วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์สรุปแนวทางการปฏิบัติที่ดี (Best Practice)?การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติในคลินิก สำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต?
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
สรุปแนวทางการปฏิบัติที่ดี (Best Practice)
?การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติในคลินิก สำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต?
——————————————————————————
ขั้นตอนการดำเนินงาน
๑. การเตรียมความพร้อมของนักศึกษา
๑.๑ สร้างความเชื่อมั่นและลดความเครียดในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาก่อนการปฏิบัติจริงบนคลินิก ดังนี้
๑.๑.๑ ประเมินสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดแก่นักศึกษา ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น ๙ ประเภท ได้แก่ ๑) ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ๒) มีความรู้และประสบการณ์ไม่เพียงพอ ๓) การปรับตัวและการจัดการกับปัญหาที่ไม่มีประสิทธิภาพ ๔) ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลงหรือถูกคุกคาม ๕) ทัศนคติที่ไม่ดีต่อการฝึกปฏิบัติ ๖) อาจารย์นิเทศ ๗) บุคลากรบนหอผู้ป่วย ๘) เพื่อน และ ๙) สถานที่และสิ่งแวดล้อม
๑.๑.๒ จัดการหรือแก้ไขสถานการณ์อันจะก่อให้เกิดความเครียดแก่นักศึกษาให้ลดลง ดังนี้
๑) มีการประชุมปรึกษาระหว่างอาจารย์นิเทศ ฝ่ายการพยาบาล เพื่อชี้แจงถึงขอบเขตความสามารถของนักศึกษา ลักษณะงานที่นักศึกษาสามารถทำได้ และร่วมกำหนดแนวทางในการสอนภาคปฏิบัติให้เป็นในทิศทางเดียวกัน
๒) ปฐมนิเทศการฝึกปฏิบัติการพยาบาลแก่นักศึกษา เพื่อชี้แจงรายวิชา ขอบเขตความสามารถของนักศึกษาและลักษณะงานที่นักศึกษาสามารถทำได้ และร่วมกำหนดแนวทางและประสบการณ์การเรียนรู้ในฝึกภาคปฏิบัติ
๓) มีการจัดทบทวนความรู้ ทักษะ หรือวิธีปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานหรืออื่นๆ ที่จำเป็นก่อนการปฏิบัติจริงบนคลินิก ตลอดจนการเพิ่มทักษะการบริหารเวลา และวิธีการจัดการความเครียดให้กับนักศึกษา
๔) แนะนำสถานที่ ลักษณะการทำงาน บุคลากรบนหอผู้ป่วย และสิ่งแวดล้อมต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาเกิดความคุ้นเคย และรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงาน
๕) การมอบหมายงานให้นักศึกษา ควรมีความเหมาะสมไม่มากหรือน้อยเกินไป และให้นักศึกษามีเวลาในการทบทวนบทเรียน และใช้ชีวิตด้านอื่นๆ อย่างสมดุล
๖) อาจารย์นิเทศควรมีบุคลิกภาพที่เอื้ออาทร มีความเป็นกันเอง เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ซักถาม รับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา ให้ข้อมูลย้อนกลับเป็นระยะ ให้คำชื่นชมเมื่อนักศึกษาทำถูก ไม่ตำหนินักศึกษาต่อหน้าบุคลากรอื่นหรือผู้ป่วยและญาติ
๗) อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา ควรนำเสนอผลการประเมินรายวิชาในประเด็นปัญหาและอุปสรรคการฝึกปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาบนหอผู้ป่วยให้ฝ่ายการพยาบาล หัวหน้าหอผู้ป่วย พยาบาลพี่เลี้ยงแหล่งฝึกได้รับทราบ เพื่อจะได้ให้การช่วยเหลือปรับปรุงลักษณะการทำงานร่วมกันบนหอผู้ป่วย
๑.๒ จัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎีรายวิชาทางการพยาบาลที่มุ่งเน้นให้นักศึกษา มีประสบการณ์ตรงหรือประสบการณ์การเรียนรู้เสมือนจริง เช่น
๑) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบนักศึกษามีส่วนร่วม โดยกำหนดให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จำลองที่เสมือนจริงกับการปฏิบัติบนหอผู้ป่วย เช่น มีหุ่นสาธิต มีอุปกรณ์ที่สามารถใช้ได้จริง มีสถานการณ์จำลองและบุคลาการแสดงตามบทบาทสมมุติเหมือนหอผู้ป่วย
๒) ประสานกับแหล่งฝึกปฏิบัติบนคลินิก เพื่อให้นักศึกษาได้ไปสังเกตการณ์การปฏิบัติการพยาบาลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม
๓) ใช้สื่อการเรียนที่หลากหลาย ซึ่งนักศึกษาสามารถเข้าถึงได้ง่าย สามารถศึกษาค้นคว้าหรือฝึกเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
๒. การสอนภาคปฏิบัติ
๒.๑ มอบหมายผู้ป่วยในความดูแลกับนักศึกษาตามความเหมาะสม โดยกำหนดให้นักศึกษาศึกษาข้อมูลผู้ป่วยในความดูแลล่วงหน้าอย่างน้อย ๑ วัน ดูแลต่อเนื่อง อย่างน้อย ๓ วัน
๒.๒ กำหนดเวลาให้นักศึกษาขึ้นฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วย ก่อนเวลาอย่างน้อย ๓๐ นาที เพื่อศึกษาและติดตามประเมินสภาพผู้ป่วยและแผนการรักษาพยาบาลผู้ป่วยในความดูแลอย่างต่อเนื่อง
๒.๓ อาจารย์นิเทศให้ขึ้นไปบนหอผู้ป่วยให้ทันรับฟังการส่งเวรพร้อมกับนักศึกษา ซึ่งจะทำให้อาจารย์รับทราบรายละเอียดข้อมูลผู้ป่วยที่เป็นปัจจุบัน มีประโยชน์ต่อการ แนะนำหรือเน้นย้ำนักศึกษาเกี่ยวกับการวางแผนการพยาบาลผู้ป่วยในความดูแลอย่างถูกต้อง เหมาะสม ในช่วงเวลา Pre conference
๒.๔ ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการเชื่อมโยงความรู้ภาคทฤษฎีสู่การปฏิบัติแก่นักศึกษาพยาบาล โดยกิจกรรม ?Nursing round? กับนักศึกษารายบุคคล ซึ่งเป็นกระบวนการที่ส่งเสริมให้นักศึกษาได้ศึกษาข้อผู้ป่วยกรณีศึกษาโดยละเอียด ทั้งข้อมูลปฐมภูมิและ ทุติภูมิ ตลอดจนทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเชิงทฤษฎีและวิเคราะห์เปรียบเทียบกับสภาพการณ์ของผู้ป่วยจริง จากนั้นจึงนำข้อสรุปของตนเองมานำเสนอและร่วมอภิปรายกับอาจารย์นิเทศภายใต้บรรยากาศแบบกัลยาณมิตร
๒.๕ อาจารย์ควรแสดงพฤติกรรมการสอนภาคปฏิบัติและส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ภาคปฏิบัติให้เกิดขึ้นอย่างเอื้ออาทร ซึ่งพฤติกรรมการสอนอย่างเอื้ออาทรจะช่วยส่งเสริมความอยากรู้อยากเรียนอย่างต่อเนื่อง ไม่รู้สึกว่าถูกคุกคามเกิดขึ้น ส่งผลให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข
๓. การวัดและประเมินผลการเรียนการสอนภาคปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการ ทวนสอบการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลรายวิชา โดยอาจารย์ผู้ร่วมสอน ก่อนการตัดสิน และให้เกรดแก่นักศึกษาทุกครั้ง
กลุ่มงานวิจัย บริการวิชาการและวิเทศสัมพันธ์
แนวปฏิบัติที่ดีในการสอนภาคปฏิบัติในคลินิค ผู้สอนควรมีการศึกษาสถานการณ์จริงในคลินิค ณ เวลานั้น เพื่อนำมากำหนดเป็นสถานการณ์ให้นักศึกษาได้เกิดการเรียนรู้ วิเคราะห์ จากข้อมูลที่มีอยู่จริง โดยผู้สอนนำมาเขียนไว้ในแผนการสอน ทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการฝึกภาคปฏิบัติในขณะนั้นด้วย
การเตรียมความพร้อมให้กับนศ.ก่อนมีการขึ้นฝึกภาคปฏิบัติจะช่วยลดความวิตกกังวลให้นศ.ได้และยังช่วยเสริมเสร้างความมั่นใจในการปฏิบัติงาน ส่วนในด้านของอาจารย์ผู้สอนควรมีการประชุมสำหรับอาจารย์ผู้ร่วมสอน(ในกรณีที่มีอาจารย์สอนหลายคน)เพื่อกำหนดแนวทางการเรียนการสอนและการวัดประเมินผลไปในทางเดียวกัน ทั้งนี้นศ.จะเป็นผู้ได้รับประโยชน์สูงสุด
จากการนิเทศภาคปฏิบัติแผนกห้องคลอดพบว่าที่ผ่านมาความเครียดของนักศึกษามีผลต่อการฝึกปฏิบัติและทัศนคติของนักศึกษาเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเรื่องของความไม่รู้ การจิตนาการ การรับรู้สื่อต่างๆ ที่ไม่ดีเกี่ยวกับห้องคลอด การคลอด ทำให้นักศึกษาเกิดความเครียดก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติ ทางภาควิชาจึงได้จัดการเรียนรู้โดยการให้นักศึกษาได้ไปเห็นสถานการณ์จริงในการสังเกตการคลอดที่ห้องคลอดและการทำงาน ระบบของห้องคลอดในรายวิชาภาคทฤษฎีการพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์ 1 แล้วเขียนเล่าประสบการณ์และความรู้สึกส่งพบว่านักศึกษามีความรู้สึกที่ดี เห็นบรรยากาศความเอื้ออาทรของแม่ลูก พยาบาลและผู้คลอด เห็นสถานการณ์จริง ห้องคลอดจริง และบางคนนักศึกษาบอกว่าชอบและอยากเป็นพยาบาลห้องคลอด ซึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนให้เห็นสภาพจริงก่อนการต้องไปขึ้นฝึกปฏิบัติในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์ 1 ซึ่งทำให้นักศึกษาลดความเครียดลงได้ทางหนึ่ง
สำหรับวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 ได้มีการเตรียมนักศึกษาก่อนออกชุมชน โดยอาจารย์ประจำวิชาได้เดินทางไปดูพื้นการฝึกงานด้วยตนเอง ร่วมประสานงานกับอาจารย์พี่เล้ียง และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ในการการจัดเตรียมงบประมาณให้ ร่วมทั้งมีการเชิญอาจารย์พี่เลี้ยง มาพบกับนักศึกษาในวิทยาลัยฯเพื่อเป็นการสร้างสัมพันธธ์ภาพกับนักศึกษา ซึ่งช่วยในการลดความเครียดของนักศึกษาในการลงฝึกงานในชุมชน และการอ่านบันทึกกเรียนรู้ของนักศึกษาจะช่วยให้อาจารย์เข้าใจความกังวลที่นักศึกษาไม่กล้าบอกอาจารย์โดยตรง อาจารย์ก็จะสามารถช่วย นักศึกษาได้
การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติในคลินิก โดยมีการเตรียมความพร้อมจะทำให้ลดความเครียดของนักศึกษามีผลต่อการฝึกปฏิบัติและปรับทัศนคติของนักศึกษาให้พร้อมในการเรียนการสอน ซึ่งในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์ 1 มีการออกแบบให้ นศ.เห็นสภาพจริงทั้งระบบการทำงานและบรรยากาศของการทำงานของห้องคลอด ทำให้พร้อมกับการเรียนรู้ที่ดี
การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติในคลินิก ผู้สอนมีการเตรียมความพร้อมของ นศ.จะส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ภาคปฏิบัติให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และลดความเครียดของนักศึกษามีผลต่อการฝึกปฏิบัติและปรับทัศนคติที่ดีให้กับ นศ.
การเตรียมความพร้อมของ นศ.ในการฝึกภาคปฏิบัติแผนกห้องคลอดเน้นสถานการณ์จริงและระบบการทำงาน พบว่าที่ผ่านมาช่วยลดความเครียดของนักศึกษามีผลต่อการฝึกปฏิบัติและเพิ่มทัศนคติที่ดีของนักศึกษา
การจัดการเรียนการสอนในรายวิชาภาคปฏิบัติ เพื่อให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรส่งเสริมให้นักศึกษาเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยอาจศึกษาข้อมูลจริงจากกรณีศึกษา และให้นักศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษาเชื่อมโยงกับทฤษฎี
วิชา การพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์ 1 ได้มีการเตรียมความพร้อมนิเทศภาคปฏิบัติแผนกห้องคลอด ด้วยการเรียนรู้จากสภาพการณ์จริง การเขียนสะท้อนความรู้สึกในการสังเกตการณ์ทำให้นศ.มีการเตรียมทั้งความรู้และจิตใจ ที่จะส่งเสริมความอยากรู้อยากเรียนอย่างต่อเนื่อง
ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ ได้นำแนวปฏิบัติที่ดีในการเตรียมความพร้อมนักศึกษาเพื่อสร้างเสริมทักษะกับสถานการณ์จำลองก่อนนำไปสู่การปฏิบัติจริงบนคลินิก ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ ในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๖ ได้แก่ แผนกฝากครรภ์ ได้จัดให้นักศึกษาได้แสดงบทบาทสมมติการเป็นพยาบาลในจุดซักประวัติหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ก่อนขึ้นฝึกจริงบนคลินิก พบว่าเมื่อนักศึกษาได้ไปซักประวัติกับหญิงตั้งครรภ์จริง นักศึกษาลดความประหม่า ความเครียดลง และสามารถสร้างคำถามที่ทำให้ได้รับข้อมูลมาบันทึกในบัตรบันทึกสุขภาพมารดาขณะตั้งครรภ์ได้อย่างครบถ้วนมากขึ้น
วิชา การพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์1 ได้มีการเตรียมความพร้อมนิเทศภาคปฏิบัติแผนกห้องคลอด ด้วยการเรียนรู้จากสภาพการณ์จริง การเขียนสะท้อนความรู้สึกในการสังเกตการณ์ทำให้ นศ.มีการเตรียมความรู้และจิตใจ ที่จะส่งเสริมความอยากรู้อยากเรียนอย่างต่อเนื่อง
ประเด็นที่สำคัญสำหรับการจัดการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติ คือเรื่องการเตรียมนักศึกษา ด้วยวิธี Pre Clinic ก่อนขึ้นฝึกจริง การวัดประเมินผล และการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ มีความสำคัญเช่นกัน ซึ่งทีมผู้สอนและผู้รับผิดชอบรายวิชาควรต้องอภิปรายให้ลึกซึ่ง นักศึกษาต้องมีพฤติกรรมการเรียนรู้อะไรบ้าง จึงจะผ่านการฝึกประสบการณ์รายวิชานั้น ๆ เกณฑ์การตัดสินผลการเรียนรู้ (เกรด) การทำ Pre-Post Test ควรทำเป็น OSCE หรือเป็นปรนัย ถ้าไม่ผ่าน Pre test ควรให้ขึ้นฝึกหรือไม่ หรือต้องมาสอบซ่อมเสริมให้ผ่าน ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษามีความพร้อมในด้านความรู้ก่อนขึ้นฝึกงาน เครื่องมือที่ใช้วัดพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน จะเป็น Check list Rubic score หรือเป็นแบบ Productive-reproductive skill ที่ใช้สำหรับการวัดพฤติกรรมในการปฏิบัติงาน (ของ CITO Netherland)
การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติมีความสําคัญอย่างยิ่งของการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความมั่นใจในการปฏิบัติงาน การเตรียมความพร้อมของนักศึกษาสําหรับภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ นั้นเน้นการเตรียมความรู้ได้แก่ การปฐฒนิเทศให้นักศึกษาเตรียมพร้อมในทุกๆด้าน สิ่งที่น.ศต้องศึกษาค้นคว้า ทบทวน การpre-post test การฝึกปฏิบัติ(check out lab)ในการปฏิบัติการพยาบาลที่สําคัญก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติจริง ซึ่งจะทําให้น.ศ เกิดความมั่นใจในการปฏิบัติงาน
การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ ที่ทำให้ นศ.มีการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ คือ การเตรียมความพร้อมก่อนการฝึก โดยการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงเชื่อมโยงสู่ทฤษฎี ซึ่งในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์ 1ก็ได้นำมาใช้ในการเรียนการสอนภาคปฏิบัติทำให้นศ.พร้อมในการขึ้นฝึกปฏิบัติ
การเตรียมตัวนักศึกษาก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วย ควรมีการเปิดให้นักศึกษามีโอกาสทบทวนความรู้ก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วย ในช่วงภาคฤดูร้อนตามความสมัครใจ โดยอาจจะมีพยาบาลพี่เลี้ยงที่อยู่ในหอผู้ป่วยเป็นผู้ทบทวนความรู้ใน procedures ต่างๆ ให้นักศึกษา ใช้เวลาคนละ 1 ? 2 สัปดาห์
และนักศึกษาสามารถขอเปิดใช้ห้อง LRC เพื่อฝึกทบทวน procedures ต่างๆได้โดยรวมกลุ่มนักศึกษาให้ได้ตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป สำหรับรายวิชาภาคปฏิบัติ การเตรียมความพร้อมของนักศึกษาก่อนฝึกปฏิบัติจริงในหอผู้ป่วย อาจารย์ควรคัดเลือกผู้ป่วยเพื่อเป็น model case ในการสาธิตให้นักศึกษาดูก่อน โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย การซักประวัติและการตรวจร่างกาย การสอนให้นักศึกษาทำการศึกษาข้อมูลต่างๆของผู้ป่วยจาก chart ผู้ป่วย อธิบายให้นักศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงานต่างๆ บนหอผู้ป่วย มอบหมายให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติ เป็นต้น
จากบทความวิชการพบว่า ความเครียดเกิดจาก สถานการณ์หรือเหตุการณ์ใด ๆ ก็ตาม ที่ผลักดันให้ร่างกายและจิตใจผิดไปจากเดิม ทำให้ไม่สบายใจ วิตกกังวล การขึ้นฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วย นับเป็นอีกหนึ่งอย่างที่เป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดความเครียดหรือความวิตกกังวลได้ การเตรียมความพร้อม ก่อนการขึ้นฝึกปฏิบัติงาน ถือเป็นกระบวนการที่ดี ที่ทำให้นักศึกษาเกิดความพร้อมทั้งด้านกร่างกายและจิตใจ ซึ่งส่งผลให้ มีการเรียนรู้ที่ดีขึ้นตามมารด้วย
การเตรียมความพร้อมก่อนการขึ้นฝึกภาคปฏิบัติจะช่วยลดความเครียด ความวิตกกังวลและยังช่วยลดทัศนคติด้านลบของนักศึกษาต่อการฝึกภาคปฏิบัติด้วย จากการเชิญพยาบาลจิตเวชผูู้ป่วยในมาปฐมนิเทศในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปํญหาทางจิต โดยการใช้วิดิทัศน์ให้นักเรียนเห็นสภาพของหอผู้ป่วย อาการของผู้ป่วย พบว่านักศึกษามีทัศนคติในด้านลบต่อผู้ป่วยจิตเวชลดลงด้วย
เพื่อความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาซึ่งกระบวนการเรียนการสอนที่ดี
มีประสิทธิภาพนั้นลักษณะของผู้เรียน เป็นตัวแปรสําคัญที่มีผลต่อการเลือกยุทธวิธีการสอน
ดังนั้นอาจารย์ควร จะเลือกวิธีสอน และกิจรรมที่สอดคล้องกับลัษณะของผู้เรียน โดยคํานึงถึงความแตกต่างระหว่าง บุคคลเพราะผู้เรียน ในแต่ละสถานภาพมีความแตกต่างกัน บางคนเรียน รู้ได้ดี จาการอ่านและค้นคว้าด้วยตนเองอาศัย เพียงคําแนะนําของอาจารย์ บางคนเรียนรู้ ได้ดี จากการอภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อน บางคนเรียนรู้ได้ดี จาการปฏิบัติจริง บางคนเรียน รู้ได้ดี จากการฟังบรรยายเป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของเดวิด คอล์บ
ที่กล่าวไว้ว่ารูปแบบการเรียนรู้ของแต่ละคนล้วนแตกต่างกัน ผู้เรียนจะเลือกรูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตามลักษณะเฉพาะของเขาเป็นหลัก ผู้เรียนจะมีความสามารถในการเรียนรู้วิธีการ เรียนรู้ซึ่งก็ คือรูปแบบารเรียนรู้ (Learning Style) ตามสถานภาพของผู้เรียนที่แตกต่างกันไป(Kolb, D.A & Rubin, 1992: 54-56)การค้นหาลีลาการเรียนรู้ของเด็กให้พบ แล้วใช้วิธีสอนให้สอดคล้องกับลีลาการเรียนรู้ ที่เด็กชอบมากที่สุด เช่น เด็กที่เรียนรู้ได้ดีทางสายตาครูพยายามให้เด็กได้อ่านมากๆ หรือเด็กที่เรียนรู้ได้ดี จาการเคลื่อนไหว ครูก็พยายามให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เป็นวิธีการหนึ่งที่ครูสามารถช่วยเหลือเด็กที่ มี ปัญหาในการเรียนรู้ได้
กลุ่ม K = Kinesthetic (Fleming, N.D. and Mills, C. 1992)
การใช้ประสบการณ์และการลงมือปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นในสถานการณ์จำลองหรือสถานการจริง หากว่ามีประสบการณ์จะกระตุ้นการเรียนรู้ทุกรูปแบบก็ตาม แต่สำหรับผู้ที่ชื่นชอบรูปแบบการเรียนรู้แบบนี้จะต้องเชื่อมโยงกับความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ตรงส่วนตัว ตัวอย่าง แบบจำลอง การลงมือปฏิบัติ หรือสถานการณ์จำลอง ทั้งนี้รวมถึง การสาธิต การจำลองสถานการณ์ด้วยภาพยนตร์ ละคร หรือกรณีศึกษา
ถ้าผู้เรียนป็นคนกลุ่ม K อาจารย์ผู้สอนจะต้องดำเนินการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ของผู้เรียนดังนี้
- สนุกสนานกับการค้นคว้า ทดลอง ลงมือปฎิบัติ การสาธิต และทัศนศึกษา
- จดจำได้ดีเมื่อมีการใช้อุปกรณ์ สร้างแบบจำลอง และจับต้องสิ่งที่กำลังเรียนรู้
- นั่งอยู่เฉยๆ นานๆ ไม่ได้ ชอบเดินไปมา และเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ- มีแนวโน้มเป็นนักสะสม
- พูดเร็ว และชอบแสดงท่าทางประกอบ- ชอบเล่นกีฬาหรือเครื่องดนตรี
- ชอบเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ มากกว่าเป็นผู้สังเกตการณ์- ปฏิบัติตามการสาธิตได้ดี
เป็นแนวทางการปฏิบัติที่ดีในการเตรียมนักศึกษาจริงๆค่ะ เพราะสามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกรายวิชาและกับนักศึกษาทุกชั้นปี ถ้ามีการนำแนวปฏิบัตินี้ไปใช้อย่างต่อเนื่อง น่าจะทำให้นักศึกษามีความมั่นใจในการฝึกภาคปฏิบัติ การฝึกน่าจะประสบความสำเร็จ และสร้างความประทับใจในการฝึกภาคปฏิบัติให้กับนักศึกษาได้