แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? based Learning : PBL) [ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 : 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558]
สรุปผลการถอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้
ภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้
โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? based Learning : PBL)
[ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 : 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558]
แนวปฏิบัตินี้ได้พัฒนาขึ้น จากการถอดบทเรียนตามกระบวนการจัดการเรียนรู้ (KM) ของภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ? โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากการเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ได้แก่ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวัลลี สัตยาศัย อาจารย์ประจำคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ระหว่างวันที่ 24 ? 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ณ ห้องประชุมพวงชมพู วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ จากนั้น อาจารย์ในภาควิชา จึงร่วมกันถอดบทเรียนและสรุปเป็นแนวปฏิบัติ? ?การจัดการเรียนการสอน??????????? แบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? based Learning : PBL) ในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2558 ตลอดจนพิจารณาถึงความเป็นไปได้และความเหมาะสมของการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติดังกล่าวในรายวิชา การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 เรื่อง การพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จากนั้น ภาควิชาฯ จึงจัดการประชุม KM ของอาจารย์ในภาควิชาฯ ในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เพื่อร่วมกันถอดบทเรียนจากประสบการณ์การประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติดังกล่าว และปรับปรุงเป็นแนวปฏิบัติที่ดี ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 เรื่อง การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? based Learning : PBL) โดยแนวปฏิบัติ????????? ที่ดีดังกล่าว มีรายละเอียด ดังนี้
การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning คือ กระบวนการหรือรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีปฏิบัติกิจกรรมหรือกระทำใดๆ ด้วยตนเอง อย่างกระตือรือร้นและใฝ่รู้ เช่น ได้คิด ได้ทำ ได้ค้นคว้า ได้แก้ปัญหา ได้สร้างสรรค์อย่างอิสระ ฯลฯ โดยผู้สอนลดบทบาทในการให้ข้อความรู้แบบการบรรยายแก่ผู้เรียนลง
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem?based Learning : PBL) คือ วิธีการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาหรือสถานการณ์เป็นจุดเริ่มต้นและกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการใฝ่หาความรู้เพื่อแก้ปัญหาโดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการแสวงหาและรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมภายในกลุ่มผู้เรียนโดยผู้สอนมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องน้อยที่สุด
ขั้นตอนการดำเนินการ
การดำเนินการจัดการเรียนรู้แบบ PBL แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 ? ? เตรียมการ
ขั้นเตรียมการนี้ถือว่าเป็นระยะที่มีความสำคัญ ซึ่งการเตรียมการที่ดีจะช่วยให้การเรียนการสอนแบบ PBL ประสบความสำเร็จ บรรลุตามเป้าหมายและผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้????????????? โดยการเตรียมการที่ต้องกระทำ ได้แก่
1.? จัดทำคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL สำหรับครู/ผู้สอน/ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) และผู้เรียน โดยมีหลักการ ดังนี้
1.1 คู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL
1) คู่มือสำหรับผู้เรียน ควรประกอบด้วย 1) ขั้นตอนการเรียนรู้แบบ PBL 2) โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) และ 3) แบบประเมินหรือเครื่องต่างๆ ที่สำหรับประเมินผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้รายบท และการเรียนรู้แบบ PBL
2) คู่มือสำหรับครู/ผู้สอน/ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator)? ควรประกอบด้วย 1) ขั้นตอนการเรียนรู้แบบ PBL 2) โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) 3) แบบประเมินหรือเครื่องต่างๆ ที่สำหรับประเมินผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้รายบท/เนื้อหา และการเรียนรู้แบบ PBL และ 4) เนื้อหาสาระหลัก/ที่จำเป็น สำหรับการอธิบายเชื่อมโยงหรือตอบโจทย์ปัญหา หรือ Triggers นั้นๆ ทั้งนี้เพราะครูผู้สอนแต่ละคนย่อมมีความความรู้ ความเข้าใจ และลุ่มลึกในเนื้อหาสาระและประสบการณ์มากน้อยแตกต่างกัน ดังนั้น การที่ผู้สอนร่วมกันกำหนดเนื้อหาสารที่จำเป็นอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และ?????????????? นำกลับไปอ่านหรือทบทวนอย่างจริงจัง ย่อมสร้างความเข้าใจในเนื้อหาได้ชัดเจน เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง เมื่อเข้ากลุ่มกับนักศึกษา
1.2 กระบวนการให้ได้มาซึ่งคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBLที่มีคุณภาพ ต้องมีจุดเน้นที่สำคัญ คือ กระบวนการจัดทำแบบมีส่วนร่วมของทีมผู้ร่วมสอน ทั้งนี้เพราะการมีส่วนร่วม????????????? จะช่วยสร้างความกระจ่างชัดในการกระทำ หรือเกิดความเข้าใจร่วมกันอย่างชัดแจ้ง มีทิศทาง/เข็มมุ่งเดียวกัน???????????? ทั้งแนวทางการปฏิบัติเชิงระบบและรายละเอียดปลีกย่อยในคู่มือ/การจัดการเรียนการสอนแบบ PBL ??????????????????ซึ่งเชื่อว่าเป็นวิธีทางหนึ่งที่นำครูเข้าสู่ความเชี่ยวชาญมีมาตรฐานในการสอน
2.? สร้างโจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) โดย Triggers ที่ดี ควรมีลักษณะ/คำนึงความครบถ้วน ดังต่อไปนี้
2.1? สร้างมาจากวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (objective learning)ที่จำเป็น หรือพิจารณาถึงความครอบคลุมของวัตถุประสงค์การเรียนรู้ สำหรับผู้เรียนของรายวิชานั้นๆ
2.2 ไม่เกินความสามารถด้านประสบการณ์ ความรู้ ทักษะที่เป็นพื้นฐานเดิมของผู้เรียน
2.3? มีความคล้ายคลึงหรือเสมือนจริงตามสถานการณ์ที่ต้องการ
2.4 มีเนื้อหา/เหตุการณ์ที่น่าสนใจ หรือกระตุ้น ดึงดูด หรือรุกเร้า ความสนใจใฝ่รู้ใฝ่เรียน เช่น เป็นเหตุการณ์ที่กำลังได้รับความสนใจในปัจจุบัน เหตุการณ์ร่วมสมัย เป็นต้น
2.5? ตรวจสอบคุณภาพของโจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) โดยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อสร้างมาตรฐานของเครื่องมือ สำหรับการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ
2.5 ?? ควรมีคำถามกระตุ้น (trigger question) เพื่อช่วยให้ tutor ใช้ในการถามกระตุ้นนักศึกษาให้คิดไปตามแนวทางหรือการอภิปรายดำเนินไปสู่วัตถุประสงค์ของโจทย์ปัญหาที่กำหนดไว้
3.? เตรียมครู/ผู้สอน ดังนี้
3.1 สร้างความเข้าใจในขั้นตอน PBL และบทบาทของครูตามเจตนารมณ์ของการเรียนรู้แบบ PBL คือ ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่นักศึกษา (facilitator) ดังแนวคิดที่ว่า ?Teach less learn more?
3.2 ฝึกทักษะการตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดอย่างต่อเนื่อง? รอบคอบ ต่อยอด เป็นระบบ
3.3 มีสัดส่วนครูต่อนักศึกษาที่เหมาะสม คือ 1 : 5-12 คน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป
4.? เตรียมผู้เรียน ดังนี้
4.1? วางแผนแบ่งกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสม
1) ได้สัดส่วนครูต่อนักศึกษาที่เหมาะสม คือ 1 : 5-12 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป
2) คละเด็กเรียนเก่ง-ปานกลาง-อ่อน ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
4.2 ฝึกทักษะการอ่านและสรุปความจากเนื้อหาที่อ่าน ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่ง และนักศึกษาต้องใช้ตลอดการเรียนรู้แบบ PBL
4.3? ประชุมทีมครูผู้สอนเพื่อสร้างความเข้าใจในขั้นตอนและบทบาทของผู้เรียนตามกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL
4.4 สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู่แบบ PBL โดยการเน้นกระบวนการเสริมพลังการเรียนรู้ (Empowerment) แก่นักศึกษา ก่อนเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ทั้งนี้เพราะการ Empowerment จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และส่งเสริมให้นักศึกษามีอิสระในการปฏิบัติและเรียนรู้ หรือปลดปล่อยความรู้สึกที่ถูกคุกคามจากการบีบบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ สิ่งที่น่าเบื่อ เป็นสิ่งที่ดึงดูด และน่าสนใจที่เข้าไปเรียนรู้
ขั้นที่2 ? การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL)
ครู/ผู้สอนดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามขั้นตอน PBL 3 ระยะ 7 ขั้นตอน ดังนี้
ระยะที่ 1 : เปิดโจทย์ปัญหา ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ? 5 ของ PBL ดังนี้
Step 1 : Clarifying terms and conceptsผู้เรียนทั้งกลุ่มร่วมกันอ่านโจทย์หรือสถานการณ์ทำความเข้าใจกับศัพท์และแนวคิดให้มีความเข้าใจที่ตรงกัน
Step 2 : Identifythe problem ผู้เรียนระบุปัญหาของโจทย์หรือสถานการณ์
Step 3 : Analyse the problem เรียนวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาความเชื่อมโยงของปัญหา
Step 4 : Formulate hypotheses ผู้เรียนตั้งสมมติฐานที่เป็นสาเหตุของปัญหาและจัดลำดับความสำคัญ
Step 5 : Formulating learningobjective ผู้เรียนตั้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา
ระยะที่ 2 : ศึกษาหาความรู้ เป็นขั้นตอนที่ 6 ของ PBL คือ
Step 6 : Collect additional information outside the group ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลนอกกลุ่มโดยต่างคนต่างแยกย้ายกันหาความรู้จากแหล่งวิทยาการต่างๆตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้
ระยะที่ 3: ปิดโจทย์ปัญหาเป็นขั้นตอนที่ 7 ของ PBL คือ
Step 7 : Synthesize and test the newly acquired and identify information generalization and? principles derived from studying? this problem กลุ่มกลับมาพบกันใหม่สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา?????????????? เพื่อพิสูจน์สมมติฐานและสรุปเป็นหลักการสำหรับการนำไปใช้ต่อไปในอนาคต
ขั้นที่3 ? ประเมินผล ประกอบด้วย
1. ปัจจัยที่จำเป็นต้องพิจารณาประเมิน เพื่อการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการเรียนรู้ และควรพิจารณาประเมินให้ครอบคลุม 360 องศา โดยปัจจัยที่จำเป็นต้องพิจารณาประเมิน ประกอบด้วย
1.1 ด้านผู้เรียน ประกอบด้วย การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ (summative evaluation) ตามที่กำหนด เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการ และประเมินผลระหว่างการเรียนการสอนเพื่อวางแผนพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง (formative evaluation) อันจะนำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้
1.2 ด้านครู/ผู้สอน จะมุ่งเน้นการประเมินประสิทธิภาพและคุณภาพของครู/ผู้สอนในบทบาทที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
1.3 ด้านคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL
1.4 โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (Triggers)
2. วิธีการวัดและประเมินผล โดยทีมผู้ร่วมสอนต้องร่วมกำหนดวิธีการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับรูปแบบ/กระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเฉพาะวิธีเชิงคุณภาพ : การสะท้อนคิด (Reflection) จากการมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในวิธีการที่ควรนำมาประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะรูปแบบการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน หรือการเขียนการเรียนรู้ ภายใต้คำถามกระตุ้นหรือนำสู่กระบวนการสะท้อนคิด ทั้งนี้ วิธีการประเมินผลแบบการสะท้อนคิดนั้น จะช่วยให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงคุณภาพที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบ PBLและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ผ่านการถ่ายทอดจากตัวผู้เรียนรายบุคคลสู่การรับรู้ของบุคคลอื่น ซึ่งการสะท้อนคิด???????????? ทั้งรูปแบบการเขียนและการพูด จะเป็นกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นให้นักศึกษา/อาจารย์/ผู้สอนได้ทบทวนและตระหนักรู้ในความรู้สึก ความคิดของตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการตระหนักรู้ดังกล่าว ????????????จะทำให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งในความเป็นไปของเหตุการณ์ ความเชื่อมโยงของเหตุการณ์ ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่การพัฒนา/ปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนแบบ PBL ให้มีคุณภาพต่อไป
คณาจารย์ประจำภาควิชา
การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
ผู้ถอดบทเรียน
22 มิถุนายน พ.ศ. 2558
การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? based Learning : PBL)ในขั้นตอนการเตรียมการ อันได้แก่ การเตรียมคู่มือการเรียนการสอน การเตรียมคู่มือครู การสร้างโจทย์ปัญหา และการเตรียมผู้เรียน ถือว่าเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญเนื่องจากเป็นการวางแผนในการการจัดการเรียนการสอนให้ผู้สอนมีความเข้าใจตรงกันในเนื้อหา และความหมายของโจทย์ปัญหา ผู้เรียนมีความพร้อม และเข้าใจขั้นตอนกระบวนการศึกษาในรายวิชา ซึ่งส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนประสบความสำเร็จ และบรรลุเป้าหมายตามผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem?based Learning : PBL)เป็นวิธีการที่ดีที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เพราะผู้เรียนต้องมีการศึกษาหาความรู้ทั้งจากตำราหรือสอบถามจากบุคคล และอื่นๆ ซึ่งเหมาะสมกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 อย่างไรก็ตามครูผู้สอนวิธีนี้ ต้องมีการปรับเปลี่ยนบทบาทด้วย โดยต้องเปลี่ยนแนวคิดจากการเป็นผู้ผูกขาดการสอนมาเป็น coach ครูต้องมีความอดทนในการหาคำตอบของผู้เรียน มีทักษะการตั้งคำถามและเป็นผู้ฟังที่ดี ซึ่งจะกระตุ้นให้ผู้เรียนได้แสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่
จากการนำการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักในชั้นปีที่ ๒ รายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ ๑ ระบบทางเดินปัสสาวะ สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือการสะท้อนคิด ให้นักศึกษาสามารถตกผลึกความรู้ต่างๆที่สืบค้นมา รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันมา แล้วให้ได้ข้อสรุปที่สำคัญจะทำให้นักศึกษาสามารถสร้างความรู้ได้เอง จึงเป็นการเรียนแบบ construction
การเรียนการสอนแบบ PBL สามารถใช้กับการจัดการเรียนการสอน SBL จะช่วยให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์จริงได้
โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (Triggers) มีความสำคัญมากสำหรับการเรียนรู้แบบ PBL เพราะถ้า Triggers ดี มีคุณภาพ ทันสมัย ทันเหตุการณ์หรือสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน จะเป็นจุดเริ่ม จุดเร้าให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้ อยากหาคำตอบจากโจทย์ปัญหานั้น
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem?based Learning : PBL)เป็นการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ วิธีการสอนที่ดีที่จะช่วยให้นักศึกษามีการฝึกคิดอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน เห็นด้วยกับการนำมาใช้ออกแบบสอนในรายวิชาทางการพยาบาลเพราะจะช่วยให้นศ.มีการวางแผนเรียนรู้และศึกษาผู้ป่วยหรือกรณีศึกษาอย่างเป็นระบบและเป็นขั้นตอน ไม่หลุดประเด็น หากแต่จะต้องอาศัยครูที่ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกที่เตรียมการมาเป็นอย่างดีและครูจะต้องมีเทคนิคในการกระตุ้นผู้เรียนโดยใช้คำถาม การเป็นผู้ฟังที่ดี เข้าใจในเนื้อหาสาระระดับหนึ่ง และเชื่อมโยงเนื้อหาต่างๆได้ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนใฝ่รู้ เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้นและบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ……อ.วาสนา ครุฑเมือง
PBL เป็นการเรียนรู้แบบ Active learning ทำให้ผู้เรียนมีการศึกษาด้วยตนเองและฝึกการคิดวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาได้
สำหรับการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ ควรมีวิธีการที่หลากหลาย ซึ่งการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL)นั้น ถือว่าเป็นวิธีการหนึ่งที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดตามสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้น และทำให้เกิดการใฝ่หาความรู้เพื่อทำให้กระบวนการคิดนั้นบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
การจัดการเรียนการสอน แบบ Problem?based Learning เป็นการเรียนที่่ให้นักศึกษาได้มีการเรียนรู้ด้วยตนเอง ฝึกการคิดอย่างเป็นระบบโดยอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ PBL ซึ่งใช้กระบวนการตามรายละเอียดที่ถอดบทเรียนข้างต้น นอกจากสามารถใช้จัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎีได้ดีแล้ว ยังสามารถใช้ในการเรียนการสอนภาคปฏิบัติซึ่งการใช้กรณีศึกษาโดยมีผู้ป่วยจริงให้ศึกษาเรียนรู้จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem?based Learning : PBL)เป็นการเรียนรู้เป็ฯวิธีการเรียนรู้ที่ดี ช่วยกระตุ้นทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน อย่างไรก็ตามจะต้องมีการเตรียมความพร้อมที่ดีทั้งในด้านความรู้และทัศนคติต่อการเรียนการสอนวิธีนี้ ทั้งของผู้เรียนและผู้สอน ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร จึงควรมีการเรียนวิธีนี้ต่อๆไปเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนให้ดียิ่งๆขึ้นไป
การเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL) มีข้อจำกัดในการจัดการเรียนการสอนในบางกรณี เช่น เหมาะสำหรับสายวิชาชีพซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ไม่สามารถนำมาใช้ได้กับทุกรายวิชา ผู้สอนต้องมีทักษะในการเป็นผู้สอนประจำกลุ่ม
ผู้เรียนจะต้องมีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเองและให้ความร่วมมือในการเรียนร่วมกัน ดังนั้นผู้สอนจึงควรตระหนักถึงข้อจำกัดในการนำรูปแบบ PBL มาใช้อย่างเหมาะสมด้วย
PBL รูปแบบการเรียนการสอนแบบหนึ่งที่มีประวัติการใช้ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2531ทำให้ผู้เรียนเกิดการสะท้อนความคิด อภิปราย ทำความเข้าใจ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกลุ่ม ถึงกระบวนการเรียนรู้ แก้ปัญหา การสร้างองค์ความรู้ใหม่ การเชื่อมโยง และสรุปภาพรวมเป็นความรู้ทั่วไป แต่ถึงอย่างไรก็ยังอาศัยความร่วมมือของทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งผู้เรียนเองและผู้สอนเพื่อให้กระบวนการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
การเรียนการสอนแบบ PBL ใน stepที่ 7 การสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้เพื่อพิสูจน์สมมติฐานและสรุปเป็นหลักการหรือแนวทางที่นำไปใช้ต่อในอนาคต เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากที่ทำให้นักศึกษาสามารถฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ การสรุปความคิดรวบยอด และการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น และมีวิจารณญาณในการเลือกแนวทางแก้ปัญหา
PBL เป้นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่สามารถพัฒนาผู้เรียนรายบุคคลโดยการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อนำมาแก้ปัญหาจากโจทย์สถานการณ์โดยผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจเลือกเรื่อง/ประเด็นที่ต้องการศึกษาหาความรู้ที่ตนและกลุ่มยังขาดเพื่อนำมาแก้ปัญหา แต่การที่นักศึกษาจะสามารถคิดไปตามแนวทางหรือการอภิปรายดำเนินไปสู่วัตถุประสงค์ของโจทย์ปัญหาที่กำหนดไว้ได้หรือไม่นั้นคำถามกระตุ้น (trigger question)จากอาจารย์ประจำกลุ่มจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ดังนั้นการสร้างโจทย์ปัญหา (Triggers)และคำถามกระตุ้น (trigger question)จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทีมผู้สอนควรตระหนักในการเตรียมคู่มือ PBL
ในการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีเคยมีประสบการณ์การเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? based Learning : PBL) ในหัวข้อ การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาพร่องออกซิเจน ซึ่งพบว่าเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ดี เนื่องจากการเรียนการสอนวิธีนี้ มีจุดเน้นที่สำคัญ คือ กระบวนการจัดทำแบบมีส่วนร่วมของทีมผู้ร่วมสอน และนักศึกษา ในการจะช่วยสร้างความกระจ่างชัดในประเด็นที่สงสัยและหาคำตอบ โดยเน้นการเชื่อมโยงและร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เป็นวิธีการที่ดีที่จะทำให้ผู้เรียนพัฒนาการเรียนรู้ การคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ได้ แต่สิ่งที่สำคัญของวิธีการเรียนรู้อีกอย่างหนึ่งคือการวัดประเมินผล ซึ่งต้องมีความหลากหลาย สามารถวัด/ประเมินผู้เรียนได้จริง เห็นด้วยว่าการสะท้อนคิด (Reflection) เป็นวิธีการหนึ่งที่ควรนำมาใช้ โดยผู้สอนจะต้องมีทักษะการใช้คำถามกระตุ้นหรือนำสู่กระบวนการสะท้อนคิด จะทำให้ได้ข้อมูลเชิงคุณภาพที่จะช่วยบอกผู้สอนถึงพัฒนาการหรือผลลัพธ์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการเรียนรู้และผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้น
การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานครูผู้สอนจะทำหน้าที่สนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน คอย ให้คำปรึกษา กระตุ้นให้ผู้เรียนเอาความรู้เดิมที่มีอยู่มาใช้และเกิดการเรียนรู้โดยการตั้งคำถาม ส่งเสริมให้ผู้เรียนประเมินการเรียนรู้ของตนเอง รวมทั้งเป็นผู้ประเมินทักษะของผู้เรียนและกลุ่ม พร้อมให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการพัฒนาตนเอง
การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน(PBL) เป็นเทคนิคการสอน ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เผชิญหน้ากับปัญหาด้วยตนเอง จะทำให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะในการคิดหลายรูปแบบ เช่น การคิดวิจารณญาณ คิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ โดยเริ่มตั้งแต่มีการกำหนดปัญหา วางแผนแก้ปัญหา ตั้งสมมติฐาน เก็บรวบรวมข้อมูล พิสูจน์ข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล ผู้สอนจะต้องจัดสภาพแวดล้อมหรือบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการใช้กระบวนการคิดแก้ปัญหา และนำขั้นตอนของReflective มาสะท้อนกระบวนการเรียนของนักศึกษาแต่ละขั้นตอนได้จะช่วยเพิ่มการเรียนรู้ของนักศึกษาให้ดีขึ้น
การเรียนการสอนแบบการใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL) มีลักษณะเด่นของการเรียนรู้ที่สำคัญคือ ใช้ปัญหาแท้จริงเป็นตัวกระตุ้นการแก้ปัญหาและเป็นจุดเริ่มต้นในการแสวงหาความรู้ ยืดถือนักเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เน้นทักษะการคิด เรียนโดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย มีบูรณาการของเนื้อหาความรู้ และการเรียนโดยการกากับตนเอง (Self ? directed learning)ซึ่งเป็นการกระตุ้นผู้เรียนให้มีการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ในฐานะอาจารย์ผู้ร่วมสอนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติวิชา การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 ผลจากการดำเนินการ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ที่มุ่งเน้นกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? based Learning [PBL]) ในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 เรื่องการพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2557 พบว่า นักศึกษาเมื่อขึ้นฝึกภาคปฏิบัติในรายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ในการศึกษาผู้ป่วยจริงบนหอผู้ป่วย ทำให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้เร็วขึ้น และสามารถให้การพยาบาลผู้ป่วยได้ตรงกับสภาพปัญหาจริงของผู้ป่วยอย่างเป็นเหตุเป็นผล เพราะฉนั้น ถ้าสามารถขยายผลการจัดการเรียนการสอนแบบ PBL ในหัวข้ออื่นๆๆ ก็จะยิ่งเกิดประโยชน์สูงสุดกับนักศึกษามากยิ่งขึ้น
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก คือ การเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะใฝ่หาความรู้เพื่อแก้ปัญหา โดยเน้นผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการแสวงหาความรู้ และรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมภายในกลุ่มผู้เรียน โดยผู้สอนมีส่วนร่วมน้อยที่สุด ซึ่งการเรียนรู้จากปัญหาอาจเป็นสถานการณ์จริง วิธีการเรียนรู้ตามแนวทางที่มีลักษณะที่สำคัญ คือ เรียนรู้ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องของปัญหานั้นๆ เน้นกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลและเป็นระบบ ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษากระตือรือร้นมากขึ้น
การนำแนวปฏิบัติ วิธีการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาหรือสถานการณ์เป็นจุดเริ่มต้นและกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการใฝ่หาความรู้เพื่อแก้ปัญหาโดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการ จะทำให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งในความเป็นไปของเหตุการณ์ ความเชื่อมโยงของเหตุการณ์ ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่การพัฒนา/ปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนแบบ PBL ให้มีคุณภาพต่อไป จะนำแนวปฏิบัตินี้ไปใช้ในการเรียนการสอนต่อไปค่ะ
การเรียนรู้แบบ PBL เป็นการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการหาความรู้เพื่อแก้ปัญหา เน้นผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการหาความรู้ และรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีม ซึ่งผู้สอนมีส่วนร่วมน้อยที่สุด โดยการเรียนรู้จากปัญหาอาจจะเป็นสถานการณ์จริง หรือสถานการณ์จำลอง ซึ่งผู้เรียนจะเรียนรู้ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องของปัญหาโดยเน้นกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลและเป็นระบบ ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษากระตือรือร้นมากขึ้น