แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? based Learning : PBL)
สรุปผลการถอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้
ภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
แนวปฏิบัติที่ดี : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้
โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? based Learning : PBL)
จากการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาอาจารย์ด้านการจัดการความรู้ เรื่อง การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL) ระหว่างวันที่ 24 – 25 ธันวาคม 2557 ณ ห้องประชุมพวงชมพู วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ โดยวิทยากรผู้บรรยายคือ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวัลลี สัตยาศัย อาจารย์ประจำคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สามารถนำมาสรุปผลการถอดบทเรียนได้ดังนี้
การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning คือ กระบวนการหรือรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีปฏิบัติกิจกรรมหรือกระทำใดๆ ด้วยตนเอง อย่างกระตือรือร้นและใฝ่รู้ เช่น ได้คิด ได้ทำ ได้ค้นคว้า ได้แก้ปัญหา ได้สร้างสรรค์อย่างอิสระ ฯลฯ โดยผู้สอนลดบทบาทในการให้ข้อความรู้แบบการบรรยายแก่ผู้เรียนลง
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem?based Learning : PBL) คือ วิธีการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาหรือสถานการณ์เป็นจุดเริ่มต้นและกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการใฝ่หาความรู้เพื่อแก้ปัญหา ?โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการแสวงหาและรู้จักการทำงานร่วมกัน เป็นทีมภายในกลุ่มผู้เรียน โดยผู้สอนมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องน้อยที่สุด
ขั้นตอนการดำเนินการ
การดำเนินการจัดการเรียนรู้แบบ PBL แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 ? ? เตรียมการ
ขั้นเตรียมการนี้ถือว่าเป็นระยะที่มีความสำคัญ ซึ่งการเตรียมการที่ดีจะช่วยให้การเรียนการสอนแบบ PBL ประสบความสำเร็จ บรรลุตามเป้าหมายและผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้ ?โดยการเตรียมการที่ต้องกระทำ ได้แก่
1.? จัดทำคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL สำหรับครู/ผู้สอน/ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) และผู้เรียน ซึ่งคู่มือควรประกอบด้วย ขั้นตอนการเรียนรู้แบบ PBL โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers)
2.? สร้างโจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) โดย Triggers ที่ดีควรมีลักษณะ/คำนึงความครบถ้วน ดังต่อไปนี้
2.1? สร้างมาจากวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (objective learning) ที่จำเป็น หรือพิจารณาถึงความครอบคลุมของวัตถุประสงค์การเรียนรู้ สำหรับผู้เรียนของรายวิชานั้นๆ
2.2 ไม่เกินความสามารถด้านประสบการณ์ ความรู้ ทักษะที่เป็นพื้นฐานเดิมของผู้เรียน
2.3? มีความคล้ายคลึงหรือเสมือนจริงตามสถานการณ์ที่ต้องการ
2.4 มีเนื้อหา/เหตุการณ์ที่น่าสนใจ หรือกระตุ้น ดึงดูด หรือรุกเร้าความสนใจใฝ่รู้ใฝ่เรียน เช่น เป็นเหตุการณ์ที่กำลังได้รับความสนใจในปัจจุบัน เหตุการณ์ร่วมสมัย เป็นต้น
2.5 ควรมีคำถามกระตุ้น (trigger question) เพื่อช่วยให้ tutor ใช้ในการถามกระตุ้นนักศึกษาให้คิดไปตามแนวทางหรือการอภิปรายดำเนินไปสู่วัตถุประสงค์ของโจทย์ปัญหาที่กำหนดไว้
3.? เตรียมครู/ผู้สอน ดังนี้
3.1 สร้างความเข้าใจในขั้นตอน PBL และบทบาทของครูตามเจตนารมณ์ของการเรียนรู้แบบ PBL คือ ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่นักศึกษา (facilitator) ดังแนวคิดที่ว่า ?Teach less learn more?
3.2 ฝึกทักษะการตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดอย่างต่อเนื่อง? รอบคอบ ต่อยอด เป็นระบบ
3.3 มีสัดส่วนครูต่อนักศึกษาที่เหมาะสม คือ 1 : 5-12 คน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป
4.? เตรียมผู้เรียน ดังนี้
4.1? วางแผนแบ่งกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสม
1) ได้สัดส่วนครูต่อนักศึกษาที่เหมาะสม คือ 1 : 5-12 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป
2) คละเด็กเรียนเก่ง-ปานกลาง-อ่อน ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
4.2 ฝึกทักษะการอ่านและสรุปความจากเนื้อหาที่อ่าน
4.3? สร้างความเข้าใจในขั้นตอนและบทบาทของผู้เรียนตามกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL
ขั้นที่ 2 ? ? การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL)
ครู/ผู้สอนดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามขั้นตอน PBL 3 ระยะ 7 ขั้นตอน ดังนี้
ระยะที่ 1 : เปิดโจทย์ปัญหา ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ? 5 ของ PBL ดังนี้
Step 1 : Clarifying ?terms ?and concepts ผู้เรียนทั้งกลุ่มร่วมกันอ่านโจทย์หรือสถานการณ์ ทำความเข้าใจกับศัพท์และแนวคิดให้มีความเข้าใจที่ตรงกัน
Step 2 : Identify ?the ?problem ผู้เรียนระบุปัญหาของโจทย์หรือสถานการณ์
Step 3 : Analyse ?the ?problem ผู้เรียนวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ความเชื่อมโยงของปัญหา
Step 4 : Formulate ?hypotheses ผู้เรียนตั้งสมมติฐานที่เป็นสาเหตุของปัญหา และจัดลำดับความสำคัญ
Step 5 : Formulate ?learning objectives ผู้เรียนตั้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา
ระยะที่ 2 : ศึกษาหาความรู้ เป็นขั้นตอนที่ 6 ของ PBL คือ
Step 6 : Collect ?additional ?information ?outside ?the ?group ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลนอกกลุ่ม โดยต่างคนต่างแยกย้ายกันศึกษาหาความรู้จากแหล่งวิทยาการต่างๆตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้
ระยะที่ 3 : ปิดโจทย์ปัญหา เป็นขั้นตอนที่ 7 ของ PBL คือ
Step 7: Synthesize and test the newly acquired and indentify information generalization and principles derived from studying this problem กลุ่มกลับมาพบกันใหม่ สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาเพื่อพิสูจน์สมมติฐาน และสรุปเป็นหลักการสำหรับการนำไปใช้ต่อไปในอนาคต
ขั้นที่ 3 ? ? ประเมินผล ประกอบด้วย
1. ด้านผู้เรียน ประกอบด้วย การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ (summative evaluation) ตามที่กำหนด เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการ และประเมินผลระหว่างการเรียนการสอนเพื่อวางแผนพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง (formative evaluation) อันจะนำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้
2.? ด้านครู/ผู้สอน จะมุ่งเน้นการประเมินประสิทธิภาพและคุณภาพของครู/ผู้สอนในบทบาทที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
3.? ด้านคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL
4.? โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (Triggers)
คณาจารย์ประจำภาควิชา
การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
ผู้ถอดบทเรียน
27 มกราคม 2558
การจัดการเรียนการสอน PBL ที่สำคัญมากๆ คือ ตัวปัญหา (trigger) หรือสถานการณ์ปัญหาหลักที่นำมาใช้นั้น จะต้องเป็นแรงกระตุ้นและผลักดันให้ผู้เรียนนำความรู้หรือประสบการณ์ที่มีอยู่เดิมมาใช้แก้ปัญหา ดังนั้น ลักษณะของปัญหาต้องมีความน่าสนใจ ท้าทาย และน่าค้นหาคำตอบ รวมทั้งควรเกี่ยวข้องสัมพันธ์
กับผู้เรียน เพื่อผู้เรียนจะได้แสดงความสามารถในการแก้ปัญหา โดยการ
ระบุประเด็น โครงสร้าง และเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง
การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้
โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem ? based Learning : PBL)เป็นการเรียนรู้ที่ทำให้นักศึกษาเกิดทักษะกระบวนการคิดได้เป็นอย่างดี ซึ่งเหมาะแก่การนำมาปรับใช้ในการเรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ การเรียนรู้แบบPBL จะเน้นการวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ และหาเหตุผลมาอธิบาย โดยอาศัยความรู้เดิมของสมาชิกกลุ่ม เป็นการช่วยกันคิดอย่างมีเหตุมีผล และสรุปรวบรวมความรู้และแนวคิดของกลุ่มเกี่ยวกับกลไกการเกิดปัญหา เพื่อนำไปสู่การสร้างสมมติฐานที่สมเหตุสมผลเพื่อใช้แก้ปัญหานั้น ซึ่งก็จะทำให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างทั่วถึง เป็นอีกรูปแบบที่น่าสนใจในการมาปรับใช้ในการเรียนการสอนของตนเองคะ
การเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาหรือสถานการณ์เป็นจุดเริ่มต้น โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการแสวงหาและรู้จักการทำงานร่วมกัน เป็นกระบวนการสำคัญที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุด เกิดการวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ และหาเหตุผลมาอธิบาย นำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล
การเรียนการสอนโดยใช้ PBL เป็นวิธีการที่ช่วยให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืน เพราะนักศึกษาต้องศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองมากขึ้น โดยมีแนวทางในการศึกษาที่ได้จากโจทย์สถานการณ์ และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งความรู้และประสบการณ์ร่วมกัน ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นให้นักศึกษาเกิดกระบวนการแก้ปัญหาที่เหมาะสมต่อไป
การสอนแบบ PBL เป็นวิธีการศึกษาแบบผู้ใหญ่ หรือ ?adult learning approach? เหมาะสำหรับผู้เรียนในระดับอุดมศึกษาขึ้นไป เนื่องจากต้องมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายไปศึกษาค้นคว้า ต้องมีภูมิความรู้ระดับหนึ่ง หรือมีประสบการณ์และกล้าแสดงความคิดเห็น ลักษณะการเรียนการสอนแบบ PBL ผู้เรียนสามารถต่อยอดความรู้ออกนอกวิชาเรียนได้ดี เพราะเกิดจากการกระตุ้นของครูในห้องเรียน ทำให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้ามาล่วงหน้า เพียงแต่ครูพูดถึงโจทย์ปัญหา ผู้เรียนก็จะเข้าใจถึงแนวคิด หลักการพื้นฐานที่เป็นแก่นของเนื้อที่จะสอนทันที จึงมีประโยชน์ในการเรียนการสอนอย่างมากเมื่อนำมาใช้จริง
การจัดการเรียนการสอนแบบ PBL ช่วยให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้อย่างลุ่มลึก (Deep Approach) ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนเรียนอย่างเข้าใจและสามารถจดจำได้นานเกิดเป็นการเรียนรู้อย่างแท้จริง เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง และโจทย์ปัญหาที่ใช้ในการเรียนรู้ จะส่งผลให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของสิ่งที่เรียนกับการปฏิบัติงานในอนาคต ทำให้เกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้สามารถจดจำได้ดีขึ้น
การสอนแบบวิธี PBL ทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้ในเนื้อหาวิชาที่เป็นการบูรณาการ และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา การใช้เหตุผลในการคิดวิเคราะห์ และตัดสินใจ อีกทั้งยังช่วยพัฒนาทักษะในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพราะการที่ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการเรียน โดยการกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้วิธี การแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆ รวบรวมความรู้เป็นลักษณะของการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นทักษะการเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning หรือ PBL) เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากแนวคิดตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยม (Constructivism) โดยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่จากการใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในโลกเป็นบริบท (context) ของการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์และคิดแก้ปัญหา รวมทั้งได้ความรู้ตามศาสตร์ในสาขาวิชาที่ตนศึกษาไปพร้อมกันด้วย การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานจึงเป็นผลมาจากกระบวนการทำงานที่ต้องอาศัยความเข้าใจและการแก้ไขปัญหาเป็นหลัก ถ้ามองในแง่ของยุทธศาสตร์การสอนใช้ปัญหาเป็นฐาน PBL เป็นเทคนิคการสอน ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เผชิญหน้ากับปัญหาด้วยตนเอง จะทำให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะในการคิดหลายรูปแบบ เช่น การคิดวิจารณญาณ คิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ
ควรส่งเสริมและกระตุ้นให้มีการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะรายวิชาที่มีลักษณะการใช้กระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ทดลองและการคิดค้นองค์ความรู้ใหม่ ์ให้อาจารย์ได้พัฒนากระบวนการจัดการเรี ยนรู้ ในรูปแบบที่หลากหลาย อันจะเกิดผลต่อคุณภาพการเรียนรู้ ของนักศึกษา และคุณภาพของบัณฑิตในอนาคต จูงใจด้วยการแสดงความชื่นชมยินดี ประกาศเกียรติคุณ หรือให้รางวัล เป็นต้น และควรจัดให้มีเวทีสาธารณะเพื่อการจัดกิจกรรมทางวิชาการของนักศึกษาในการนำปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาล มาร่วมวิพากษ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดทักษะการเรียนรู้ และเข้าใจปัญหาสามารถหาแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม ทำให้เกิดเป็นชุมชนทางวิชาการอีกด้วย
การเรียนการสอนโดยใช้ PBL สามารถใช้กระตุ้นการคิดของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี เพียงแต่ต้องมีนโยบายที่ต้องผลักดันให้มีการสอนแบบ PBL เกิดขึ้นได้จริง มีระบบสนับสนุนที่ดีได้แก่อาจารย์ผู้สอนประจำ มีอาจารย์ประจำกลุ่มที่เพียงพอ มีผู้เชียวชาญที่คอยเป็นที่ปรึกษาเมื่อมีปัญหา มีการจัดสรรทรัพยากรที่เกี่ยวข้องให้เพียงพอได้แก่ ห้องเรียนกลุ่มย่อย แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นบุคลากร แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสื่อ งบประมาณตามความเหมาะสมและความจำ เป็น และหัวใจสำคัญของความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้นั้นครูผู้สอนต้องเอาชนะอุปสรรคทุกๆอย่างที่เกิดขึ้นให้ได้ ไม่เกิดความท้อถอย พร้อมที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นทุกรูปแบบ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์ อยากให้ครูผู้สอนทุกท่านได้นำแนวการสอนดังกล่าวไปทดลองใช้เพื่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL) สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนภาคปฎิบัติ ทำให้ผู้เรียนมีความสนใจและกระตือรือล้นในการค้นคว้าหาความรู้ โดย
ครูผู้สอนดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามขั้นตอน PBL และใช้กรณีศึกษาผู้ป่วยจริงในคลินิกเป็นโจทย์ให้ผู้เรียนได้ศึกษา ซึ่งจะกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนและผูเรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้เดิมและความรู้ใหม่มาใช้ในกระบวนการศึกษาหาความรู้ สามารถวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ และหาเหตุผลมาอธิบาย ช่วยกันคิดอย่างมีเหตุมีผล สรุปรวบรวมความรู้และแนวคิดของกลุ่มเกี่ยวกับกลไกการเกิดปัญหา เพื่อนำไปสู่การสร้างสมมติฐาน โดยใช้พื้นฐานความรู้เดิมของผู้เรียน การแสดงความคิดอย่างมีเหตุผล
การเรียนการสอนแบบใช้ปัญญหาเป็นหลัก นับเป็นวิธีการเรียนการสอนที่ดีมากอีกวิธีหนึ่ง เมื่อเรารู้แก่นแท้ของปัญหาที่เกิดก็จะสามารถแก้ได้ตรงจุดโดยใช้กระบวนการในการแก้ปัญหา โดยใช้ทักษะการคิด วิเคราะห์ และกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ ทำให้นักศึกษาคิดเป็น มีการวิเคราะห์และใช้เหตุผลหลักตรงนี้นำมาจากแนวคิดหรือหลักธรรมของศาสนาพุทธเราคือ “ทุกสิ่งเกิดแต่เหตุ” นั่นเอง
การเรียนแบบ pbl สิ่งสำคัญอย่างยิ่งคือนักศึกษาต้องมีความรู้ความเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ให้ชัดเจน และผู้สอนควรฝึกให้ผู้เรียนมีศักยภาพการเรียนรู้ด้วยตนเองซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีส่วนร่วม พร้อมฝึกให้ผู้เรียนเป็น active learner จึงสามารถเรียนได้มากกว่าและดีกว่าการเรียนที่นั่งฟังแต่ครูสอน
การเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก(PBL)เป็นกลวิธีในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนสามารถสืบค้นข้อมูลด้วยตนเอง กล้าตัดสินใจในการเลือกวิเคราะห์ข้อมูล และการทำงานร่วมกันเป็นทีม ภายหลังสิ้นสุดการเรียนกรสอนนักศึกษาจึงเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์รายวิชา และได้รับประสบการณ์เพิ่มเติมจากการเรียนรู้ความคิดซึ่งกันและกัน จากการวิเคราะห์โจทย์สถานการณ์
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem?based Learning : PBL)การเตรียมการที่ดีจะช่วยให้การเรียนการสอนแบบ PBL ประสบความสำเร็จ โดยปัญหาไม่ควรเกินความสามารถด้านประสบการณ์ ความรู้ ทักษะที่เป็นพื้นฐานเดิมของผู้เรียน และเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการ และประเมินผลระหว่างการเรียนการสอนเพื่อวางแผนพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง (formative evaluation) อันจะนำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้
การสอนโดยใช้รูปแบบ Problem-based Learning ไม่ใช่การสอนแบบแก้ปัญหา (Problem solving method)การสอนแบบ PBL นั้น ต้อง นำปัญหาที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ของผู้เรียนโดยตรงต้องมาก่อน ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นหรือเป็นตัวนำทางให้ผู้เรียน ไปแสวงหาความรู้ความเข้าใจ ด้วยตนเอง เพื่อจะได้ค้นพบคำตอบของปัญหาดังกล่าว กระบวนการหาความรู้ด้วยตนเองนี้ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการแก้ไขปัญหา (Problem solving skill)
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem?based Learning : PBL)
เป็นการเป็นกระบวนการคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและมีหลักการเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดโดยการไม่ยึดติดกับเนื้อหา เน้นกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลและเป็นระบบ เนื้อหาวิชาจะเป็นผสมผสานเนื้อหาของหลายๆ วิชาเข้าด้วยกัน เรียนเป็นกลุ่มย่อย โดยมีอาจารย์ประจำกลุ่ม (Facilitator) เป็นผู้สนับสนุนและกระตุ้นนักเรียนต้องร่วมกันสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในกลุ่มการเรียนรู้และค้นคว้าหาความรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตนเองหรือกลุ่มตั้งไว้ (self-directed)
การจัดการเรียนการสอนแบบ PBL สามารถกระดุ้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองทั้งด้านความรู้ และกระบวนการคิดวิเคราะห์ อย่างเป็นระบบ และเหมาะสมกับการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาพยาบาล ที่ได้พบเจอปัญหาทางสุขภาพของผู้รับบริการอยู่เสมอ
การเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักจะช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการเรียน เนื่องจากผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ มากกว่าการรับฟังเนื้อหาจากครูผู้สอนเพียงฝ่ายเดียว สิ่งสำคัญก็คือสถานการณ์ปัญหาหลักหรือกรณีศึกษาที่นำมาใช้เป็นแรงกระตุ้นและผลักดันให้ผู้เรียนนำความรู้ หรือประสบการณ์ที่มีอยู่เดิมมาใช้แก้ปัญหา ดังนั้นลักษณะของปัญหาต้องมีความน่าสนใจ ท้าทายและน่าค้นหาคำตอบ รวมทั้งควรเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้เรียน เพื่อผู้เรียนจะได้แสดงความสามารถในการแก้ปัญหาโดยการระบุประเด็น โครงสร้าง และเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง
PBL หรือ Problem-based Learning คือ การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หรือ การเรียนรู้ที่ใช้ลักษณะการตั้งปัญหาเป็นประเด็นนำ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะค้นคว้าหาความรู้มาเพื่อขบคิดแก้ไขปัญหา หรือเรียนรู้จากปัญหาอาจเป็นสถานการณ์จริง ได้ถูกนำมาใช้อย่างได้ผลในหลายระดับการศึกษา การเรียนโดยวิธีการนี้ ถ้ามีการเตรียมนักศึกษาเกี่ยวกับการเรียนแบบ PBL ให้นักศึกษาได้เข้าใจกระบวนการก่อน จะทำให้การเรียนแบบ PBL สนุกท่าทายทั้งผู้สอนและผู้เรียน
PBL หรือ Problem-based Learning คือ การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เป็นการจัดการเรียนการสอนที่น่าสนใจ เนื่องจากเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเสาะแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และนำไปสู่การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการจดจำของสมองในระยะยาว
PBL เป็นการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลัก ช่วยเพิ่มแรงจูงใจในเรียนเนื่องจากผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ มากกว่าการรับฟังเนื้อหาจากครูผู้สอนเพียงอย่างเดียว กรณีศึกษาที่นำมาใช้จะเป็นแรงกระตุ้น ช่วยผลักดันให้ผู้เรียนนำความรู้หรือประสบการณ์เดิมที่มีอยู่มาใช้แก้ปัญหา และทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้ในเนื้อหาวิชาที่เป็นบูรณาการและสามารถนำความไปประยุต์ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก คือ วิธีการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาหรือสถานการณ์เป็นจุดเริ่มต้นของการแสวงหาความรู้ ซึ่งเป็นการเรียนที่พัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหา การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการทำงานร่วมกันเป็นทีม
การจัดการเรียนการสอนแบบ PBL เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญยิ่งจริง สิ่งที่สำคัญที่สุดคิดว่าครูผู้สอนจะต้องมีการวางแผนที่ดีทั้งเรื่องการเตรียมโจทย์ ครูผู้สอนควรทำความเข้าใจกับขั้นตอนของการจัดแบบ PBL ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ และควรมีเทคนิคในการกระตุ้นผู้เรียนโดยใช้คำถามที่สมเหตุสมผล มีการชี้แนะให้ผู้เรียนใฝ่รู้ ต้องการคำถาม และฝึกการคิดให้กับผู้เรียน ซึ่งผลลัพธ์จะประสบผลสำเร็จได้ควรเริ่มตั้งต้นที่ครูผู้สอนที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียนและอีกปัจจัยที่สำคัญคือสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนจะต้องเอื้ออำนวยด้วย เช่น ห้องสมุด ตำรา บทความ การเข้าถึงในระบบอินเตอร์เน็ต ฯลฯ
การจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก เป็นกระบวนการหนึ่งที่ช่วยพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เพราะสามารถทำให้ผู้เรียนมีทักษะในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ พิจารณาข้อมูลที่เข้ามาว่าอยู่บนหลักฐานเชิงประจักษ์ มีความน่าเชื่อถือทั้งตัวเนื้อความ และแหล่งที่มาซึ่งจะพบว่าผู้เรียนในปัจจุบันของเราขาดสิ่งนี้ การรวบรวมข้อมูล การค้นหาข้อมูล และการฝึกการคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงและมีการประยุกต์ใช้จะทำให้เกิดการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงได้เป็นอย่างดี จากการเชิญรศ.พญ.วัลลี สัตยาศัยผู้ที่ใช้ PBL มานานกว่า 20 ปี ให้ความเห็นว่าการจัดการเรียนการสอนแบบ PBL ควรมีการบูรณาการทั้งหลักสูตรเพื่อที่จะให้ผู้เรียนมีเวลาในการศึกษา สังเคราะห์ความรู้ ซึ่งตรงกับการจัดการเรียนการสอนที่ McMaster University ที่ใช้การจัดการเรียนการสอนทั้งหลักสูตรโดยไม่มีการบรรยาย
การสอนโดยกระบวนการการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เป้นการสอนที่ต้องนำปัญหาที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ของผู้เรียนโดยตรงมาก่อน ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นหรือเป็นตัวนำทางให้ผู้เรียน ไปแสวงหาความรู้ความเข้าใจ ด้วยตนเอง เพื่อจะได้ค้นพบคำตอบของปัญหาดังกล่าว กระบวนการหาความรู้ด้วยตนเองนี้ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการแก้ไขปัญหาได้
ข้อดีของการเรียนรู้โดยการใช้ปัญหาเป็นหลักคือสามารถให้ผู้เรียนที่มีความแตกต่างทั้งวัยวุฒิ วิชาชีพ และพื้นฐานความรู้มาเรียนรู้ร่วมกันจากโจทย์ปัญหา ซึ่งจะเป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้มองเห็นวิธีการแก้ปัญหาที่แตกต่างไปจากสิ่งที่่คุ้นเคยหรือที่เคยปฏิบัติมา มีการเรียนรู้ร่วมกันและกัน ผู้เรียนจะเกิดทักษะการเป็นผู้เรียนที่เรียกว่า เป็น self-directed learner ซึ่งจะสามารถนำไปใช้ได้กับการปฏิบัติงานและการดำเนินชีวิต อย่างไรก็ตามการเตรียมแหล่งทรัพยากรสำหรับการค้นคว้าความรู้เพิ่มเติมเป็นสิ่งที่ต้องทำให้สมบูรณ์มากที่สุด
ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับสิ่งต่อไปนี้ คือ 1) คุณภาพของโจทย์ปัญหา (Scenario) ต้องชัดเจนและกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของผู้เรียน 2) การทำงานในกลุ่มย่อย ผู้เรียนต้องรู้หน้าที่และเป้าหมายในการทำกลุ่มย่อย 3) บทบาทของครูในกลุ่มย่อย (Facilitator) ครูต้องตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ที่ที่เป็นผู้เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ และ 4) สื่อ หนังสือ หรือทรัพยากรการเรียนรู้อื่น ๆ ควรมีมากพอต่อการค้นคว้าของผู้เรียน