รายงานการประชุมการจัดการองค์ความรู้เรื่อง ?ผลของการจัดการเรียนการสอน แบบ Reflective? วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ เวลา ๑๕.๐๐ ? ๑๖.๓๐ น. ณ ห้อง ๓๒๔ ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
รายงานการประชุมการจัดการองค์ความรู้เรื่อง ?ผลของการจัดการเรียนการสอน
แบบ Reflective?
วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ เวลา ๑๕.๐๐ ? ๑๖.๓๐ น.
ณ ห้อง ๓๒๔ ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช
วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม
๑. นายบุญฤทธิ์??????????? ประสิทธินราพันธุ์? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๒.นางสาวปฐพร?????????? แสงเขียว ? ? ? ? ?วิทยาจารย์ชำนาญการ
๓. นางวิมล??????????????? อ่อนเส็ง?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๔. นางประภาพร?????????????????? มโนรัตน์ ???????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๕. นายอดุลย์????????????? วุฒิจูรีพันธุ์??????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๖. นางสาววิไลวรรณ????? บุญเรือง ???????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๗. นางอัญชรี????????????? รัตนเสถียร?????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๘. นายอิทธิพล??????????? แก้วฟอง????????? พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๙. นางสาวชลธิชา???????? จับคล้าย????????? พยาบาลวิชาชีพ
๑๐. นางสาวสายฝน?????? ชมคำ???????????? พยาบาลวิชาชีพ
๑๑. นายอรรถพล???????? ยิ้มยรรยง???????? พยาบาลวิชาชีพ (เลขานุการ)
รายชื่อผู้ไม่เข้าร่วมการประชุม
๑. นางสาวดุจเดือน??????? เขียวเหลือง?????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ไปราชการ)
ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ ๙๑.๗
ประธานที่ประชุม นายบุญฤทธิ์???? ประสิทธินราพันธุ์
เปิดประชุมเวลา ๑๕.๐๐ น.
ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
- แจ้งเรื่อง การนำความรู้ที่ได้รับจากการจัดการความรู้ เกี่ยวกับ ผลของการจัดการเรียนการสอน
แบบ Reflective
๑.นายบุญฤทธิ์?? ประสิทธินราพันธุ์? จัดการเรียนการสอนในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวชุมชน ๒ มีรายละเอียดดังนี้
การจัดประสบการณ์ให้นักศึกษาเขียน Reflective writing จำนวน ๔ ครั้งซึ่งหัวข้อการเขียน ได้พยาบาลปรับให้สอดคล้องกับ กระบวนการวินิจฉัยชุมชน ตามเนื้อหาสาระของรายวิชา โดยกระบวนจัดการเรียนการสอนได้มีการเตรียมดังนี้
1.อธิบายความหมายของการเรียนการสอนแบบ Reflective ให้นักศึกษาฟังว่าคืออะไร มีเป้าหมายเพื่ออะไร
2.อธิบายวิธีการเขียนตามแบบประเมิน ที่จะประเมินนักศึกษาให้นักศึกษารับทราบโดยมีตัวอย่างการเขียนที่ถูกต้อง ให้นักศึกษาฝึกให้คะแนน
3.มอบหมายหัวข้อให้นักศึกษาเขียนในแต่ละสัปดาห์
4.อาจารย์นำผลการเขียนบันทึกสะท้อนคิดของสัปดาห์ที่ผ่านมา มาแลกเปลี่ยนในสัปดาห์ต่อมา โดยสลับกับเพื่อนตรวจและให้คะแนน พร้อมทั้งให้เหตุผลของการให้คะแนน ตามเกณฑ์ใบประเมิน
ผลการจัดการเรียนดังกล่าวพบประเด็นดังนี้
1.มีนักศึกษาบางคนเขียนไม่สอดคล้องกับประเด็นหัวข้อที่มอบหมายให้(นศ.ไม่เข้าใจหัวข้อ)
2.การเขียนงานของนักศึกษาพบว่า ขั้นตอนการอธิบายความรู้สึก กับ การตั้งคำถามไม่ไปด้วยกัน
3.นักศึกษาบางคน เขียนบันทึกสะท้อนคิด สะท้อนเชิงกระบวนการคิดของนักศึกษา แต่ไม่ได้สะท้อนเนื้อหาสาระที่อาจารย์กำหนดให้
4. ขั้นกำหนดความรู้ใหม่ นักศึกษามักเรียนเป็นคำสรุป แต่มองไม่เห็นกระบวนการ เช่น จะนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป
5.นักศึกษาชอบอ้างอิงจากwwwที่ไม่ใช่เชิงวิชาการ เช่น www.kapook.com ?มากกว่าตำรา หรือวารสาร
6.แบบประเมิน ควรมีการปรับให้สามารถประเมินได้สอดคล้องกับ การประเมินLO คือ rating scale 4ระดับ
ผลการประเมินจากนักศึกษา
1.นักศึกษาคิดว่ามีประโยชน์ทำให้ทบทวนการทำงานในแต่ละวัน และทำอย่างไรไม่ให้เกิดปัญหาในครั้งต่อไป
2.ทำให้ตนเองได้ความรู้เพิ่มขึ้นจากคำถามที่ตนเองตั้ง และหาคำตอบด้วยตนเองเพิ่มเติมในส่วนที่ไม่เข้าใจ
3.เป็นการเขียนที่มีรูปแบบชัดเจนไม่ล่องลอย โดยถ้ามีการกำหนดหัวข้อให้นักศึกษาเขียน
4.ได้ฝึกตนเองในการจัดความคิดให้เป็นระบบ
5.นักศึกษาโดยส่วนใหญ่เห็นด้วยในการเขียนสะท้อนคิดสัปดาห์1 ครั้ง และมีการเขียนแบบนี้แบบต่อเนื่องในทุกรายวิชา
๒.นางสาวปฐพร? แสงเขียว จัดการเรียนการสอนในรายวิชารพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต
มีรายละเอียดดังนี้
๑. รายวิชาที่นำไปใช้ การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต
๒. กระบวนการจัดการเรียนการสอน
๒.๑ ด้านผู้สอน
- ทบทวนวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective Thinking
- พิจารณาเนื้อหาที่ควรจัดให้มีการสอนแบบสะท้อนคิด จำนวน ๖ ประเด็น
- ใช้การเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดที่ให้นักศึกษาเขียน Reflective Journal
- กำหนดระยะเวลาที่เขียน Reflective Journal สัปดาห์เว้นสัปดาห์ จำนวน ๖ ครั้ง
- พิจารณาปรับแบบประเมินการเขียน Reflective Journal ให้เหมาะสม ง่ายและ
สะดวกสำหรับการประเมิน
- เลือกสื่อภาพยนตร์ที่มีความสอดคล้องกับเนื้อหา เพื่อมอบหมายให้นักศึกษาชมด้วยตนเอง
ประกอบเพื่อเขียนบันทึกสะท้อนคิด ได้แก่ A Beautiful Mind (ผู้ป่วยจิตเภท)? และ As ????????? good as it gets (ผู้ป่วยย้ำคิดย้ำทำ)
๒.๒ ด้านผู้เรียน
- ทำความเข้าใจเรื่องการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective Thinking และการ
ประเมินผล
- ให้ฝึกหัดการเขียน Reflective Journal และทำความเข้าใจเรื่องแบบประเมิน
๓.? ผลการนำไปใช้
- นักศึกษาสามารถเขียนบันทึกสะท้อนคิดได้ตามที่มอบหมาย
- นักศึกษาส่วนใหญ่ขาดความเข้าใจการเขียนบันทึกสะท้อนคิด ได้ตรงกับประเด็น และมีนักศึกษาส่วนน้อยที่
สามารถเขียนบันทึกสะท้อนคิดด้วยความเข้าใจ เนื่องจากผ่านการจัดการเรียนการสอนแบบ Reflective ? Thinking มาแล้วในรายวิชาปฏิบัติ
๔. ปัญหาและอุปสรรค
- สัดส่วนของผู้สอนต่อชิ้นงานของนักศึกษาไม่มีความเหมาะสม ใช้เวลามากในการตรวจบันทึก
๕. ข้อเสนอแนะ
- ควรใช้การเรียนการสอนแบบ Reflective Thinking ในการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ เพราะสัดส่วนของอาจารย์ต่อนักศึกษาจะมีความเหมาะสม และจัดการเรียนรู้ได้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการสอนได้ดีกว่า
- หากต้องการใช้ในการเรียนการสอนภาคทฤษฎีที่มีนักศึกษาเป็นจำนวนมาก ควรอาสาสมัครอาจารย์ที่มีประสงค์จะจัดการเรียนการสอนเพื่อสะท้อนคิด (ควรใช้ผู้สอนเป็นกลุ่ม โดยคำนวณสัดส่วนผู้สอนต่อนักศึกษาให้เหมาะสม) เพื่อให้สามารถประเมินผลและสะท้อนผลการเรียนรู้ให้นักศึกษาได้ภายในระยะเวลา และเกิดความท้าทายต่อการทดลองวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดจนเสร็จสิ้นภาคการศึกษา (โดยที่ไม่ burn out ก่อนสิ้นภาคการศึกษา)
๓.นายอดุลย์???? วุฒิจูรีพันธุ์จัดการเรียนการสอนในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวชุมชน ๑ ?มีรายละเอียดดังนี้
การจัดประสบการณ์ให้นักศึกษาเขียน Reflective writing จำนวน ๔ ครั้งซึ่งหัวข้อการเขียน ได้พยาบาลปรับให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ของรายวิชา โดยกระบวนจัดการเรียนการสอนได้มีขั้นตอนดังนี้
1.อธิบายวิธีการเขียนประสบการณ์จากการฝึกปฏิบัติงานภาคปฏิบัติ ด้วยวิธี Reflective แก่นักศึกษารายกลุ่ม? พร้อมแนบตัวอย่างการเขียนและเกณฑ์การให้คะแนน
2.มอบหมายหัวข้อให้นักศึกษาเขียนในแต่ละสัปดาห์ ดังนี้ การประเมินภาวะสุขภาพครอบครัว การอนามัยโรงเรียน? การอาชีวอนามัยและการให้บริการอนามัยครอบครัว
3.อาจารย์นำผลการเขียนบันทึกสะท้อนคิดของสัปดาห์ที่ผ่านมา มาแลกเปลี่ยนภายในกลุ่มสัปดาห์ต่อมา โดยมีผู้นำเสนอและเพื่อนประเมินให้คะแนนตามเกณฑ์ใบประเมิน พร้อมทั้งให้เหตุผล
ผลการจัดการเรียนดังกล่าวพบประเด็นดังนี้
ด้านผู้เรียน
1.การตั้งประเด็นคำถามของนักศึกษาบางคนเขียนไม่สอดคล้องกับประเด็นหัวข้อที่มอบหมาย , การตั้งคำถามไม่ท้าทายต่อการเรียนรู้
2.ความไม่สอดคล้อง (Alignment) ในแต่ละย่อหน้า เช่น การอธิบายความรู้สึก กับ การอธิบายประสบการณ์ , การตั้งคำถามกับการอธิบายประสบการณ์ เป็นต้น
3.ลักษณะการอธิบายประสบการณ์มี 2 ลักษณะ คือ สะท้อนเชิงกระบวนการคิดของนักศึกษา และสะท้อนเชิงเนื้อหาสาระที่อาจารย์กำหนดให้
4. นักศึกษาชอบอ้างอิงจากwwwที่ไม่ใช่เชิงวิชาการ เช่น www.kapook.com ?มากกว่าตำรา หรือวารสาร
ด้านผู้สอน
1.แบบประเมิน ควรมีการปรับให้สามารถประเมินได้สอดคล้องกับ การประเมินLO คือ ปรับ rating scale จาก 0 ? 3 คะแนน เป็น 1- 4 คะแนน
2. ความไม่ชัดเจนในการเขียนสะท้อนคิดในแต่ละหมวด (ตามระดับ Bloom’s Taxonomy)
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
1. จำนวนผู้เรียนไม่มากเกินไป ไม่ควรเกิน 8 คน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของทุกคนในกลุ่ม
2. ผู้สอนควรมีความชัดเจนในวิธีการเขียนสะท้อนคิดตามระดับ Bloom’s Taxonomy
3. ผู้สอนควรแนะนำแหล่งค้นคว้าหลักแก่ผู้เรียน เช่น ตำราในห้องสมุด
ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม
ไม่มี
ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องเพื่อพิจารณา
ไม่มี
ปิดประชุมเวลา ๑๖.๐๐ น.
ลงชื่อ………………………………….
(นายอรรถพล? ยิ้มยรรยง)
เลขานุการการประชุม
ลงชื่อ……………………………………….
(นายบุญฤทธิ์? ประสิทธินราพันธุ์)
หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลอนามัย-
ชุมชนและจิตเวช
การสะท้อนความคิด เป็นการสร้างและแยกแยะความหมายของสิ่งต่างๆ ออกมาให้ชัดเจน เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมุมมองและแนวคิดใหม่ โดยอาศัยกระบวนการทางปัญญาและทัศนคติ การทบทวนประสบการณ์ที่ได้พบ ได้เห็น และได้ฟังมา เพื่อเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมที่มีอยู่ รวมทั้งเป็นการสำรวจตนเอง เพื่อค้นหาว่าตนเองรู้และไม่รู้อะไร จนนำไปสู่ความเข้าใจ และเกิดการเรียนรู้เพิ่มขึ้น สำหรับอาจารย์มีส่วนช่วยให้นักศึกษาเกิดกระบวนการโดยดูกระบวนการที่นศ.สะท้อน เป็นไปตามขั้นตอนหรือไม่อย่างไร แล้วเสริมในสิ่งที่ทำไม่ครบถ้วนให้กับนักศึกษา
การเรียนการสอนที่จะส่งเสริมให้มีการสะท้อนคิดทำได้หลายวิธี เช่น การสนทนา เป็นการพูดคุยเพื่อแสดงความคิดเห็ ความรู้สึกและแลกเปลี่ยนประสบการณ์อย่างมีโครงสร้าง โดยมีการเตรียมประเด็นหรือคำถามสำหรับกระตุ้นให้เกิดการคิดอย่างมีเหตุผลและเกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อประเด็นนั้นๆ การสนทนาในการเรียนการสอนทางการพยาบาล สามารถกระทำได้ตลอดเวลาที่มีการเรียนการสอนในคลินิก เช่น สนทนาระหว่างครูกับนักศึกษาระหว่างให้การพยาบาลผู้ป่วย หรือ สนทนาในกลุ่มการประชุมก่อนและหลังการฝึกปฏิบัติงานประเด็นในการสนทนาเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการพยาบาลที่นักศึกษาได้ให้กับผู้ป่วย เน้นการวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงและอธิบายเหตุผลของการกระทำ ซึ่งผลพบว่า นศ. สามารถเข้าใจปัญหาทางด้านจิตใจผุ้ป่วยได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น สามารถใช้เหตุผลในการดูแลผู้ป่วยทางจิตเวชได้อย่างลึกซึ้งและสามารถพัฒนามุมมองในการดูแลผุ้ป่วยแบบองค์รวมได้ดีขึ้น
การสะท้อนคิด มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดหรือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) เนื่องจากการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นการคิดและตัดสินใจที่จะเชื่อหรือกระทำการใดๆบนพื้นฐานของการสะท้อนคิดอย่างมีเหตุผล ดังนั้น การฝึกสะท้อนคิดจึงเป็นกระบวนการที่นำไปสู่การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และเป็นการพัฒนาศักยภาพทางปัญญาที่ส่งผลให้มีการปฏิบัติและการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กระบวนการสะท้อนคิด reflective thinking เป็นวิธีที่มีความสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนให้มีการคิดวิเคราะห์การเรียนรู้สิ่งต่างๆได้หากนักศึกษาได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจะสามารถสังเคราะห์ความรู้และนำไปใช้ได้
สำหรับการจัดการเรียนรู้Reflective thinkingนั้นบทบาทครูผู้สอนสำคัญกล่าวคือ ครูต้องระบุเป้าหมาย หัวข้อการสอน วัตถุประสงค์และrequirement ที่ชัดเจน มีการมอบหมายงานล่วงหน้าเพื่อให้นักศึกษามีเวลาเตรียมตัวและคิดวิเคราะห์ และติดตามการสะท้อนคิดอย่างสม่าเสมอ
และที่สำคัญครูต้องประเมินการเขียนการสะท้อนคิดจากประสบการณ์จริง เพื่อประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาและต้องนำมาอภิปรายกลุ่มเพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษาต่อไป การสะท้อนคิดสามารถทำในช่วงการทำpre-post conference นอกจากนี้การสร้างแรงจูงใจหรือกระตุ้นให้นักศึกษาสนใจการเรียน มีการใช้คำถามปลายเปิด กระตุ้นให้คิดเพื่อให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นได้อย่างต่อเนื่อง และครูต้องเป็นผู้ฟังที่ดี เปิดใจ มีความเข้าใจและเป็นกันเองกับนักศึกษา เป็นที่ปรึกษา ไว้ วางใจได้สามารถเชื่อมโยงความรู้และหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกับนักศึกษาได้อย่างเหมาะสม
การเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ต้องใช้เวลามากทั้งผู้เรียนและผู้สอน แต่เป็นรูปแบบหนึ่งที่ช่วยพัฒนาทักษะทางด้านปัญญา จึงต้องมีการวางแผน และเตรียมความพร้อมทั้งผู้สอนและผู้เรียน
การฝึกสะท้อนคิดจึงเป็นกระบวนการที่นำไปสู่การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และเป็นการพัฒนาศักยภาพทางปัญญาที่ส่งผลให้มีการปฏิบัติและการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถปลูกฝังให้ผู้เรียนเกิดการสะท้อนคิดได้ตั้งแต่การเริ่มฝึกปฏิบัติในรายวิชาชีพ เนื่องจากต้องปฏิบัติงานในสถานการณ์ที่หลากหลายและเกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ ซึ่งต้องปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
ได้มีโอกาสเข้ารับการอบรมและใช้ refective thinking พบว่าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มาก เนื่องจากทำให้ได้ทบทวนและสะท้อนการกระทำของตนเอง นำไปสู่การแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเมื่อนำมาใช้กับนักศึกษาในขณะฝึกภาคปฏิบัติ โดยให้นักศึกษาเขียนบันทึกสะท้อนคิด และใช้การสนทนา ทำให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ ทราบถึงสิ่งที่ตนเองจะต้องปรับปรุงหรือพัฒนาซึ่งทำให้เกิดผลดีต่อการปฏิบัติการพยาบาลกับผู้ป่วยมากขึ้น
ได้นำกระบวนการสะท้อนคิดไปใช้ในการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 1 เป็นการเขียนสะท้อนคิด (Journal reflective thinking) ในหัวข้อการเยี่ยมบ้าน พบว่า นักศึกษาสามารถเขียนสะท้อนคิดในขั้นตอนของการบรรยายสถานการณ์ การบรรยายความรู้สึก การฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย การค้นค้วาทฤษฎี และการสรุป concept ได้ แต่ยังขาดการเขียนการนำไปปฎิบัติหรือการประยุกต์ใช้ และการเรียนรู้ที่ได้จากการเรียนการสอนโดยภาพรวม ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องช่วยเสริมให้นักศึกษานำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ต่างๆให้เหมาะสม เพื่อให้เกิด Reflection on action
refective learning เป็นกระบวนการเรียนที่ทำให้ผู้เรียนรู้จักตั้งคำถาม และแสวงหาคำตอบด้วยตนเอง ซึ่งตรงกับความสนใจในการเรียนรู้ของผู้เรียน ตามสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ประเด็นสำคัญคือการอธิบายให้ผู้เรียนเเข้าใจกระบวนการการเรียนรู้แบบนี้ และเป้าหมายการเรียนรู้ อันทำให้ผู้เรียนเห็นประโยชน์ด้วยวิธีการเรียนแบบนี้
Reflective learning เป็นการเรียนรู้โดยใช้การบันทึกเพื่อสื่อถึงกระบวนคิดและการเรียนรู้ ซึ่งการสะท้อนคิดเป็นสิ่งที่ดี ช่วยให้นักศึกษาทบทวนในส่วนที่ต้องศึกษาต่อ แต่เมื่อนำมาใช้จริงในรายวิชา ป.ครอบครัว ๒ และ ป.ครอบครัว ๑ พบว่า นักศึกษายังไม่ไม่เข้าใจกระบวนการเขียน และเกณฑ์การประเมินยังไม่สอดคล้องเท่าที่ควร
การเรียนการสอนโดยใช้วิธี Reflective learning นั้นจะใช้วิธีการบันทึกเพื่อสะท้อนความคิด และกระบวนการคิดของนักศึกษาสื่อออกมาอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาทบทวนในส่วนที่ต้องการเรียนรู้หรือศึกษาต่อเพื่อหาคำตอบ
การเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดเป็นการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้จากการประเมินตนเองภายหลังการเรียนรู้และค้นหาความรุ้เพิ่มเติม แต่ผู้เรียนต้องพัฒนาทักษะการเขียนเพื่อให้สะท้อนความคิดออกมา และอาจารย์ผู้่สอนต้องแนะนำวิธีการเขียนเพื่อสะท้อนการคิดออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน
การสะท้อนคิด ทำให้ได้ทบทวนการกระทำของตน นำไปสู่การพัฒนาศักยภาพตนเอง และการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ
การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด ผู้สอนควรเข้าใจแนวคิดสำคัญเกี่ยวกับการสะท้อนคิดและควรพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่มีทักษะการสะท้อนคิดเพื่อให้สามารถใช้ตนเองเป็นเครื่องมือในการทำความเข้าใจและประเมินการสะท้อนคิดของผู้เรียนได้ การเตรียมผู้สอนสำหรับห้องเรียนขนาดใหญ่ ควรมีจำนวนผู้สอนที่มีสัดส่วนเหมาะสมต่อผู้เรียน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการนำวิธีการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดไปใช้ นอกจากนี้ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับแบบประเมินและแนวทางการประเมินเพื่ออธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจ เมื่อใช้แบบประเมินสามารถประเมินได้ตรงตามสมรรถนะที่ต้องการ
รูปแบบการจัดการเรียนการสอนนี้ทำให้ตัวผู้เรียนและตัวผู้สอนทำความเข้าใจตนเองได้มากขึ้นร่วมไปถึงสามารถคิดค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันบนพื้นฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ อันนำไปสู่การวางแผนการพยาบาลในชุมชนที่มีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้รับบริการได้ด้วยความเข้าใจความเป็นมนุษย์ ครับ ดังนั้นผู้สอนต้องมีทักษะในการสะท้อนคิดที่สำคัญอันนำไปสู่การปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดของนักศึกษาได้
การสะท้อนคิด ทำให้มีการทบทวนและสะท้อนการกระทำของตน (Reflective Practice) แสดงออกด้วยการเขียนหรือการพูด ช่วยให้เกิดความเข้าใจและ การเรียนรู้จากประสบการณ์ นำไปสู่การพัฒนาตนเอง ครูมีบทบาทสำคัญในการใช้ตนเองเป็นเครื่องมือสร้างความเข้าใจและประเมินการสะท้อนคิดของผู้เรียน ครูจึงต้องพัฒนาตนเองให้มีทักษะการสะท้อนคิดด้วย ท้้งนี้ในภาควิชาสูติศาสตร์นำหลักการนี้มาใช้ในลักษณะของ Confidential Diary ในการฝึกภาคปฏิบัติ อาจารย์จะอ่านทุกเช้าก่อนขึ้นนิเทศก์ ช่วยให้ทราบความรู้สึกนึกคิด ความคาดหวัง ความภูมิใจ รวมถึงปัญหาผู้เรียนแต่ละราย ทำให้เข้าใจและสามารถให้ความช่วยเหลือนักศึกษาได้เหมาะสมกับแต่ละคน และพบปัญหาว่านักศึกษาส่วนใหญ่ควรต้องพัฒนาทักษะการเขียน และการใช้ศัพท์เทคนิคที่ต้องปรับปรุง
การเรียนการสอนที่จะส่งเสริมให้มีการสะท้อนคิดสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การเขียนบันทึก (Journal Writing) การสนทนา(Dialogue) การวิเคราะห์อุบัติการณ์ (Incident Analysis) การเขียนแผนผังความคิด (Reflection Mapping)การฝึกสะท้อนคิดจึงเป็นกระบวนการที่นำไปสู่การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และเป็นการพัฒนาศักยภาพทางปัญญาที่ส่งผลให้มีการปฏิบัติและการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถนำมาใช้เป็นวิธีการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี