บทความ เรื่อง การสร้างจังหวะชีวิตแห่งดุลภาพ
ผู้เขียน อ.อดุลย์?? วุฒิจูรีพันธุ์
ปัจจุบันคงไม่ปฏิเสธว่าเรามีเทคโนโลยีที่ช่วยทุ่นเวลามากมาย? เช่น รถยนต์?? หม้อหุงข้าวไฟฟ้า? เครื่องต้มน้ำ? เตาไมโครเวฟ? โทรศัพท์มือถือ? และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกมากมายที่ช่วยให้เราทำงานได้รวดเร็วขึ้น? ชนิดเปิดปุ๊บติดปั๊ป แต่น่าแปลกที่เรากลับมีเวลาว่างน้อยลง? จนนอกจากจะนอนไม่เพียงพอ? และต้องกินอาหารอย่างเร่งรีบแล้ว? ยังแทบไม่มีเวลาให้กับคนในครอบครัวด้วยซ้ำ เพราะว่าต้องใช้เวลาไปกับการหาเงิน และเสพสิ่งบริโภคที่ช่วยให้ชีวิตสะดวก สบายขึ้น ทำให้ไม่มีเวลาใส่ใจกับสิ่งสำคัญต่อชีวิตด้านอื่นๆ โดยเฉพาะสุขภาพและความสัมพันธ์กับผู้อื่น?? ซึ่งผลที่ตามมาทำให้เกิดโรคเครียด? โรคซึมเศร้า? โรคอ้วน? โรคความดันโลหิตสูง? โรคเบาหวาน?? โรคหัวใจ? ความขัดแย้ง ความรุนแรงกับบุคคลรอบข้าง หรือสมาชิกในครอบครัว ชุมชน??? ที่นับวันสถานการณ์ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ ถึงแม้โลกเราหมุนไปตลอดเวลา ทำให้การใช้ชีวิตของเราเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยด้วย หากเราใช้ชีวิตตามกระแสที่โถมกระหน่ำเข้าหาตัวเราทุกรูปแบบ โดยขาดการพิจารณาไตร่ตรองดูอย่างชาญฉลาด เราอาจตกเป็นทาสของเวลาที่บีบคั้นเราจนทำให้ไม่มีความสุข
การสร้างจังหวะชีวิตแห่งดุลภาพจะทำอย่างไร ท่ามกลางกระแสสังคมปัจจุบัน? ตัวอย่างแรกที่ผมขอยกตัวอย่างการสร้างจังหวะชีวิตแห่งดุลภาพด้วยการรับประทานอาหาร
ปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการรับประทานคือ โรคอ้วนลงพุง? ซึ่งมีคำจำกัดความคือ การมีไขมันส่วนเกินสะสมใต้ผนังช่องท้อง? มีวิธีการทดสอบง่ายๆ คือ การวัดรอบเอวผ่านสะดือดู? ซึ่งมีเกณฑ์มาตรฐานที่ผู้ชายไม่ควรเกิน 36 นิ้ว และผู้หญิง ไม่ควรเกิน 32 นิ้ว? หากมากกว่านี้ก็เข้าข่ายภาวะอ้วนลงพุง ซึ่งจะมีปัญหาด้านสุขภาพต่างๆตามมา เป็นต้นว่า โรคเบาหวาน?? โรคหัวใจ? โรคความดันโลหิตสูง? ซึ่งมีรายงานพบมากโดยเฉพาะในประเทศอเมริกา? การแก้ไขปัญหาโรคอ้วนที่ผ่านมา บางท่านอาจเคยใช้การรับประทานยาลดความอ้วน?? การงดอาหาร? การล้วงให้อาเจียนออกมา? การเข้าคอสลดความอ้วนตามโฆษณาทางสื่อต่างๆ? ซึ่งอาจมองว่าเป็นการรักษาที่ปลายเหตุ
วิธีการหนึ่งที่น่าสนใจซึ่งได้อ่านจากบทความเรื่องกินเร็วอ้วนเร็ว กินช้าอ้วนช้า? ของ ดร.วินัย? ดะห์ลัน? ท่านได้อ้างถึงงานวิจัยต่างประเทศว่า มีข้อเท็จจริงอยู่ว่า คนที่กำลังจะอ้วนหรืออ้วนอยู่แล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นคนกินเร็ว? กินมาก อาหารหนักไปทางไขมัน? หนักแป้ง ผมมีเพื่อนร่วมงานอยู่คนหนึ่ง เคยนั่งทานอาหารด้วยกันไม่ถึง 5 นาทีหมดจานไปแล้ว? ขณะที่ผมทานยังไม่ถึงครึ่ง? ปรากฎว่าเพื่อนคนนั้นเริ่มบ่นว่าตนเองเริ่มอ้วนขึ้นต้องหันไปออกกำลังกายเพิ่มขึ้น บทความนี้ได้เล่าว่า ความหิวของคนเราเกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลงถึงระดับหนึ่ง สองจะสั่งงานว่าหิว? เมื่อได้กินอาหารไปสักพัก น้ำตาลในเลือดสูงขึนถึงระดับหนึ่ง? สมองจะสั่งงานออกมาว่าอิ่ม? ปัญหาของความอ้วนอยู่ที่ว่า สมองมักจะสั่งงานให้น้ำตาลสูงขึ้นประมาณ 15 นาทีไปแล้ว ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนจำนวนไม่น้อยกินอาหารเกินกว่าความต้องการ?? โดยเฉพาะคนกินเร็ว? วิธีการแก้ไข คือ ต้องลดความเร็วของการกินลง? ต้องกินอย่างมีสติ? ตักอาหารเข้าปากแล้ววางช้อนขณะเคี้ยวอาหารทุกครั้ง?? ค่อยๆเคี้ยว?? หากมีเพื่อนร่วมโต๊ะก็อาจคุยกับเพื่อน? หรือหากกินอาหารได้คำหนึ่ง จิบน้ำไปพลางจะทำให้กระเพาะเต็มเร็ว? อย่ากินจนรู้สึกอิ่ม แต่ให้กินจนกระทั่งรู้สึกว่าไม่หิวแล้วให้หยุด หรืออาจลองกินอาหารสักจนโดยใช้เวลาสัก 20 นาทีดู พลังงานที่ได้รับต่อวันก็จะลดลง ความอ้วนที่เคยสะสมไว้จะเริ่มลดลงได้เองช้าๆ
ตัวอย่างที่สองผมขอยกตัวอย่างการสร้างจังหวะชีวิตแห่งดุลภาพด้วยการออกกำลังกาย
ปัญหาของการออกกำลังกายปัจจุบันคือ อัตราการเผาผลาญไขมันต่อนาทีสูงสุดเกิดขึ้นเมื่อหัวใจของเราเต้นที่ 70 ? 75 % ของอัตราการเต้นสูงสุด? โดยเฉลี่ยแล้วคนเราจะอยู่ในสภาวะดังกล่าวเมื่อเดินเร็วๆ หรือจ๊อกกิ้งเบาๆ หากออกแรงหนักกว่านั้น จะเร่งให้หัวใจเต้นแรงจนใกล้อัตราสูงสุด ร่างกายก็จะดึงคาร์โบโอเดรทมาใช้เป็นพลังงานแทนทำให้เรารู้สึกเพลีย การแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา คือ การเต้นแอโรบิค? ผมมีวิธีการหนึ่งที่น่าสนใจซึ่งได้อ่านจากหนังสือศิลปะแห่งการใช้ชีวิตเนิบช้า เร็วไม่ว่าช้าให้เป็น ซึ่ง Carl? Honore (คาร์ล? โฮเนอร์) เป็นผู้เขียน และคุณกรรณิการ์? พรมเสาร์ เป็นผู้แปล เขาแนะนำการออกกำลังแบบมีสิต เช่น โยคะ , ชี่กง ว่าช่วยบริหารกายและจิตอย่างสมบูรณ์? และมีอย่างวิธีคือ การเดินช่วยให้สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์และป้องกันโรคหัวใจ เส้นเลือดหัวใจตีบ มะเร็งและกระดูดพรุน? ทำให้เราสงบ? บรรเทาความกระวนกระวาย
ดังนั้นการสร้างจังหวะชีวิตแห่งดุลภาพอาจช่วยปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อคำว่า ?ช้า? ?เฉื่อย? ?อืดอาด? ?เต่า? หรือว่าการคิดหรือทำอะไรอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไปไม่ใช่เรื่องเลวร้าย? ไม่ใช่ความขี้เกียจ ไม่ใช่เพราะไร้ประสิทธิภาพ? แต่เราจำเป็นต้องช้าบ้างเพื่อให้ชีวิตที่รีบเร่งดำเนินไปอย่างมีสติ
ที่มา ; Carl? Honore . กรรณิการ์ พรมเสาร์ (ผู้แปล).(2549). ศิลปะแห่งการใช้ชีวิตเนิบช้า เร็วไม่ว่าช้าให้เป็น.นนทบุรี: พิมพ์ดี จำกัด.
เป็นบทความ ที่อ่านแล้วนำไปปรับใช้ได้ครับ