การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเตรียมนักศึกษาเพื่อสอบขึ้นทะเบียนของภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
รายงานการประชุมการจัดการความรู้
ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
วันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๔
ณ ห้องประชุม ๑๑๔
—————————————————————————————————————————
ผู้เข้าร่วมประชุม
๑. นางศศิธร ชิดนายี ประธาน
๒. นางนิศารัตน์ นาคทั่ง
๓. นางอนัญญา คูอาริยะกุล
๔. นางมณฑา อุดมเลิศ
๕. นางสาวสุธีรา งามวาสีนนท์
๖. นางสาวนัยนา อินธิโชติ
๗. นายไพทูรย์ มาผิว
๘. นางวาสนา ครุฑเมือง
๙. นางสาวนัยนา แก้วคง
๑๐. นายสืบตระกูล ตันตลานุกุล
๑๑. นายเสน่ห์ ขุนแก้ว
๑๒. นางสาวอลิษา ทรัพย์สังข์
๑๓. นายวีระยุทธ อินพะเนา
๑๔. นายภราดร ล้อธรรมมา
๑๕. น.ส.อรุณ ผาเจริญ เลขานุการ
เปิดประชุมเวลา ๑๒.๓๐ น.
ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
อ.ศศิธร ชิดนายี แจ้งให้ทราบว่า คณะกรรมการจัดการองค์ความรู้ของวิทยาลัยฯ ได้กำหนดประเด็นในการจัดการความรู้ให้สอดคล้องกับพันธกิจของวิทยาลัยฯ คือ ๑. ด้านวิชาการ เรื่องการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพ และพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ ๒. ด้านวิจัย และ๓. ด้านบริหาร เรื่องการประกันคุณภาพ สำหรับภาควิชาฯ วันนี้จะพูดคุยในประเด็นเรื่อง พัฒนาการสอบขึ้นทะเบียนฯ โดยมีแนวทางในการดำเนินงาน ดังนี้
๑. แสวงหาความรู้ ทำในวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ เวลา ๑๒.๓๐ – ๑๓.๓๐ น.
๒. การวิเคราะห์ความรู้ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนา
๓. การสังเคราะห์ความรู้
๔. นำข้อมูลลง web board และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
ระเบียบวาระที่ ๒ การสังเคราะห์ความรู้
ในขั้นตอนนี้ได้ให้อาจารย์ทุกท่านเสนอประสบการณ์การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเตรียมความพร้อมนักศึกษาในการสอบขึ้นทะเบียน
๒.๑ วิธีการเตรียมความพร้อมของสาขาการพยาบาลเด็ก
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ (Key Success Factors) ที่ทำให้นักศึกษาสอบผ่าน
๑) หลักสูตรมีความสัมพันธ์กัน ต่อเนื่อง ระหว่างทฤษฎีกับปฏิบัติ
๒) อาจารย์และนักศึกษา โดยที่อาจารย์ต้องมีการกระตุ้นนักศึกษาทั้งด้าน positive และ negative
เพื่อให้เกิดความกระตือรือร้น
๓) เทคนิคในการทำข้อสอบ
๔) กรณีนักศึกษาที่สอบไม่ผ่าน ห้ามให้นักศึกษาผ่านง่าย ๆ อาจจะมีการ Oral Test เพื่อให้นักศึกษาแต่ละคนผ่านทุกจุดประสงค์
๒.๒ วิธีการเตรียมของสาขาการพยาบาลผู้ใหญ่
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ (Key Success Factors) ที่ทำให้นักศึกษาสอบผ่าน
๑) หาข้อตกลงระหว่างการเตรียมตัวสอบ
๒) การสอบสภาให้นักศึกษาเข้าใจว่าทำเพื่อตัวเอง มากกว่า ไม่ใช่ทำเพื่อ วิทยาลัยฯ
- การเรียนภาคทฤษฎีกับการฝึกภาคปฏิบัติ ควรมีความสอดคล้องกัน เช่น เรียนแล้วฝึกปฏิบัติ
- การฝึกใน Ward ICU ควรเป็น อัตรา อาจารย์: นักศึกษา = ๑:๔
-ได้จัดทำโดยกลุ่มงานวิชาการกับกลุ่มงานกิจการนักศึกษา มีการประสานกันในเรื่องการทำกิจกรรมคลายเครียด สลับกับ วิชาการ
- การเชิญอาจารย์ภาคนอกมาติว จากการสอบถามนักศึกษาพบว่า ขึ้นกับรายวิชา ซึ่งในบางรายวิชาอาจารย์ภายในวิทยาลัยฯ สามารถติวได้ดีอยู่แล้ว ส่วนในของสาขาผู้ใหญ่จะพิจารณาอีกครั้งว่าจะใช้อาจารย์ภายนอกหรือไม่
- แบ่งนักศึกษาถ้าแบ่งคละเกรดกัน นักศึกษามีความคิดว่าเพื่อนในกลุ่มไม่ค่อยสนิทกัน ในครั้งนี้จึงให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกันใหม่ตามความสมัครใจ
๒.๓ วิธีการเตรียมของสาขาผู้สูงอายุ
๑) การ Conference ในการฝึกภาคปฏิบัติให้นักศึกษาหาข้อสอบ ทำข้อสอบที่นำมาแล้วมาวิเคราะห์ข้อสอบกัน
๒) การ Conference อาจจะสอดแทรกข้อสอบ
๓) ติวตาม Blue print สภา
ระเบียบวาระที่ ๓ สรุปประเด็นความรู้ที่ได้
ผลการจัดการความรู้ในภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ในเรื่องการพัฒนาการสอบขึ้นทะเบียนมี ประเด็น คือ
๑. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เรียนทฤษฎีแล้วฝึกภาคปฏิบัติที่สอดคล้องกัน
๒. อาจารย์ที่สอนต้องมีความชำนาญในแต่ระบบ
๓. เทคนิคในการทำข้อสอบ ดูตามแต่ละรายวิชา
๓.๑ ติวตาม Blue print
๓.๒ มีการเก็งข้อสอบ
๓.๓ คู่มือการติว
๓.๔ นำประสบการณ์การทำข้อสอบมาบอกเล่าให้นักศึกษา
๓.๕ ให้นำ case มาเล่าให้นักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจท่องแท้
๔. การเตรียมความพร้อมของนักศึกษา
๔.๑ แบ่งกลุ่มนักศึกษา เป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มเก่งและกลุ่มอ่อน
๔.๒ ทำ Empowerment
๔.๓ เชิญวิทยากรมาบรรยาย
๔.๔ นำนักศึกษารุ่นพี่มาเล่าประสบการณ์ ในกลุ่มที่สอบตกและสอบผ่าน
แนวทางการการเตรียมความพร้อมของภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ มีดังนี้
๑. การเตรียมความพร้อม จะดำเนินการโดย
๑.๑ แบ่งกลุ่มนักศึกษา (ซึ่งนักศึกษาได้แบ่งกลุ่มตามความสมัครใจ)
๑.๒ รูปแบบการการเตรียมความพร้อม ประกอบด้วย concept วิเคราะห์ข้อสอบ ซึ่งหลังจาก
การเตรียมความพร้อม ไประยะหนึ่งให้มีการประเมินผลรูปแบบการเตรียมความพร้อม
๑.๓ ในการเตรียมความพร้อมจะให้นักศึกษาเห็นความสำคัญ ทำเพื่อตนเองมากกว่าทำให้
วิทยาลัยฯ เช่น กำหนดให้นักศึกษาเข้าชั้นเรียนกี่เปอร์เซ็น (หมายเหตุ: จากการประชุมคณะกรรมการวิชาการให้มีการกำหนดให้นักศึกษาเข้าชั้นเรียน ๙๕ %)
๒. Empowerment จะมีการจัดอยู่ในโครงการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาชั้นปีที่ ๔ ซี่งอาจารย์ประจำชั้นปีที่ ๔ เป็นผู้จัดทำ มีรายละเอียดดังนี้
๒.๑ เชิญอาจารย์อาวุโส เช่น อ.จรวยพร ทะแกล้วพันธุ์,อ.ดุจเดือน เขียวเหลือง, อ.ศศิธร ชิดนายี,
อ.ดร.ศศมน ศรีสุทธิศักดิ์, อ.ดร.วรรณวดี เนียมสกุล
๒.๒ เชิญอาจารย์ใหม่ที่สอบผ่านมาเล่าประสบการณ์และเชิญรุ่นพี่ที่สอบไม่ผ่านมาเล่า
ประสบการณ์
๓. กรณีนักศึกษาที่สอบไม่ผ่านครั้งสุดท้ายของ comprehensive, มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้มีการสอบOral Test โดยการสอบ Oral Test จะให้สอบกับอาจารย์ที่มีความชำนาญเฉพาะระบบนั้น เวียนเป็นฐาน
๔. รูปแบบการเตรียมความพร้อม ประกอบด้วย concept วิเคราะห์ข้อสอบ ให้เริ่มทำตั้งแต่นักศึกษาอยู่ปีที่ ๓
ขอเชิญอาจารย์ทุกท่านร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเตรียมนักศึกษาให้เป็นพยาบาลวิชาชีพ
ดีมากครับ จะนำไปปรับใช้ต่อไป ของภาควิชาอนามัยชุมชน
อาจารย์ อาจต้อง สังเกตนักศึกษา ที่GPA น้อย เป็นพิเศษครับ อาจมีการติวเสริม เพราะบางครั้งนักศึกษา ไม่กล้าถาม
วันนี้โครงการทบทวนความรู้ปี 4 สิ้นสุดแล้วค่ะ? นศ.ให้ข้อเสนอแนะมากมาย? ทุกคนบอกว่าควรมีการจัดติวแบบนี้ต่อไปทุกปี? แต่ไม่อยากให้บังคับให้มาเซนต์ชื่อ เพราะบางคนไม่อยากมา แต่ต้องมาเซนต์ชื่อ? พอมาแล้วก็ไม่ตั้งใจ และรบกวนคนที่ต้องการติวจริงๆ? ฝากให้อาจารย์ทุกคนช่วยกันพิจารณาข้อเสนอแนะนี้กันนะคะ
เป็นข้อมูลที่ประโยชน์มาก จะนำไปปรับใช้ในการจัดการสอนครับ
ข้อมูลข้างต้นมีประโยชน์อย่างมาก และ จากการ focus group ผู้สำเร็จการศึกษาทั้ง วพบ. อต., พะเยา
และ เชียงใหม่ เสนอแนะเพิ่มเติมว่า การ Empowerment นักศึกษาอย่างต่อเนื่องทุกปี จะช่วยให้นักศึกษากระตือรือร้นค่ะ และนอกจากนี้ ขณะที่นักศึกษาฝึกภาคปฏิบัติ อาจารย์ควรชี้ประเด็นสำคัญ เพราะนักศึกษาจะจำแม่น เวลาสอบจะนึกภาพออกค่ะ
อยากให้มีการเตรียมนักศึกษาตั้งแต่ในช่วงการฝึกภาคปฏิบัติให้มากขึ้น โดยให้มีการทบทวนความรู้และฝึกวิเคราะห์ข้อสอบตามสถานการณ์ของแต่ละแหล่งฝึกทุกๆ แหล่งฝึก เพื่อเป็นการตรวจสอบความเข้าใจใน concept ของแต่ละเรื่อง
สิ่งที่นักศึกษาควรตระหนักคือการเชื่อมั่นในตนเองและทุุ่มเทเวลาให้กับการอ่านหนังสือในส่วนที่เป็นจุดอ่อนของตนเองและสำหรับการติวเป็นเพียงปัจจัยเสริมที่ช่วยนักศึกษาในการฝึกการคิดวิเคราะห์
????? เรื่องที่สำคัญเรื่องหนึ่งที่ต้องมีการเตรียมนักศึกษาคือเตรียมให้มีสมรรถนะต่างๆ เช่น ความเป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อตัวเอง ความรู้สึกเห็นคุณค่าของตนเอง สิ่งเหล่านี้จะเป็นแรงขับด้านในที่ส่งในนักศึกษาประสบความสำเร็จที่มากกว่าการสอบสภาผ่านเพียงอย่างเดียว
ในความคิดเห็นส่วนตัวนั้น เวลานักศึกษาขึ้นฝึกภาคปฏิบัติในแต่ละหอผู้ป่วย อาจรย์ ควรดู case ที่บนหอผู้ป่วยที่ออกข้อสอบบ่อย แล้วนำ case นั้นมาเป็น case coference เพื่อให้นักศึกษานั้นเห็นภาพจริง และ ได้ลงมือปฏิบัติจริงจะทำให้นักศึกษาเข้าใจและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
ข้อมูลที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สามารถนำไปวางแผนการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจในเนื้อหารายวิชา และสามารถเชื่อมโยงทฤษฎี?กับการฝึกปฏิบัติมาสู่การทำข้อสอบขึ้นทะเบียนได้อย่างถูกต้องไม่สับสน
เป็นสิ่งที่ดีครับ แต่บางกรณีต้องดูความพร้อมของนักศึกษาด้วยว่า มีการเตรียมความพร้อมในการรับกับความรู้ที่อาจารย์จะมอบให้มากแค่ไหน
ปีนี้ ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน นักศึกษาทำคะแนนเครทือข่ายได้ไม่ค่อยดี
จึงวางแผนคัดเลือกเด็กที่ตกหลายๆครั้ง? ให้ทำรายงานมาส่งและสอบปากเปล่าเพิ่มเติม
จากการติว? น่าจะทำให้คะแนนสอบสภาดีขึ้น
ปีนี้หลังรู้ผลสอบเครือข่าย ผมได้จัดทำข้อสอบซ่อมชุดใหม่ ตามtest? print สภาการพยาบาล
แล้วนำไปซ่อมกับนักศึกษา ที่ตกกว่า 80 คน แต่ยังไม่ผ่านอีก 12 คน ผมได้ทำข้อสอบให้นักเรียน
ไปค้นคว้าหาคำตอบ? แล้วนำมาสอบปากเปล่าอีดครั้ง? ต้องรอดูผลสอบสภาอีกทีครับ
ภาควิชาอนามัยชุมชน ใช้วิธีค้นหาเด็กอ่อน ที่สอบไม่ผ่านหลายๆครั้ง เพราะผลจากการสอบปีที่ผ่านๆมา พบว่าเด็กที่สอบไม่ผ่านในรายวิชาอนามัยชุมชน หลายๆครั้งมักจะไม่ผ่านสภาด้วย? แล้วทำการให้การดูแลเด็กกลุ่มนี้เป็นพิเศษ ด้วยวิธีการติว? การสอบซ่อมเสริม? การสอบปากเปล่าเป็นทีม ช่วยเหลือกัน
สำหรับภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์มีการเตรียมความพร้อมของนักศึกษา โดยติวตามความเชี่ยวชาญของอาจารย์แต่ละแผนก โดยใช้ข้อสอบร่วมกับ concept และเชิญอาจารย์ภายนอกมาช่วยติว เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศในการเรียนรู้ให้กับนศ. พบว่านักศึกษาให้ความสนใจและตั้งใจเรียนดี สำหรับนศ. ที่สอบไม่ผ่านภาควิชาได้จัด oral test นศ. โดยนศ.แต่ละคนจะตองสอบกับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละแผนกทั้ง ANC, LR และ PP พบว่านักศึกษาสนใจดี แต่ยังขาดความกระตือรือร้นอยู่บ้าง
แนวทางที่กล่าวมาน่าสนใจดี? แต่มีข้อเสนอแนะว่าถ้านักศึกษาได้รับการเตรียมตัวจากอาจารย์ (ติว) เสร็จแล้ว ในแต่ละรายวิชา น่าจะเว้นระยะการติวไปอีก ๅ วัน เพื่อให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มได้ย่อย (Digest) ความรู้และสรุปเป็น Concept Mapping อีกครั้งเพื่อให้เกิดภาพในใจ ไม่ใช่การจำข้อสอบ ซึ่งจะทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ที่คงทน ประยุกต์ได้ วิเคราะห์ได้
การจัดให้มีการติวนักศึกษาในขณะที่มีการฝึกปฏิบัติโดยมีการนำเอาข้อสอบหรือตัวอย่างสถานการณ์ที่นักสึกษาได้พบเจอขณะฝึกปฏิบัติ เป็นการกระตุ้นกระบวนการคิดของนักศึกษาให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น ถือว่าเป็นแนวทางหนึ่งที่จะทำให้ผลการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพดียิ่งขึ้นครับ
เห็นด้วยอย่างยิ่งเลยครับสำหรับแนวทางปฏิบัติของภาควิชาการพยาบาลเด็ก? ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ครับ
เห็นด้วยกับการสอบซ่อมโดยการสอบปากเปล่า? (oral test)?เพราะทำให้สามารถวิเคราะห์ได้ว่านักศึกษายังไม่เข้าใจ? concept? ตรงส่วนใด? อาจารย์จะได้เพิ่มเติมให้เข้าใจมากขัึ้น
แนวทางที่เสนอมาเป็นสิ่งที่ดีมาก และนำมาใช้ได้กับนักศึกษาได้อย่างดี แต่มีข้อสังเกตคือ การเตรียมพร้อมต้องเตรียมตัวเองก่อน นักศึกษาต้องเตรียมกาย และใจ ต่อมาการเตรียมของอาจารย์ต้องให้พร้อมและเฉพาะทาง
ประเด็นที่สำคัญในการที่จะให้นักศึกษาได้ประโยชน์สูงสุดคือ ?การที่ต้องกระตุ้นให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรุ็ ไม่ใช่เพียงเรียนเพื่อสอบเท่านั้น ?และสิ่งที่จะได้จาการฝึกปฏิบยัติคือ ?ต้องพยายามให้นักศึกษาทุกคนได้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันให้มากที่สุด จะเป็นประเด็นที่จะช่วยให้นักศึกษาจดจำและเข้าใจในเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น?
การจะให้นักศึกษาสอบสภาผ่านนั้นครูจำเป็นต้องสอนให้นศ.เข้าใจในเนื้อหาและเชื่อมโยงความสอดคล้องของเนื้อหาเพื่อว่าเมื่อครูติวเนื้อหารวบยอดนักศึกษาจะเข้าใจและจำได้ซึ่งการสอบสภานั้นเป็นเพียงเสียวเดียวของชีวิตนศ.แต่สิ่งจำเป็นตลอดชีวิตการทำงานนั้นก็คือการให้การพยาบาลที่ถูกต้องและเหมาะสมตามโรคที่ผู้ป่วยเป็นซึ่งต้องอาศัยฐานความรู้ที่เรียนมา
เป็นประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาทีความเข้าใจในศาสตร์ทางการพยาบาลอย่างถ่องแท้ และสอบผ่านการขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพ
ได้แนวทางหลากหลายในการนำไปใช้ประโยชน์ค่ะ
ดีมากครับ จะนำไปปรับใช้ต่อไป โดยเฉพาะในรายวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ ตั้งเป้าจะให้นักศึกษาสอบให้ผ่านรอบแรก 100%
เห็นด้วยกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องนี้ เพราะอาจารย์แต่ละภาควิชาก็อยากให้นักศึกษาวิทยาลัยของเราสามารถสอบผ่านใบประกอบวิชาชีพในครั้งแรก ที่จริงเรามุ่งมั่นกันมากนะคะสำหรับเรื่องนี้แต่ยังขาดการบริหารจัดการที่เป็นระบบ จึงอยากให้อาจารย์ร่วมใจ มุ่งมั่น กันอย่างจริงจัง เพื่อเป้าหมายของวิทยาลัยเราค่ะ
อยากให้ดำเนินการสำหรับการเตรียมความพร้อมในการสอบโดยการทำงานเป็นทีม ไม่อยากให้แยกส่วน รูปแบบการติวหรือการทวบทวนควรมีหลากหลาย set กิจกรรมที่ไม่แน่นจนเกินไป ควรมีช่วงพัก ช่วงเข้มข้นค่ะ
การเตรียมความพร้อมนักศึกษาเพื่อสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพ ควรมีกระบวนการหรือขั้นตอน ดังนี้
?
?? ?????? ๑. การให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพ เช่น วิชาที่สอบมีวิชาอะไรบ้าง รายละเอียดของ Blue print ข้อสอบแต่วิชาเป็นอย่างไร
?
????????? ๒. การสร้างความตระหนักเพื่อให้เกิดความกระตือรือร้นในการเตรียมตัวสอบ ซึ่งอาจกระทำได้โดยการจัดเวทีให้รุ่นพี่ที่สำเร็จการศึกษาที่เคยผ่านขั้นตอนการสอบแล้ว ทั้งที่สอบผ่านในครั้งแรก และหลายครั้งกว่าจะสอบผ่าน ว่ามีผลดีหรือผลเสียต่อตัวพยาบาลที่จบใหม่อย่างไร
?
????????? ๓. การสร้างแรงจูงใจดำเนินชีวิตอย่างมีเป้าหมาย ตลอดชีวิตการเป็นนักศึกษาพยาบาล เพื่อให้สอบผ่านขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพในครั้งเดียว ตรงจุดนี้ บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องมากที่สุด คือ อาจารย์ จะต้องใช้กลวิธีในการสร้างแรกจูงใจใฝ่รู้แก่นักศึกษา อาทิเช่น
?
????????? ????????? – ลดพฤติกรรมใดๆ ที่จะกระตุ้นการรับรู้สมองส่วนคุกคามชีวิต เพราะถ้าเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้นักศึกษาพยายามหลบหลีกการเข้าเรียน/เข้าหาอาจารย์ ทำให้ขาดโอกาสที่จะเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เช่น อาจารย์ดุหรือชอบตำหนินักศึกษา ซึ่งอาจแสดงออกมาทางกิริยา วาจา ท่าทาง เป็นต้น
?
?????????????????? – แสดงพฤติกรรมใดๆ ที่จะช่วยกระตุ้นการรับรู้ของสมองส่วนที่ทำให้เกิดความสุข เช่น พฤติการณ์การสอนของอาจารย์อย่างเอื้ออาทร เข้าใจนักศึกษาด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ เป็นต้น และกระตุ้นการรับรู้ของสมองส่วนที่ใฝ่รู้ อยากรู้ อยากเห็นในทางสร้างสรรค์ ซึ่งอาจารย์อาจกระโดยการออกแบบการเรียนการสอนที่น่าสนใจ เช่น สถานการณ์ที่น่าสนใจ ดึงดูดทางความคิดและการจินตนาการ โดยการรับรู้ที่เกิดขึ้นทั้งสองประการที่กล่าวมา ผู้เขียนเชื่อว่า ถ้าเกิดขึ้นแล้วจะทำให้นักศึกษาอยากเรียนรู้สิ่งต่างๆ อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนได้ เกิดการสั่งสมความรู้ทางวิชาชีพที่เป็นประโยชน์ต่อการสอบขึ้นทะเบียนฯ หลังสำเร็จการศึกษาต่อไป
?
????????? ๔. การพัฒนาทักษะการทำข้อสอบ ดังนี้
?
?????????????????? ๔.๑ การทบทวนองค์ความรู้ ซึ่งบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากตัวนักศึกษาเอง คือ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาวิชา และเพื่อน โดยใช้วิธีการเพื่อนช่วยเพื่อน เป็นต้น
?
?????????????????? ๔.๒ การฝึกทำและวิเคราะห์ข้อสอบที่หลากหลาย โดยตนเอง อาจารย์ และเพื่อน
?
?
?
นศ.ควรเริ่มเตรียมตัวเองด้วย มุ่งมั่น ตั้งใจทำเพื่อตนเอง ส่วนอาจารย์ก็เตรียมพร้อมสำหรับการทบทวนองค์ความรู้ อธิบายให้เข้าใจ เชื่อมโยงไปสู่การปฏิบัติได้ แค่เริ่มต้นก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้วนะคะ
การเตรียมความพร้อมต้องทำอย่างสมำเสมอโดยการบูรณาการไปกับการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติและต้องมีการประเมินเป็นระยะๆเพื่อการพัฒนาค่ะ
?การเตรียมความพร้อมของน.ศในการสอบขึ้นทะเบียน ที่สําคัญมากคือความพร้อมในการทบทวนความรู้ของน.ศ เอง????? ในส่วนของวิทยาลัยอาจเตรียมความพร้อมด้วยการจัดติว? สรุปทบทวนความรู้เป็นรายเทอม? น่าจะดีค่ะ
ต้องปรับทัศนคติของนักศึกษาที่ว่า ” เรียนๆไป สอบตกก็ซ่อม?เดี๋ยวก็ผ่านเอง”? เนื่องจากพบว่านักศึกษายังมีความคิดเช่นนี้อยู่เป็นจำนวนมาก? ทำให้ไม่กระตือรือร้นในการเรียนและสอบ? ไม่ตั้งใจในการอ่านหนังสือ? ไม่สนใจเตรียมตัวสอบทุกประเภท? ทั้งสอบย่อย? สอบกลางภาคปลายภาค? รวมถึงสอบรวบยอดทุกสถาบัน? พวกเราอาจต้องพิจารณาประเมินผลนักศึกษาตามความเป้นจริง? ช่วยเหลือเพียงแค่ตามสมควร? ไม่ผ่านก็คือไม่ผ่าน
เห็นด้วยค่ะ ที่ว่าให้นักศึกษาทำเพื่อตัวเอง ไม่ใช่เพื่อวิทยาลัย อีกอย่างที่ขอเสนอแนะนะคะ ว่าไม่ควรเอาผลการสอบของรุ่นพี่หรือวิทยาลัยอื่นๆมาเป็นตัวกดดันว่านักศึกษาต้องทำให้ดีกว่า แต่ควรจะบอกให้นักศึกษาแข่งกับตัวเอง เอาชนะตัวเองน่าจะลดความตึงเครียดของนักศึกษาได้บ้าง
เห็นด้วยกับAj.nisaratค่ะ เกี่ยวกับประเมินผลนักศึกษาตามความเป็นจริง ส่วนการช่วยเหลือนั้นเราควรวางแผนช่วยเหลือนักศึกษาตลอดกระบวนการเรียนการสอน ไม่ว่าจะเป็นภาคทฤษฎีหรือภาคปฏิบัติไม่ใช่มาช่วยให้ผ่านเฉพาะตอนท้ายคือตอนสอบเท่านั้น
ส่วนการเตรียมความพร้อมในการสอบขึ้นทะเบียนเห็นความมุ่งมั่นของอาจารย์แต่ละท่านแล้วว่ามีมากแต่จะทำอย่างไรให้นักศึกษาเตรียมตัวเองและมุ่งมั่นเพื่อตัวเองให้ได้มากยิ่งขึ้น คงต้องพยายามมกันต่อไปค่ะ
การฝึกปฏิบัติยังมีความสำคัญมากที่ทำให้นักศึกษามีประสบการณ์ตรง และจำได้ตลอด และครูควรชี้แนะประเด็นสำคัญด้วยนะคะ นักศึกษาจะได้มีความรู้และมั่นใจในการสอบค่ะ
การเสริมสร้างพลังอำนาจให้นักศึกษามีความมุ่งมั่นตั้งใจผลักดันให้ตัวเองสอบผ่านเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุด ครูจึงเป็นผู้ที่มีความสำคัญอย่างมากในการเสริมสร้างกำลังใจให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของการสอบให้ผ่านเพื่อตัวเองและครอบครัว รวมทั้งครูต้องสนับสนุนให้ความช่วยเหลือนักศึกษา เป็นที่ปรึกษาทางวิชาการในเรื่องที่เขาอ่านแล้วไม่เข้าใจหรือช่วยนักศึกษาไขข้อข้องใจในทุกเรื่อง รวมทั้งเป็นผู้ประสานงานอำนวยความสะดวกให้นักศึกษาในการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม เพียงแค่กำลังใจดีดีจากครู นักศึกษาก็จะมีกำลังใจและพยายามฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ให้ผ่านไปได้ จึงเห็นว่าการเสริมพลังทางบวกให้กับนักศึกษามีความสำคัญมาก
เห็นด้วยกับ Aj.nisaratค่ะ อยากให้ใช้การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง เมื่ออาจารย์ได้ช่วยเหลือเต็มที่หากยังไม่ผ่านก็ควรตก อาจจะทำให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของการเรียนมากกว่านี้ ไม่ใช่ เรียนๆไป สอบตกก็ซ่อม เดี๋ยวก็ผ่านเอง
เห็นด้วยกับอาจารย์เสาวลักษณ์ค่ะ การวางแผนการช่วยเหลือเป็นสิ่งที่สำคัญที่ครูผู้สอนจะต้องประเมินผลการเรียนรู้รายวันและรายสัปดาห์เลยที่เดียวเพื่อที่จะปรับความรู้ของผู้เรียนให้มีการเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน ซึ่งจะทำให้ต่อยอดการสอนได้ไปเรื่อยๆนักเรียนมีความสุข สนุกกับการเรียนและครูก็ภาคภูมิใจที่ได้ค้นคว้าหรือเติมเต็มความรู้ให้กับผู้เรียนได้ทุกๆๆเวลา