้ผู้อื่นทราบ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนักศึกษาส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีต่อการก้าวเข้ามาสู่วิชาชีพการพยาบาล มีความพร้อมในระดับปานกลางต่อการฝึกภาพปฏิบัติ แต่ขาดความมั่นใจ รู้สึกวิตกกังวลต่อการฝึกภาคปฏิบัติเพราะเป็นการให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยครั้งแรก
- การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน? การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในบรรยากาศนักศึกษามีการแลกเปลี่ยนในประเด็นของแรงจูงใจและที่มาของการเป็นนักศึกษาพยาบาลซึ่งส่วนใหญ่มาเพราะเหตุผลอื่นๆ มีนักศึกษาประมาณร้อยละ 25 ที่มาจากความตั้งใจแต่แรกเริ่มแต่เมื่อเข้ามาเรียนภาคทฤษฎีได้ 1 ปี นักศึกษาสามารถที่จะปรับตัวและคิดว่าตนเองน่าจะผ่านพ้นการฝึกภาคปฏิบัติไปได้ด้วยดี
- การประเมินวิเคราะห์ประสบการณ์ร่วมกันว่าเป็นไปในทางบวกหรือในทางลบที่แตกต่างกันอย่างไร การวิเคราะห์ประสบการณ์ของนักศึกษาจากการเรียนภาคทฤษฎีและภาคทดลอง วิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาลที่ผ่านมาใน ภาคเรียนที่ 1 คิดว่าเป็นแรงเสริมทางบวกคือองค์ความรู้ที่มีจะช่วยให้การฝึกปฏิบัติประสบความสำเร็จได้ สำหรับในทางลบคือการขาดความมั่นใจ ความวิตกกังวลกลัวว่าตนเองจะกระทำผิดและทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายเป็นปัจจัยที่สำคัญมากที่จะทำให้นักศึกษาเกิดความท้อใจก่อนการฝึกภาคปฏิบัติ
- วิเคราะห์สถานการณ์ว่าสิ่งใดที่เกิดขึ้นที่เป็นอุปสรรคและสิ่งใดที่จะสามารถนำมาปรับให้ดีขึ้น กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์และกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่นักศึกษาได้เข้าร่วมในโครงการการเตรียมความพร้อมการพยาบาลขั้นพื้นฐานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยการใช้หลักการสะท้อนคิดจะทำให้นักศึกษาสามารปรับไปใช้ได้เพราะโดยส่วนใหญ่ในระหว่างเพื่อนนักศึกษามีความรู้สึกไม่แตกต่างกันและคิดว่าตนเองไม่ได้มีใครแปลกแยกออกไปจากกลุ่มที่จะไม่มีความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลแก่ผู้ป่วย
- สรุปการเรียนรู้ที่ได้จากสถานการณ์ จากการได้เรียนรู้พบว่านักศึกษามีความมั่นใจเพิ่มขึ้นและมีแรงจูงใจที่จะสามาระให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยได้
- การวางแผนในการนำไปใช้ นักศึกษาสามารถตอบได้ถึงการนำแนวทางการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ไปใช้ในการดูผู้ป่วยโดยได้แนวคิดจากกระบวนการสะท้อนคิดที่อาจารย์เป็นผู้ดำเนินการ
มติที่ประชุม : ?เห็นตามที่จัดการความรู้ร่วมกัน
ปิดการประชุม : 16.30 น.
อาจารย์ประจำภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลฯ
……..ดวงดาว? เทพทองคำ……..
(นางสาวดวงดาว เทพทองคำ)
ผู้บันทึกรายงานการประชุม
การดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ควรมีการติดตามประเมินผลในระยะยาว ควรมีการดำเนินการเป็นโครงการที่เริ่มต้นตั้งแต่นักศึกษาพยาบาลเข้ามาเรียนในชั้นปีที่ 1 จนถึงชั้นปีที่ 4 เพื่อประเมินอัตลักษณ์ของบัณฑิตด้านการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
การพัฒนาจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ อาจใช้วิธีสะท้อนคิด (reflective thinking) ผ่านประสบการณ์การฝึกปฏิบัติงานในสภาพจริงในบริบทที่มีความแตกต่าง หลากหลายทางวัฒนธรรม และร่วมถอดบทเรียนจากประสบการณ์ที่ได้รับโดยอาจารย์เป็นผู้เอื้ออำนวยบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ ใช้ทักษะการตั้งคำถามที่จุดประกายความคิดอันจะนำไปสู่การให้บริการอย่างเอื้ออาทร ชูประเด็นทางคุณธรรม จริยธรรมที่นักศึกษานำเสนอเพื่อรวมความสนใจ นำไปสู่การกระตุ้นคิดเสมือนตนอยู่ในสถานการณ์การทำงานนั้น และสร้างจิตสำนึกในการให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ที่ระเบิดจากในตน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และสรุปโดยการใช้แผนผังมโนมติทางความคิด (mind mapping)
การเรียนการสอนที่เน้นการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ เป็นการเรียนที่ดี เนื่องจากสายบริการทางสุขภาพควรมีความเอื้ออาทร และมีจิตบริการ ปฏิบัติด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ซึ่งผู้เรียนจะสามารถรับรู้ถึงการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์จากประสบการณ์การฝึกปฏิบัติงานที่มีบริบทแตกต่าง รวมถึงหลากหลายวัฒนธรรม ซึ่งผู้สอนหรือผู้นิเทศสามารถใช้ทักษะการตั้งคำถาม การใช้การสะท้อนคิด
วิธีการหนึ่งของของการเกิดการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ สามารถใช้วิธี สุนทรียสนทนา คือฟังอย่างตั้งใจ กับผู้รับบริการ โดยไม่เอาอคติของตัวเราไปตัดสินการกระทำของผู้บริการ หลายครั้งเราพบว่าระบบการคิดที่เป็น ชีวะทางการแพทย์ ครอบความคิดของเราทำให้เราลืมฟังผู้รับบริการ
การเรียนการสอนด้วย concept หัวใจความเป็นมนุษย์ เป็นการเรียนการสอนทีเหมาะสมกับวิชาขีพพยาบาลที่ทำให้ยอมรับความแตกต่างของแต่ละคน โดยเฉพาระในรายวิชาภาคปฏิบัติ เนื่องจากมีความหลากหลายของผู้ป่วย ทำให้เห็นความแตกต่างของแต่ละคน อาจารย์ควรใช้การกระตุ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดที่ให้ยอมรับความแตกต่างขอบแต่ละบุคคล
การจัดการเรียนการสอนในศตวรรธที่ 21 ควรเน้นกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งสร้างศักยภาพของผู้เรียนในการให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ เนื่องจากเป็นพื้นฐานสำคัญของการเข้าถึงการให้บริการ และสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของสถาบัน โดยควรสอดแทรกการจัดการเรียนการสอนแบบ Humanize care ในรายวิชาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
การจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาผู้เรียนจากด้านใน มีความจำเป็นมากสำหรับวิชาชีพพยาบาล เพราะ เป็นงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับคน ความเข้าใจที่มีต่อตัวเอง และ ความเข้าใจเพือนที่มีต่อมนุษย์ จะช่วยให้พยาบาลสามารถทำงานได้อย่างมีความสุข
การปลูกฝังค่านิยมด้านการบริการที่เข้าใจคน สา่วนหฯึ่งต้องเริ่มจากพื้นฐานส่วนตัวขอเด็กก่อน เพราะฉะนั้นผู้พัฒนาจะต้อมองเด็กให้ออกและค่อยๆปรับทัศนคติให้แก่เด็กและที่สำคัญครูต้องเป็นผู้ฝึกสอนให้เด็กมองมุมมองที่กว้างชี้ประเด็น และสอนฝห้นักศึกษาคิดให้ได้ มันเป็นเรื่องที่ยาก แต่กระบวนการที่อาจารย์ที่สังเคราะห์มาที่ผมเคยใช้ก็เป็นกระบวนการที่ดีและใช้ได้ผลพอสมควรแต่อาจต้องใช่ระยะเวลาสักนิดเพื่อปรับทัศนติครับ