รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ครั้งที่ 2/2559 วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 ณ ห้องประชุม 114 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
รายงานการประชุมภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
ครั้งที่ 2 /2559 วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
ณ ห้องประชุม 114
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
รายนามผู้เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. นางมณฑา? ??????????? อุดมเลิศ????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ??????? ????????? ประธาน
2. นางอนัญญา??????????? คูอาริยะกุล?????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
3. นางสาววราภรณ์?????? ยศทวี???????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
4.นางนิศารัตน์???????????? นาคทั่ง?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
5. นางสาวนัยนา????????? อินธิโชติ????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
6. นางสาวเสาวลักษณ์??? เนตรชัง?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
7. นางวาสนา????????????? ครุฑเมือง???????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
8. นางสาวนัยนา ????????? แก้วคง??????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
9.นางอรุณรัตน์?? ????????? พรมมา?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
10.นายสืบตระกูล ??????? ตันตลานุกุล????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
11. นายภราดร??????????? ล้อธรรมมา?????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
12. นายไพทูรย์??????????? มาผิว???????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ? ????????? เลขานุการ
13. นางจิราพร??????????? ศรีพลากิจ ?????? พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ????????? ????????? ผู้ช่วยเลขานุการ
รายนามผู้ไม่เข้าร่วมประชุม
1. นางศศิธร?????????????? ชิดนายี?????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ? ปฏิบัติราชการต่างจังหวัด
ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็น ร้อยละ 92.86
เปิดการประชุมเวลา 13.00 น.
ประธานการประชุม นางมณฑา??????? อุดมเลิศ????????? หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่
และผู้สูงอายุ
ระเบียบวาระที่ 1 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบ???? โดยประธาน
1. ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ ด้านการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัย
วิทยาลัยฯ กำหนดให้แต่ละภาควิชาดำเนินการจัดการความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2558 โดยประเด็นความรู้และเป้าหมาย การจัดการความรู้ ยังคงเป็นประเด็นเดิม ซึ่งต่อเนื่องจากปีการศึกษา 2557 คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning สำหรับอาจารย์พยาบาล ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการตกผลึกขององค์ความรู้ในประเด็นดังกล่าว?? อย่างกระจ่างชัดมากขึ้น
2. ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ของภาควิชา
ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา 2558 โดยใช้ประเด็นเดิมที่ต่อเนื่องจากปีการศึกษา 2557 คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? based Learning [PBL]) ดังนั้น ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ จึงยึดถือตามประเด็นการจัดการความรู้และเป้าหมายของภาควิชาเดิม คือ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? based Learning [PBL]) ซึ่งจะขอความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับประสบการณ์ตามประเด็นดังกล่าว
มติที่ประชุม รับทราบ
ระเบียบวาระที่ 2 ?? รับรองรายงายการประชุม
- ไม่มี ?
ระเบียบวาระที่ 3 ?? เรื่องสืบเนื่อง
- ไม่มี ?
ระเบียบวาระที่ 4 ?? เรื่องแจ้งเพื่อทราบอื่นๆ
- ไม่มี ?
ระเบียบวาระที่ 5 ?? เรื่องเพื่อพิจารณา
- ไม่มี ?
ระเบียบวาระที่ 6 ?? เรื่องอื่นๆ
1. การจัดการความรู้ของภาควิชา
ประธานได้ดำเนินการขอความร่วมมือคณาจารย์ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ ?และผู้สูงอายุ ได้ร่วมกันแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากประสบการณ์ ความรู้ และทักษะ จากการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการ ? ? ? ?การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? Based Learning [PBL]) มาใช้ในการจัดการเรียนการ สำหรับ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 รายวิชา การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 เรื่อง การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ ปีการศึกษา 2558 โดยอาจารย์ผู้เข้าร่วมได้แบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ ความรู้ และทักษะของตนเองอย่างกว้างขวาง สามารถถอดบทเรียน ดังนี้
1.1 สรุปผลการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติที่ดี ?การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? Based Learning [PBL])? พบว่า ขั้นตอนการดำเนินการ ยังคงประกอบด้วย 3 ขั้นตอน 1) ขั้นเตรียมการ 2) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL) และ 3)? ขั้นประเมินผล และในแต่ละขั้นตอนย่อยๆ ของขั้นตอนหลักนั้น โดยภาพรวม อาจารย์ผู้ร่วมสอบแบบ PBL เห็นว่า มีความชัดเจน เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ดีได้ (แนวปฏิบัติ : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning : กระบวนการการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? based Learning : PBL) [ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 3 : 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559])
1.2 รายละเอียดข้อค้นพบปลีกย่อยเพิ่มเติมจาก ข้อ 1 ในขั้นที่ 1 : เตรียมการ พบข้อเสนอแนะที่ดีจากการปฏิบัติประเด็นย่อยเกี่ยวกับการสร้างโจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) ว่า Triggers ที่ดี นอกจากการมีลักษณะ/คำนึงความครบถ้วน ได้แก่ 1) สร้างมาจากวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (objective learning) ที่จำเป็น หรือพิจารณาถึงความครอบคลุมของวัตถุประสงค์การเรียนรู้ สำหรับผู้เรียนของรายวิชานั้นๆ 2) ไม่เกินความสามารถด้านประสบการณ์ ความรู้ ทักษะที่เป็นพื้นฐานเดิมของผู้เรียน 3) มีความคล้ายคลึงหรือเสมือนจริงตามสถานการณ์ที่ต้องการ 4) มีเนื้อหา/เหตุการณ์ที่น่าสนใจ หรือกระตุ้น ดึงดูด หรือรุกเร้า ความสนใจใฝ่รู้ใฝ่เรียนของผู้เรียน และ 5) มีคำถามกระตุ้น (trigger question) ผู้เรียนแล้ว ยังมีสิ่งที่ต้องกระทำเพื่อให้ได้โจทย์ปัญหาที่ดี คือ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมวิพากษ์ ร่วมปรับปรุงโจทย์ปัญหา โดยผู้ร่วมสอนทุกคนอย่างจริงจัง เข้มข้น ซึ่งในส่วนนี้ คณาจารย์ในภาควิชาฯ ได้ร่วมกันแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ที่มีเกี่ยวกับการสร้างโจทย์ปัญหาที่ดี ปรับปรุงโจทย์ปัญหาอีกครั้ง จนได้โจทย์ปัญหาใหม่ ภายใต้การตอบคำถามเกี่ยวกับคุณลักษณ์และความครบถ้วนของโจทย์ปัญหาที่ดี ดังนี้
โจทย์ปัญหา
นายสนิท เงียบหน่อย อายุ 58 ปี มาโรงพยาบาลด้วยอาการไข้ หายใจเหนื่อยหอบ บวม? ปัสสาวะขุ่นและออกน้อย 3 วัน แพทย์รักษาด้วยการให้ยา อาการไม่ดีขึ้น จึงพิจารณาให้ล้างไต สัญญาณชีพแรกรับ : T = 38 oC RR =? 30 ครั้ง/นาที PR = 92 ครั้ง/นาที BP = 160/100? mm.Hg
Chart Data
นายสนิท เงียบหน่อย? อายุ 58 ปี
CC : ไข้ หายใจเหนื่อยหอบ บวม ปัสสาวะขุ่นและออกน้อย 3 วันก่อนมาโรงพยาบาล
PI? : ญาติให้ประวัติว่า
? 10 ปีก่อนมาโรงพยาบาล? ผู้ป่วยเป็นนิ่วในไต รับการรักษาไม่ต่อเนื่อง
? 5? ปีก่อนมาโรงพยาบาล? มีอาการไข้? หนาวสั่น? แพทย์วินิจฉัยว่ามีภาวะติดเชื้อ
ในระบบทางเดินปัสสาวะ ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ อาการเป็นๆ หายๆ
? 3 วันก่อนมาโรงพยาบาล? ไข้ หายใจเหนื่อยหอบ? บวม? ปัสสาวะขุ่นและออกน้อย
แพทย์รักษาด้วยการให้ยา อาการไม่ดีขึ้น จึงพิจารณาให้ล้างไต
V/S แรกรับ : T = 38 oC????????? RR =? 30 ครั้ง/นาที PR = 92 ครั้ง/นาที BP = 160/100 mm.Hg
ตรวจร่างกาย :
Skin ???????????? ??????? พบ?? pittng? edema? +2
Eyes?? ?????????? ?? ???? Pale? conjunctiva
Respiratory???? ??????? Restless,? crepitation?? both? lower? lungs,
Lung? expansion = OK
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ :
Hb ???? = 5.6? gm/dl????????????????????? Hct ??? = 20%
BUN??? = 104? mg/dl???????????????????? Cr?????? = 10.3? mg/dl
K??????? = 5.8? mEq/l????????????????????? U/A???? = Protein? +2
ยาที่ได้รับ :
Lasix? (40? mg)? vein? stat
Lasix?? (500? mg)? 1 1/2 tab tid.pc.
CaCO3 1? tab? tid.pc.
Kyexalate?? 30? cc. tid.pc.
Ciprofloxacin? (500? mg)? vein? q? 12? hrs.
Paracetamol? (500? mg)? 1? tab ? prn? for? fever
มติที่ประชุม รับรองการสรุปผลการถอดบทเรียนเพิ่มเติม และให้นำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 : ความผิดปกติของการขับถ่ายปัสสาวะ สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ต่อไป
ปิดการประชุมเวลา 16.00 น.
ลงชื่อ………..จิราพร ศรีพลากิจ……………………..ผู้บันทึกรายงานการประชุม
(นางจิราพร ศรีพลากิจ)
พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
ลงชื่อ………..ไพทูรย์ ?มาผิว…………….ผู้บันทึกรายงานการประชุม
(นายไพทูรย์ ?มาผิว)
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
ลงชื่อ………มณฑา ?อุดมเลิศ…………….ผู้ตรวจรายงานการประชุม
(นางมณฑา? อุดมเลิศ)
หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
วันที่……18……./…กุมภาพันธ์……./…/2559…………
การเรียนการสอนแบบ PBL นั้น การสร้างหรือกำหนดโจทย์ปัญหาเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่ง โดยโจทย์ปัญหา (Trigger) ที่ดี จะต้องกระตุ้นหรือรุกเร้าผู้เรียนให้มีความอยากจะเข้าไปเรียนรู้หรือตั้งคำถามทันที อันเป็นจุดเริ่มแรกที่จะดึงผู้เรียนสู่การเรียนรู้ตามกระบวนการขั้นต่อๆ ไป
ยอมรับว่าการทำโจทย์ (trigger) ไม่ใช่เรื่องง่ายจริงๆ ต้องคิด วิเคราะห์ ว่าตรงกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้หรือไม่ อยู่ในขอบเขตการเรียนรู้ของผู้เรียนหรือไม่เป็นสิ่งกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนหรือไม่ เป็นเรื่องดีมากที่ผู้สอนได้นำประสบการณ์จากการเข้ากลุ่ม PBL มาใช้ในการจัดทำ trigger ให้ดีขึ้น เหมาะสมกับผู้เรียนและเนื้อหาการเรียนรู้มากสุด อย่างไรก็ตาม คณะผู้สอนจะต้องมีการประเมินการใช้โจทย์ทุกครั้ง เพื่อการปรับปรุงให้ได้ trigger ที่ดีที่สุด
ในส่วนรายละเอียดข้อค้นพบปลีกย่อยในขั้นที่ 1 : เตรียมการ
พบข้อเสนอแนะที่ดีจากการปฏิบัติ ในการกำหนดโจทย์ให้มีความคล้ายคลึงหรือเสมือนจริงตามสถานการณ์ที่ต้องการ และมีคำถามกระตุ้น (trigger question)
ทั้งนี้ การกำหนดโจทย์ให้มีความคล้ายคลึงหรือเสมือนจริงตามสถานการณ์ที่ต้องการ ต้องคำนึงถึงส่วนโจทย์ปัญหา และChart Data ให้สอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันในสภาพอาการของผู้ป่วย เมื่อสองส่วนเกิดความสอดคล้องกันอย่างสมบูรณ์ การใช้คำถามกระตุ้น (trigger question)จะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ในส่วนของรายละเอียดข้อค้นพบปลีกย่อยเพิ่มเติมจากในขั้นที่ 1 : เตรียมการ
พบข้อเสนอแนะที่ดีจากการปฏิบัติในประเด็นย่อยเกี่ยวกับการสร้างโจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) ให้มีความคล้ายคลึงหรือเสมือนจริงตามสถานการณ์ที่ต้องการ และมีคำถามกระตุ้น (trigger question) โดยการสร้างโจทย์ให้มีความคล้ายคลึงหรือเสมือนจริงตามสถานการณ์ที่ต้องการ นั้นต้องคำนึงถึงส่วนโจทย์ปัญหาและ Chart Data ให้มีความสอดคล้องกันตามสภาพอาการผู้ป่วยในสถาณการณ์ เมื่อเกิดความสมบูรณ์ของโจทย์ การใช้คำถามกระตุ้น (trigger question)
จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานหรือที่เรียกกันว่าการเรียนรู้ที่ใช้ลักษณะการตั้งปัญหาเป็นประเด็นนำ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะค้นคว้าหาความรู้มาเพื่อขบคิดแก้ไขปัญหา หรือเรียนรู้จากปัญหา เป็นรูปแบบการเรียนอีกรูปแบบหนึ่งที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมของผู้เรียน โดยครูผู้สอนมีส่วนร่วมน้อยแต่ก็ท้าทายครูผู้สอนอย่างมากที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
เห็นด้วยกับอาจารย์ไพทูรย์และอาจารย์นิศารัตน์เรื่องความสำคัญของโจทย์ที่จะช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความอยากในการเรียนรู้ อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากันคือ คำถามนำ (Trigger questions)ซึ่งครูจะต้องมีเทคนิคในการใช้คำถามที่จะโน้มน้าว ชักจูง เชิญชวนให้ผู้เรียนคิดและเชื่อมโยงไปสู่วัตถุประสงค์การเรียนรู้ของหัวข้อที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชาได้อย่างแท้จริง ซึ่งครูเองต้องมีการคิด วางแผนร่วมกันเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามที่ต้องการและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักจะเน้นที่กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนไม่ใช่ผู้สอน ผู้สอนจะทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบโจทย์ปัญหาที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ จัดบรรยากาศการเรียนรู้และเตรียมทรัพยากรการเรียนรู้ (learning resource) ต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้นๆ โดยผู้สอนจะทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้(facilitator)ซึ่งสิ่งสำคัญของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักที่สำคัญอย่างหนึ่งคือใช้ปัญหาที่สอดคล้องกับ
สถานการณ์จริงเป็นตัวกระตุ้นหรือจุดเริ่มต้นในการแสวงหาความรู้ของผู้เรียน
การเรียนโดยใช้ PBL มีผลการศึกษาว่าช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ TQF 5 ด้านในระดับมาก (ประภาศรี พรหมประกายและ ศิวาพร ธุระงาน, รายงานการประชุมมหาวิทยาลัยกรุงเทพ)
การจัดการเรียนการสอนแบบ PBL สิ่งสำคัญของ Tutor คือ การกระตุ้นผู้เรียนด้วยการใช้คำถาม สร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนเกิดความอยากเรียนรู้ สามารถศึกษาเพิ่มได้จาก https://fhs.mcmaster.ca/facdev/documents/ApproachingPBLPracticallySept.08.pdf
http://fhs.mcmaster.ca/mdprog/documents/PBLGuideforStudentswithphotos.pdf
http://fhs.mcmaster.ca/mdprog/documents/Use_of_PBL_Article.pdf
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL)เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญในผู้เรียนที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และเกิดการแก้ไขปัญหา หากแต่ก่อนที่จะเกิดผลลัพธ์ที่ดีตรงตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้นั้น จะต้องขึ้นอยู่กับขั้นตอนการเตรียมของผู้สอน นั่นหมายถึงการออกแบบโจทย์ปัญหาที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ และผู้สอนจะต้องมีความเข้าใจหลักการของสาระการเรียนรู้เรื่องนั้นๆอย่างถ่องแท้ รวมถึงมีเทคนิคการใช้คำถามที่จะชี้นำให้ผู้เรียนตอบปัญหานั้นๆ ได้………
อ.วาสนา ครุฑเมือง
ในการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน(PBL) จุดเด่นในการจัดการเรียนการโดยการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน(PBL)คือสามารถช่วยในการจัดระบบความจำและการลำดับเนื้อหาของรายวิชาที่ศึกษาได้เป็นอย่างดี สร้างความเข้าใจในการเรียนในรายวิชาได้ มองเห็นภาพรวมของเนื้อหาวิชาทั้งก่อนและหลังการศึกษา
ข้อเสียหรือจุดด้อยในการจัดการเรียนการโดยการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน(PBL)คือถ้ามีการขาดเรียนหรือเข้าเรียนล่าช้าจะมีผลต่อการทำความเข้าใจในวิชาที่ศึกษา / อาจารย์สืบตระกูล ตันตลานุกุล
การเรียนการสอนแบบ PBL การสร้างโจทย์สำคัญมากต้องครอบคลุมวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรและมีลักษณะที่ไม่เปิดเผยประเด็นเกินไปสามารถกระตุ้นความคิดและทักษะเชิงเหตุผลในการตัดสินใจผ่านคำถามนำซึ่งทีมผู้สอนต้องร่วมกันพิจารณาให้เหมาะสมเมื่อนำไปใช้จัดการเรียนการสอนแล้วต้องมีการสะท้อนคิดในการเรียนแต่ละครั้งเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพต่อไป
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หรือ การเรียนรู้ที่ใช้ลักษณะการตั้งปัญหาเป็นประเด็นนำ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะค้นคว้าหาความรู้มาเพื่อขบคิดแก้ไขปัญหา หรือเรียนรู้จากปัญหาอาจเป็นสถานการณ์จริง ได้ถูกนำมาใช้อย่างได้ผลในหลายระดับการศึกษา เป็นรูปแบบการเรียนอีกรูปแบบหนึ่งที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมของผู้เรียน โดยผู้สอนมีส่วนร่วมน้อยแต่ก็ท้าทายผู้สอนมากที่สุด ดังนั้นการทำโจทย์ของผู้สอนมีความสำคัญมากเพื่อให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ และการตั้งคำถามต้องเป็นคำถามให้ผู้เรียนกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ ซึ่งผู้สอนก็ต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงโจทย์ต่อไป
สิ่งสำคัญในการจัดการเรียนการสอนแบบ PBL คือ ปัญหา เพราะปัญหาที่ดีจะเป็นสิ่งกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจแสวงหาความรู้ในการเลือกศึกษาปัญหาที่มีประสิทธิภาพผู้สอนต้องคำนึงถึง พื้นฐานความรู้ความสามารถของผู้เรียนประการณ์ความสนใจและภูมิหลังของผู้เรียยน เพราะคนเรามีแนวโน้มที่จะสนใจเรื่องใกล้ตัว มากกว่าไกลตัวสนใจสิ่งที่มีความหมายและความสำคัญต่อตนเองและเป็นเรื่องที่ตนเองสนใจใคร่รู้ ดังนั้นการกำหนดปัญหาจึงต้องคำนึงถึงตังผู้เรียนเป็นหลักและต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกาาที่เอื้อต่อการแสวงหาความรู้ของผู้เรียนด้วย
PBL เป็นเครื่องมือที่ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยใช้สถานการณ์ การตั้งคำถามหรือโจทย์ที่เป็นประเด็นปัญหาจะนำไปสู่การค้นคว้าและวิเคราะห์คำตอบที่สามารถทำให้ผู้เรียนได้มีบทบาทแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองนอกจากการฟังบรรยายในชั้นเรียน
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning หรือ PBL) เหากมองแบบยุทธศาสตร์การสอน PBL เป็นเทคนิคการสอน ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เผชิญหน้ากับปัญหาด้วยตนเอง จะทำให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะในการคิดหลายรูปแบบ เช่น การคิดวิจารณญาณ คิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ
การจัดการเรียนการสอนแบบ PBLอาจส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงจากการเรียนการสอนแบบบรรยายเพียงอย่างเดียว เนื่องจากเป็นการตั้งคำถามที่ไม่มีคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว ทำให้ผู้เรียนมีการตัดสินใจโดยมีกรอบแนวคิด
สามารถออกแบบวิธีการที่จะแก้ไขปัญหาและมีโอกาสที่จะประเมินกิจกรรมที่ทำนอกจากนี้ยังมีการประเมินเป็นกระบวนการต่อเนื่อง จนสามารถประเมินคุณภาพของงานได้
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning หรือ PBL)สำคัญคือการทำโจทย์โดยใช้กรณีตัวอย่างที่กระตุ้นให้ผู้เรียน
สามารถวิเคราะห์เชื่อมโยงความรู้ที่เรียนได้อย่างหลากหลายและพัฒนาทักษะอันพึงประสงค์ไปพร้อมๆ กันรวมทั้งควรจัดสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ต่างๆ สำหรับการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาผู้สอน ผู้เรียน รวมทั้งสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพต่อไป
การจัดการเรียนการสอนแบบ PBL เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่มีประโยชน์ต่อผู้เรียน เนื่องจากเป็นวิธีการให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่จากการใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริง ได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ รวมทั้งผู้เรียนได้ความรู้ตามศาสตร์ในสาขาวิชาชีพของตนเอง อย่างไรก็ตามการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีนี้ การออกแบบโจทย์ปัญหาเป็นสิ่งที่มีความสำคัญซึ่งต้องครอบคลุมในสิ่งที่ต้องการให้นักศึกษาเรียนรู้ รวมถึงการใช้คำถามกระตุ้นการเรียนรู้กับผู้เรียน และการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างมาก ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดอิสระทางการคิดและสนุกกับการเรียน
การเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักจะช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการเรียน เนื่องจากผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ มากกว่าการรับฟังเนื้อหาจากครูผู้สอนเพียงฝ่ายเดียว สิ่งสำคัญก็คือสถานการณ์ปัญหาหลักหรือกรณีศึกษาที่นำมาใช้เป็นแรงกระตุ้นและผลักดันให้ผู้เรียนนำความรู้ หรือประสบการณ์ที่มีอยู่เดิมมาใช้แก้ปัญหา ซึ่งลักษณะของปัญหาต้องมีความน่าสนใจ ท้าทายและน่าค้นหาคำตอบ รวมทั้งควรเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้เรียน เพื่อผู้เรียนจะได้แสดงความสามารถในการแก้ปัญหาโดยการระบุประเด็น โครงสร้าง และเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง ช่วยให้ผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม ซึ่งการเรียนเป็นกลุ่มย่อยทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนแนวคิดกับผู้อื่นทำให้มีความรู้กว้างขวางมากขึ้น นับเป็นการพัฒนาทักษะทางสังคมให้เกิดกับผู้เรียน
ได้ใช้รูปแบบการสอน โดยการใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL) ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 1 ในกระบวนการเยี่ยมบ้าน ซึ่งจะทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้ในการแก้ไขปัญหาในใช้สถานการณ์จริง โดยให้นักศึกษาได้ค้นคว้าหาความรู้เพื่อใช้ในแก้ปัญหา ส่งผลให้เกิดการจัดระบบความคิดเชิงเหตุและผล เป็นการสร้างเสริมการคิดอย่างเป็นระบบซึ่งเป็นทักษะที่วำคัญของการเรียนการสอนทางการพยาบาล
PBL เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับยุคสมัยนี้ เพราะเป็นการใช้สถานการณ์ปัญหากระตุ้นสู่การเรียนรู้ของผู้เรียน โดยเฉพาะในวิชาชีพทางการแพทย์ การสาธารณสุข การใช้สถานการณ์ที่ใกล้เคียงกับสภาพจริงทำให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงไปสู่การปฏิบัติจริงทางวิชาชีพได้
การเรียนการสอนแบบ PBL ให้ความสำคัญกับการกำหนดปัญหา นักศึกษาต้องสามารถให้ความหมายกับปัญหาและค้นหาข้อมูลไปด้วยพร้อม ๆ กัน จึงเกิดการทำงานร่วมกับกลุ่ม อีกทั้งจะเป็นโอกาสให้นักศึกษามีความกระตือรือร้นมากขึ้นในการค้นคว้าหาความหมาย คิดอย่างเป็นระบบและตั้งปัญหาจากชีวิตจริง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่อาจคาดหวังได้ว่า คำตอบนั้นถูกหรือผิด และนั่นคือ โจทย์ที่ต้องพิสูจน์องค์ความรู้ ทำให้นักศึกษาต้องทำงานหนักกับการเรียนรู้ในแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการตั้งคำถาม ปัญหา การให้คำนิยาม
Problem Base Learning หรือที่เรียกกันว่าการเรียนรู้ที่ใช้ลักษณะการตั้งปัญหาเป็นประเด็นนำ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะค้นคว้าหาความรู้มาเพื่อขบคิดแก้ไขปัญหา หรือเรียนรู้จากปัญหา เป็นรูปแบบการเรียนอีกรูปแบบหนึ่งที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมของผู้เรียน โดยครูผู้สอนมีส่วนร่วมน้อยแต่ก็ท้าทายครูผู้สอนอย่างมากที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เป็นการเรียนรู้ที่สำคัญในผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และเกิดการแก้ไขปัญหา ซึ่งแนวคิดของกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักสามารถนำมาใช้ในรายวิชา ป.ครอบครัว ๑ เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกกระบวนการคิดแก้ปัญหา และเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลายมากขึ้น
PBL เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงศักยภาพของตนเอง ในด้านการเป็น active learner ใช้ปัญหาเป็นแนวทางในการกระตุ้นความใฝ่รู้ของตนเอง ให้เกิดความพยายามในการแก้ไขปัญหาอย่างไม่ย่อท้อ และมองสถานการณ์ปัญหาเป็นความท้าทาย พัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยให้ผู้เรียนมีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
การเรียนรู้ด้วยการนำปัญหาขึ้นมาเป็นตัววิเคราะห์หลัก เป็นการจัดการเรียนการสนอที่มีประโยชน์ที่หลากหลายทั้งต่อครูและนักเรียนในการที่จะช่วยสร้างองค์ ความรู้จากการค้นคว้ามีผลงานวิจัยเพิ่มมากขึ้นและทำให้นักเรียนมีส่วนร่วม ลดการขาดเรียน เพิ่มทักษะในการเรียนรู้แบบร่วมมือและช่วยยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการเพิ่มคุณภาพการบริการต่อไปในอนาคต
PBL เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นตัวโจทย์ ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการแก้ปัญหาซึ่งเป็นโจทย์ และผู้เรียนเป็นศุนย์กลางในการแก้ปัญหา ทำให้เกิดกระบวนการคิดและแก้ปัญหา เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย