KM7ถอดบทเรียนการเสวนาในการจัดการความรู้ ( KM )

ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์

เรื่อง แนวทางการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติงานของนักศึกษา ครั้งที่ ๒

โดยเน้นกระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning

ณ ห้องประชุมภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ ?

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

ครั้งที่ ๑ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖

ครั้งที่ ๒ วันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๖

?

ผู้เข้าร่วมประชุม
๑. นางสาวสิตานันท์ ?? ??????? ศรีใจวงศ์ ????????? ประธาน
๒. นางสาววรรณวดี??? ?????? เนียมสกุล
๓. นางสาวศศมน ?????? ??????? ศรีสุทธิศักดิ์
๔. นางภิญญารัช ?????? ??????? บรรเจิดพงศ์ชัย
๕. นางสาวอรทัย ?????? ??????? แซ่ตั้ง

๖. นางสาวดาราวรรณ ??????? ดีพร้อม
๗. นางสาวจิราพร ???? ??????? วิศิษฏ์โกศล ?????? เลขานุการ

เปิดประชุมเวลา ๑๓.๓๐ น.

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ทราบ

๑.?????????????? คณะกรรมการจัดการองค์ความรู้ของวิทยาลัยฯ ได้กำหนดประเด็นในการจัดการความรู้ให้สอดคล้องกับพันธกิจของวิทยาลัยฯ ด้านวิชาการ ๒ เรื่อง ได้แก่ การจัดการเรียนการสอนเพื่อเตรียมความพร้อมของนักศึกษาในการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพ และแนวทางพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ โดยในปีการศึกษา ๒๕๕๖ เน้นกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning

๒.????????????? แนวทางในการดำเนินงานเพื่อการจัดการองค์ความรู้เรื่อง? การจัดการเรียนการสอนเพื่อเตรียมความพร้อมของนักศึกษาในการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพ ทบทวนประสบการณ์เดิมเพื่อเสริมการบริหารจัดการใหม่ คือ

๒.๑ การแสวงหาความรู้
๒.๒ การวิเคราะห์ความรู้ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนา
๒.๓ การสังเคราะห์ความรู้
๒.๔ นำข้อมูลลง web blog ของวิทยาลัยฯและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
๒.๕ สรุปและจัดระเบียบความรู้

๒.๖ การแสดงผลงาน
๒.๗ การประยุกต์ใช้ความรู้

??????? ๓. ในรอบปีการศึกษา ๒๕๕๔-๒๕๕๕ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ได้มีการเสวนาในการจัดการองค์ความรู้ (KM) เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนเพื่อเตรียมความพร้อมของนักศึกษาในการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพ และแนวทางพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ ซึ่งภายหลังจากการนำองค์ความรู้มาเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติของนักศึกษาพบว่า นักศึกษาสามารถปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลสตรีในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และหลังคลอดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการประเมินของอาจารย์นิเทศ และอาจารย์พี่เลี้ยงแหล่งฝึก และในปีการศึกษา ๒๕๕๖ ภาควิชาควรจะมีการจัดการองค์ความรู้เพื่อพัฒนาแนวทางในการฝึกปฏิบัติของนักศึกษาให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยเน้นกระบวนการเรียนการสอนแบบ Active Learning?

?

วาระที่ ๒ ?รับรองรายงานการประชุม และเรื่องสืบเนื่อง

????????????? ไม่มี

?

วาระที่ ๓ เรื่องพิจารณา

๓.๑ การวิเคราะห์ความรู้และการสังเคราะห์ความรู้

ในขั้นตอนนี้ได้ให้อาจารย์ทุกท่านเสนอประสบการณ์การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเตรียมความพร้อมของนักศึกษาในการขึ้นฝึกปฏิบัติงานและการจัดการเรียนการสอน รูปแบบ เทคนิคการเรียนการสอน รวมทั้งเสนอปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างการฝึกปฏิบัติงานในรอบปีที่ผ่านมา

วิชา การพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑?

จุดเด่น

๑.??? มีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning? ในรูปแบบของการสอนแบบโครงงาน (Project-base learning) โดยมีการ บูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย และมีการจัดนิทรรศการ/โครงการบริการวิชาการเรื่อง ?แม่ลูกปลอดภัย ด้วยวิถีไทยและภูมิปัญญา? แก่สตรีวัยเจริญพันธุ์ สตรีในระยะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด โดยการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการส่งเสริมสุขภาพสตรีวัยเจริญพันธุ์

๒.?? มีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning? ในรูปแบบของการเขียนบันทึก (Keeping journals or logs) โดยมีการจัดให้นักศึกษาขึ้นสังเกตการณ์ทำคลอดที่โรงพยาบาลอุตรดิตถ์คนละ ๒-๓ ครั้ง ระหว่างเวลา ๑๘.๐๐-๒๐.๐๐ น. และจัดทำรายงานการสังเกตการณ์คลอด รวมถึงเขียนบันทึกเรื่องราวต่างๆ หรือประสบการณ์ที่ได้รับจากการสังเกตการคลอดส่งอาจารย์ประจำกลุ่ม โดยอาจารย์ประจำกลุ่มจะมีการอภิปรายกลุ่มย่อยเกี่ยวกับสิ่งที่ได้รับจากการขึ้นไปสังเกตการคลอด ปัญหาและอุปสรรคที่พบในระหว่างการขึ้นสังเกตการคลอด และอาจารย์ประจำกลุ่มให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทำรายงานการสังเกตการคลอด เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาก่อนการขึ้นฝึกปฏิบัติงานจริง

ปัญหาและแนวทางการปรับปรุงแก้ไข

๑.?? อาจารย์จะบรรยายและอภิปรายเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นอาจารย์ควรมีการสอนด้วยวิธีหลากหลายที่เน้นการมีส่วนร่วมของนักศึกษา

๒.?? เป็นเนื้อหาใหม่สำหรับนักศึกษา ดังนั้นจึงขอให้อาจารย์ใช้วิธีการบรรยายแบบมีส่วนร่วม? ร่วมกับวิธีการสอนแบบสาธิต?????? และสาธิตย้อนกลับ รวมทั้งการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

๓.? ศัพท์ที่เกี่ยวข้องทางด้านสูติศาสตร์มีจำนวนมาก และเป็นศัพท์ที่นักศึกษาไม่เคยเจอมาก่อน ดังนั้นจึงได้ทำเอกสารเฉพาะศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับสูติศาสตร์

๔.?? นักศึกษาไม่มีประสบการณ์ในการดูแลสตรีในระยะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด ภาควิชาจึงได้จัดทำ VCD และคู่มือเกี่ยวกับการตรวจครรภ์ การทำคลอดกับหุ่นไฟฟ้า การตรวจรก การอาบน้ำทารก และการตรวจร่างกายทารกแรกเกิด เพื่อให้นักศึกษาได้นำไปศึกษาด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning? ในรูปแบบของการเรียนรู้แบบทบทวนโดยผู้เรียน (student-led review sessions)

วิชา ปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๑

จุดเด่น

๑.?? แหล่งฝึกหลากหลายได้แก่ แผนกฝากครรภ์ ๒ สัปดาห์ แผนกห้องคลอด ๔ สัปดาห์ และแผนกหลังคลอด ๒ สัปดาห์ ที่โรงพยาบาลอุตรดิตถ์

๒.? มีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning? ในรูปแบบของการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (problem-base learning) โดยได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริงในการดูแลสตรีในระยะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด ?

๓.? มีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning? ในรูปแบบของการเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด (think-pair-share) โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักศึกษา อาจารย์นิเทศ อาจารย์พี่เลี้ยงแหล่งฝึก และสูติแพทย์? ?ทำให้ นศ.เกิดทักษะในการปฏิบัติการพยาบาลและได้รับความรู้เพิ่มขึ้น

๔.??? มีการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาโดยการจัดสอบก่อนและหลังฝึกปฏิบัติงานแต่ละแผนก และมีการแจกแผ่น VCD เรื่อง การตรวจครรภ์ การตรวจรก การทำคลอดกับหุ่นไฟฟ้า การตรวจร่างกายทารก และการอาบน้ำทารกแรกเกิดเพื่อให้นักศึกษา ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และจัด Clinical teaching เรื่องการใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลสตรีในระยะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด การประเมินความก้าวหน้าของการคลอด และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ??

๕.??? แผนกห้องคลอดจัดให้นักศึกษาขึ้นเวร เช้า บ่ายและดึก เพื่อให้ได้ประสบการณ์ครบ

๖.??? มีการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน โดยการเสวนาเกี่ยวกับความเชื่อในการดูแลสตรีในระยะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอดของแต่ละประเทศ โดยใช้ภาษาอังกฤษ

ปัญหาและแนวทางแก้ไข

๑.???? อาจารย์นิเทศภาระงานมาก เนื่องจากอาจารย์ทุกท่านมีภาระงานที่มากและมีหน้าที่ทั้งงานหลักคืองานด้านการสอนและงานบริหาร ซึ่งทุกคนจำเป็นต้องปฏิบัติหน้าที่ของตน ข้อนี้ไม่สามารถแก้ไขได้ ดังนั้นจึงจำเป็นที่อาจารย์ทุกท่านต้องบริหารจัดการเวลาเอง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการนิเทศการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา ?

วิชา การพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ ๒

?????? ?????? จุดเด่น

๑.??? มีการเชิญสูติแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาสอนในหัวข้อเกี่ยวกับโรคที่เกิดร่วมกับการตั้งครรภ์

๒.?? มีการมอบหมายให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มศึกษาค้นคว้าในหัวข้อการพยาบาลสตรีที่มีโรคร่วมกับการตั้งครรภ์

ปัญหาและแนวทางการแก้ไข

๑.?????????????? หลังจากการเรียนให้นักศึกษาสรุป mapping ทุกหัวข้อ อ. ไม่มีเวลาตรวจและ นศ.ประเมินว่างานมีจำนวนมาก แก้ไขโดยให้ นศ.สรุป mapping กลุ่มละ 2 concept และสังเคราะห์ความรู้และตั้งเป็นโจทย์ปัญหาและนำเสนอ อาจารย์พยาบาลสอนการพยาบาลตาม

๒.????????????? ?เนื้อหาค่อนข้างเยอะ อาจารย์จึงควรสอนให้นักศึกษาคิดเชิงซ้อนมากขึ้น โดยเอาสถานการณ์จริงที่เคยเจอบนหอผู้ป่วยมาใช้เป็นสถานการณ์ให้นักศึกษาวิเคราะห์

วิชา ปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ ๒

?????? ?????? จุดเด่น

๑.??? มีการนำตัวอย่างข้อสอบมาให้นศ. ฝึกวิเคราะห์ โดยให้นักศึกษาฝึกวิเคราะห์และหาเหตุผลเอง และมีอาจารย์ผู้นิเทศเป็นผู้ชี้แนะและเป็นที่ปรึกษา เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพ

๒.??? เน้นการจัดการเรียนการสอนแบบ bed side teaching เพื่อฝึกให้นักศึกษาวิเคราะห์ case กรณีศึกษา และสามารถวางแผนให้การพยาบาลได้จริง

๓.?? มีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning? ในรูปแบบของการเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด (think-pair-share) ?โดยมีการจัดเสวนาเกี่ยวกับการพยาบาลสตรีในระยะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอดที่มีภาวะแทรกซ้อน และมีโรคร่วมกับการตั้งครรภ์

ปัญหาและแนวทางการแก้ไข

๑.???? ระยะเวลาน้อย

๒.??? Case LR ไม่หลากหลายและการช่วยคลอดสูติศาสตร์หัตถการมีน้อย และขึ้นฝึกปฏิบัติงานพร้อมกับนักศึกษาแพทย์ แก้ไขโดยจัดให้นักศึกษา On call และมีการ oral test ในกรณีที่นักศึกษาไม่ได้ช่วยคลอดสูติศาสตร์หัตถการ

ข้อคิดจากอาจารย์

๑.???? การเรียนรู้จากประสบการณ์ทั้งข้อด้อย-ข้อดีเป็นสิ่งสำคัญ สภาพแวดล้อมการเรียนการสอนแต่ละปีแตกต่างกัน

๒.??? ข้อสอบของสภาการพยาบาลจะใช้วิธีคิด ๒-๓ ชั้น จะต้องเน้นให้พิจารณาให้ดี ถ้า นศ.คิดไม่เป็นระบบ จะต้องเน้นการฝึกคิดวิเคราะห์ให้เป็นระบบมากขึ้น ?

ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการสอบในปีการศึกษา ๒๕๕๕

๑. ?สิ่งที่ทำให้สอบผ่านวิชาผ่านการพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์ได้คือการทำmapping และการตรวจและสะท้อนกลับของอาจารย์ ทำให้เข้าใจและตั้งใจทำมากขึ้น แล้วใช้เวลาอ่าน จำเฉพาะ concept ซึ่งจะค่อนข้างเชื่อมโยงแต่สามารถจำได้ดีกว่าการอ่านหนังสือเนื่องจากเราได้ผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์และกรองออกมาในภาษาของตัวเราเอง

๒.??????????????????????? ทำข้อสอบไม่ทันเวลาเพราะตั้งใจมาก ไม่อยากผิดเลยทำให้ใช้เวลาในการทำข้อสอบแต่ละข้อนาน

๓.??????????????????????? รู้ว่าตัวเองเรียนไม่เก่ง ฟังคนอื่นไม่เข้าใจ ใช้วิธีทบทวนเองดีกว่า

๔.??????????????????????? ?ปัจจัยที่ช่วยให้สอบผ่านคือการเข้าติว เพราะเป็นการทบทวนสิ่งที่เรียนมา ถ้าได้มีการเตรียมตัวอ่านก่อนการเข้าติวแล้วจะเป็นประโยชน์อย่างมากถ้าไม่มีการอ่านหรือเตรียมตัวมาก่อนมาติวจะไม่ค่อยรู้เรื่องและเข้าใจมากนัก

๕.??????????????????????? ?ผลการสอบไม่ผ่านผดุงครรภ์ มาสอบ oral ตอบไม่ค่อยได้

๖. ?สิ่งที่ทำให้ผ่าน คือการอ่านบ่อยๆเพราะเป็นการทบทวนและเน้นให้จำและเข้าใจมากขึ้น

๗.????????????????????? ไม่ชอบอ่านหนังสือ ชอบฟังที่เพื่อนเล่า ใช้วิธีจับกลุ่มเล่าประสบการณ์ อ่านจากสรุปลายมือตัวเองจะเข้าใจมากขึ้น ถ้าไม่เข้าใจจะถามเพื่อน ถ้าเพื่อนตอบไม่เหมือนกันก็อ่านหนังสือ ทำข้อสอบของวิทยาลัยพบความหลากหลายของข้อสอบที่เนื้อหาเดียวกัน

๘.??????????????????????? ถ้ามีการติวตั้งแต่ปี ๓ จะได้ความรู้เต็มที่มากกว่าตอนที่มาเริ่มติวปี ๔ รู้สึกว่าได้ความรู้ครึ่งๆ กลางๆไม่เต็มที่

๙.?????????????????????? เอกสาร/ข้อสอบต่างๆได้จากร้านถ่ายเอกสารได้นำมาแลกเปลี่ยนจากวิทยาลัยอื่นๆซึ่งทำให้หลากหลาย

๑๐.?? การติวถ้าจัดทุกวันรู้สึกไม่อยากมา อยากอ่านเองบ้าง เลือกอาจารย์ที่จะเข้าฟัง อยากให้ติวทั้งเนื้อหาและข้อสอบสอนวิธีคิดในประเด็นต่างๆ

วิธีการจัดการเรียนการสอนที่ช่วยให้เข้าใจ

๑.?? การเรียนเป็นกลุ่มทำให้เห็นจุดอ่อนตัวเอง+ให้เพื่อนช่วยอธิบาย

๒.? อยากให้จัดฝึกกับเรียนควบคู่ไปด้วยกัน เจอ case แล้วมาถามจะเข้าใจมากยิ่งขึ้น

๓.? วิธีการสอน+สะท้อนกลับของอาจารย์แต่ละคนต่างกัน ถ้าได้แลกเปลี่ยนกับเพื่อนต่างกลุ่มจะเข้าใจมากขึ้น

๔.? การเห็นประสบการณ์บน ward จะดีกว่าสอนบรรยาย

๓.๒ สรุปประเด็นความรู้ที่ได้

ผลการจัดการความรู้ในภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์เรื่องแนวทางการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ มีประเด็นดังนี้

๑.???? ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประชุมกลุ่มย่อยระหว่างอาจารย์ผู้ร่วมสอนและร่วมนิเทศเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง

๒.??? การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติควรเน้นการวิเคราะห์กรณีศึกษา ?โดยเน้นการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ

๓.??? อาจารย์ผู้นิเทศควรดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิด และหากติดภารกิจอื่นๆ ควรติดตามผลการเรียนรู้ของนักศึกษาเพื่อดูพัฒนาการของผู้เรียนและจะได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง

๔. ในการฝึกปฏิบัติงาน ควรมีการอภิปรายกลุ่มย่อย ก่อนและหลังการฝึกปฏิบัติงานทุกวันและมอบหมายให้นักศึกษาเขียน Reflextive thinking เพื่อเป็นการสะท้อนคิดการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาและเพื่อเป็นการทำให้อาจารย์นิเทศทราบถึงปัญหาและอุปสรรคในระหว่างการฝึกปฏิบัติงาน

?

?

?

?

สรุป

แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่เน้น

การเรียนการสอนแบบ Active Learning เป็นกระบวนการในจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องมีโอกาสลงมือกระทำมากกว่าการฟังเพียงอย่างเดียว ต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยการอ่าน การเขียน การโต้ตอบ การวิเคราะห์ปัญหา อีกทั้งให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดขั้นสูง ได้แก่ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า ดังนั้นอาจารย์ในภาควิชาจึงควรเห็นความสำคัญของการเรียนการสอนแบบ ?Active Learning ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

๓.๓ นำข้อมูลลง web blog ของวิทยาลัยฯและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

??????????????????????????????????????????????????????????????? จิราพร วิศิษฏ์โกศล

??????????????????????????????????????????????????????? ? ผู้บันทึกรายงานการประชุม

????????????????????????????????????????

?????????????????????????????????????????????????????? สิตานันท์ ศรีใจวงศ์

??????????????????????????????????????????????? หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์