แนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบโครงการ (Project- based learning) เป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน
แนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบโครงการ (Project- based learning) เป็นรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน
สรุปการถอดบทเรียนการจัดการความรู้
ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
ขั้นเตรียมการ
๑.? มอบหมายคณาจารย์ในภาควิชาฯ ทุกคนทบทวนแนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง ?การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต? และลักษณะรายวิชาทฤษฎีที่ภาควิชารับผิดชอบได้แก่การพยาบาลมารดา ทารกและผดุงครรภ์ ๑ และผลการดำเนินงานที่ผ่านมาทั้งจุดเด่นและอุปสรรคของการเรียนรู้แบบโครงการที่บูรณาการกับการบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมตลอดจนแนวทางการพัฒนา เพื่อนำมาเป็นแนวทางและปรับปรุงพัฒนาและประยุกต์ใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๗
๒. คณาจารย์ในภาควิชาฯ ทบทวนความรู้ร่วมกันเกี่ยวกับ การเรียนรู้แบบโครงการ (Project-based learning) เพื่อนำมาเป็นกรอบในการออกแบบการเรียนการสอนซึ่งจัดเป็นรูปแบบหนึ่งของ Active learning โดยศึกษาจากเอกสารรายงานการวิจัยของสุนันทา สุวรรณศิลป์และการสรุปบรรยายของ อ.ดร.วรรณวดี เนียมสกุล โดยสรุปแนวคิดรวบยอดเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบโครงการ (Project-based learning) ได้ดังนี้
การเรียนการสอนแบบโครงการเป็นการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดหัวข้อโครงการด้วยตนเอง ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง วิเคราะห์วิจารณ์ และบูรณาการองค์ความรู้ภายในขอบเขตเรื่องที่ศึกษา ทำให้ผู้เรียนเกิดผลการเรียนรู้อย่างหลากหลาย ก่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ทางสติปัญญา การพัฒนาการทางสุนทรียศาสตร์ การพัฒนาการทางสังคมและอารมณ์ การได้ฝึกเขียน เรียบเรียงความรู้ทำให้เกิดการเรียนรู้แบบนำตนเองเกิดขึ้น สามารถคิดแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ โดยมีขั้นตอนทั้งหมด ๖ ขั้นตอนดังต่อไปนี้
๑) การคิดและเลือกหัวข้อเรื่องการดำเนินงานตามขั้นตอน โดยผู้เรียนต้องตั้งต้นด้วยคำถามที่ว่า จะศึกษาอะไร ทำไมต้องศึกษาเรื่องดังกล่าว จากนั้นผู้เรียนต้องไปศึกษาค้นคว้า ทบทวนซึ่งจะใช้เวลาพอสมควรจึงจะได้หัวข้อจัดทำโครงการ
๒) การศึกษาเอกสารทบทวนวรรณกรรมตลอดจนพบผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เกี่ยวข้อง ปราชญ์ในเรื่องนั้น ๆ ?เพื่อให้ได้แนวคิดในการกำหนดขอบข่ายหรือเค้าโครงเรื่องที่จะศึกษา อาทิเช่น สิ่งที่จะทำ วัตถุประสงค์ ผลที่ได้รับ กระบวนการ ทรัพยากร บุคลากรที่เกี่ยวข้อง การนำเสนอ เป็นต้น
๓) การเขียนเค้าโครงการเป็นการสร้างแผนที่ความคิด โดยนำภาพของงานและภาพความสำเร็จของโครงการมาจัดทำรายละเอียดแสดงแนวคิด แผนและขั้นตอน โดยใช้การระดมสมอง การทำงานเป็นกลุ่ม ในขั้นตอนนี้ จะได้หัวข้อคือ ชื่อโครงการ ทำอะไร กับใคร เพื่ออะไร ชื่อผู้จัดทำโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการ ชื่อที่ปรึกษาโครงการ ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่เริ่มต้นจะเสร็จสิ้น หลักการและเหตุผล ขั้นตอนการดำเนินงาน กิจกรรม วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ กำหนดการปฏิบัติโครงการ วัน เวลา กิจกรรมดำเนินการ ผลที่คาดว่าจะได้รับ เอกสารอ้างอิง
๔) การปฏิบัติโครงการ หลังได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ผู้เรียนลงมือปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ในโครงการ โดยระหว่างลงมือปฏิบัติตามแผนงานนั้นผู้เรียนต้องมีการสังเกต จดบันทึกว่ามีจุดเด่นหรือปัญหาอุปสรรคใดบ้าง เพื่อนำมาปรับปรุงในโอกาสต่อไป
๕) การเขียนสรุปรายงานผล ได้แก่ บทคัดย่อ ผลการศึกษา บทนำ สรุปและอภิปรายผล เอกสารที่เกี่ยวข้อง ข้อเสนอแนะ เพื่อให้ผู้เรียนได้จัดระเบียบความคิดและวิธีการปฏิบัติว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่ มิสิ่งใดที่ต้องการพัฒนาปรับปรุง
๖) การแสดงผลงานเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำโครงการ เป็นการนำเสนอผลทั้งหมดให้ผู้อื่นได้รับทราบ ผลผลิตจากโครงการเป็นอะไรบ้าง ทั้งนี้อาจนำเสนอเป็นนิทรรศการหรือด้วยวาจา
๓. คณาจารย์ในภาควิชา ฯ ร่วมกันออกแบบการเรียนการสอนภาคทฤษฎีโดยจัดทำแบบฟอร์มการเขียนโครงการบริการวิชาการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ ผู้คลอดและมารดาหลังคลอด ได้แก่ ชื่อโครงการ ผู้รับผิดชอบ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์การเรียนรู้ ขั้นตอนการดำเนินการ กลุ่มเป้าหมาย ระยะเวลา สถานที่ดำเนินโครงการ งบประมาณ การประเมินผลโครงการ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ และลงชื่อผู้จัดทำโครงการและผู้อนุมัติโครงการ การจัดตารางเวลาสำหรับพบอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นระยะ ๆ เพื่อมอบให้นักศึกษาในวันเปิดภาคเรียนในการปฐมนิเทศรายวิชา
๔. ผู้รับผิดชอบรายวิชานำผลการออกแบบการเรียนการสอนร่วมกันของคณาจารย์ในภาควิชาฯ ลงในรายละเอียดประสบการณ์ภาคสนาม (มคอ. ๓) และ Course outline ของรายวิชาอย่างครบถ้วน
ขั้นดำเนินการ
โดยการเตรียมความพร้อมนักศึกษาตามแนวปฏิบัติที่ดีและคณาจารย์ที่สอนภาคทฤษฎี
วางแผนการดำเนินการสอนแบบโครงการตามที่ได้ออกแบบการเรียนการสอนแบบ Active learning ไว้อย่างครบถ้วน อาทิเช่น การชี้แจงรายละเอียดการเรียนรู้แบบโครงการ การมาพบอาจารย์ที่ปรึกษา การจัดทำโครงการตามรูปแบบและส่งโครงการตามเวลาที่กำหนด เป็นต้น
ขั้นสรุปและประเมินผล
การประเมินผลการจัดทำโครงการประกอบไปด้วยรายการประเมิน ๑๐ รายการ ได้แก่ ความเหมาะสมของโครงการที่บูรณาการการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการส่งเสริมสุขภาพมารดาทารก การเขียนโครงงานเหมาะสม ประโยชน์ของโครงการ ความประหยัดด้านทรัพยากรและงบประมาณในโครงการ ความรับผิดชอบในการทำงาน การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ความตรงต่อเวลาและความสม่ำเสมอในการพบอาจารย์ที่ปรึกษา การนำเสนอโครงงานและการสรุปโครงการ
อ้างอิงความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบโครงการจาก สุนันทา สุวรรณศิลป์. (๒๕๔๗). รายงานวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการเรียนรู้โดยโครงการในวิชาไทยศึกษาของนักศึกษาพยาบาล (ต่อเนื่อง) รุ่นที่ ๑๓. วิทยาลัยพพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี: ราชบุรี.
คณาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์
ผู้ถอดบทเรียน
๕ ก.ย. ๕๗
การที่นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริงในการเรียนรู้แบบโครงการ (Project-based learning) เป็นการเริ่มต้นที่ดีในการเรียนรู้ที่จะกระตุ้นให้นักศึกษาคิดและจัดการองค์ความรู้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้นักศึกษามีความรับผิดชอบและกระตืนรือร้นในกระบวนการกลุ่มอีกด้วย
กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบโครงการ (Project- based learning)ในการให้นักศึกษาได้ปฏิบัติจริงทำให้นักศึกษาเกิดกระบวนการเรียนรู้ที่กระตุ้นการคิดอย่างเป็นระบบบนพื้นฐานองค์ความรู้ที่ได้เรียนรู้และศึกษาอย่างแท้จริงรวมกับการบูรณาการกับการบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมได้อย่างเป็นสมบูรณ์
การเรียนรู้แบบโครงการ (Project-based learning) เป็นการให้นักศึกษาเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ มีการคิดและจัดการองค์ความรู้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังทำให้นักศึกษามีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น
เป็นการเรียนการสอนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างชัดเจน ตั้งแต่การออกแบบและในทุก
ขั้นตอน ทําให้ผู้เรียนมีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับการเรียนการสอนอย่างแท้จริง
การเรียนการสอนแบบโครงการเป็นการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดหัวข้อโครงการด้วยตนเอง ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียนเกิดผลการเรียนรู้อย่างหลากหลาย
กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning เป็นการเรียนรู้ที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการคิดทุกกระบวนการและโครงการอย่างแท้จริง ทำให้ผู้เรียนเกิดผลการเรียนรู้อย่างหลากหลาย ก่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ทางสติปัญญา การพัฒนาการทางสุนทรียศาสตร์ การพัฒนาการทางสังคมและอารมณ์
กระบวนการเรียนแบบ ACTIVE LEARNING ขึ้นกับปัจจัย 3 ด้านคือ ด้านผู้เรียน ความมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอน มีความมุ่งมั่นตั้งใจอยากพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แก่ผู้เรียน ด้านผู้เรียน มีทัศนคติต่อการเรียน โดยไม่คิดว่าเป็นการสร้างภาระแก่ตนเอง ด้านสิ่งสนับสนุนการรียนรู้ ห้องสมุดและสื่อเทคโนโลยีต้องมีความรวดเร็ว พร้อมใช้
การเรียนแบบโครงการนับเป็น การเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนได้ฝึกคิด ค้นคว้า ลงมือทำด้วยตนเองทุกขั้นตอนจึงเป็นการฝึกทักษะครบทั้งฟัง พูด อ่าน เขียนซึ่งเป็นหัวใจนักปราชญ์ในการเรียนรู้อย่างแท้จริง
การเรียนแบบโครงการนับเป็น เป็นการฝึกทักษะครบทั้งฟัง พูด อ่าน เขียนซึ่งเป็นหัวใจนักปราชญ์ในการเรียนรู้อย่างแท้จริง
การเรียนรู้ตามแนวทางของ Active Learning ผู้สอนลดบทบาทลงในการสอน และการให้ข้อความรู้แก่ผู้เรียนโดยตรงแต่ไปเพิ่มกระบวนการและกิจกรรมที่จะทำให้ผู้เรียน เกิดความกระตือรือร้นในการจะทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ช่วยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสวงหาคำตอบจากสิ่งที่ตนเองสนใจ ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม และเป็นการผสมผสานการเรียนรู้หลายเทคนิค เช่นฝึกคิด แก้ปัญหาที่เป็นกระบวนการ ช่วยให้นักศึกษาคิดหาคำตอบได้อย่างเป็นขั้นตอน
กระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning เป็นการให้นักศึกษาเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ เพิ่มกระบวนการและกิจกรรมที่จะทำให้ผู้เรียน เกิดความกระตือรือร้นในการจะทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้นักศึกษามีความรับผิดชอบและกระตืนรือร้นในกระบวนการกลุ่มอีกด้วย
การเรียนรู้ด้วยโครงงาน(Project- based learning) เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญรูปแบบหนึ่ง ที่เป็นการให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงในลักษณะของการศึกษา สำรวจ ค้นคว้า ทดลอง ประดิษฐ์คิดค้น โดยครูเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ให้ความรู้เป็นผู้อำนวยความสะดวกหรือผู้ให้คำแนะนำ ทำหน้าที่ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทำงานเป็นทีม กระตุ้น แนะนำ และให้คำปรึกษา เพื่อให้โครงการสำเร็จลุล่วง
การกระตุ้นให้นักศึกษาได้คิด ทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง โดยครูลดบทบาทในการเป็นเจ้าของเนื้อหาลง เพิ่มบทบาทการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มากขึ้น เป็นวิธีที่น่าสนใจ ถ้าสามารถทำวิจัยในชั้นเรียนได้จะเกิดประโยชน์อย่างสูงค่ะ
มีอีกมุมมองที่ขอร่วมแชร์ การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยศรีปทุม มีลักษณะเด่นร่วมกันคือ การใช้ Social Media หรือ New Media มาเป็นสื่อการสอน ช่องการการติดต่อสื่อการกับนักศึกษา และช่วยเสริมในเนื้อหาที่ผู้เรียนยังขาดความเข้าใจอาทิ การใช้ Facebook Web Blong และ e ? Learning เป็นต้น
ขออนุญาติแสดงความคิดเห็น การเรียนรู้ตามแนวทางของ Active learning ส่งผลต่อบทบาทของผู้สอนที่เปลี่ยนจากผู้สอนเป็นผู้ให้คำปรึกษาชี้แนะ เนื่องจากปัจจุบัน ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร ส่งผลต่อรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น การสืบค้นข้อมูลทาง Internet ผ่าน “Websit”
การจัดการเรียนการสอนแบบนี้เป็นการพัฒนานักศึกษาให้มีกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ โดยเริ่มจากการที่นักศึกษาได้เกิดความสนใจในประเด็นในการศึกษารวมตั้งได้มีการดำเนินการศึกษาด้วยตนเองทุกขั้นตอน และมีการตรวจสอบองค์ความรู้ที่ีได้รับจากการทบทวนวรรณกรรม นับว่าเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่เรียนรู้ด้วยตนเองที่ดีเยี่ยมครับ ถือได้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการตกผลึกองค์ความรู้ของนักศึกษาที่เราสามารถนำมาสังเคราะห์ในการจัดทำเป็นหลักฐานที่วิชาการได้ ในส่วนกระบวนการจัดการเรียนการสอนเราสามารถนำมาเรียบเรียงและสกัดออกมาเป็นนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาได้มีการเรียนรู้ที่ชัดเจนยิ่งขึ้นครับ
การจตัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อบรรยากาศการเรียนรู้ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นที่อยากจะเรียนรู้ จะก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างแท้จริง
เคยได้จัดการเรียนการสอนแบบโครงการเป็นฐาน ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวชุมชน 1 ในเรื่องการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและแก้ไขปัญหาสุขภาพเด็กวัยเรียน และได้ประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาพบว่า
1.โครงการหรือโครงงานเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับบริบทจริง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริง
2.การให้ผู้เรียนทำโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เข้าสู่กระบวนการสืบสอบ(process of inquiry)ซึ่งเป็นการใช้กระบวนการคิดขั้นสูง
3.การจัดการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานช่วยให้ผู้เรียนได้ผลิตงานที่เป็นรูปธรรมออกมา
4.สามารถช่วยดึงศักยภาพต่าง ๆ ที่มีอยู่ในตัวของผู้เรียนออกมาใช้ประโยชน์
5.ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าและลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยความสนใจ
การจัดการเรียนการสอนแบบโครงการ เป็นการกระตุ้นผู้เรียนให้มีการศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง และช่วยฝึกทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์และเชิงสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ลงสู่การปฏิบัติในสถานการณ์จริง รวมถึงพัฒนาทักษะการตัดสินใจและแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในสถานการณ์นั้น ๆ ได้
นอกจากนี้ยังฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม ภาวะผู้นำ รวมถึงการติดต่อประสานงานที่ช่วยให้นักศึกษาสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ เป็นพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้ใน มคอ 3 และมคอ 2 ได้เป็นอย่างดี
การเรียนการสอนแบบactive learing เป็นการเรียนการสอนที่มีรูปแบบของการมีส่วนร่วมของนักศึกษา โดยควรเริ่มตั้งแต่การวางแผน และขั้นตอนการปฏิบัติ ทําให้ผู้เรียนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอน