รายงานการประชุมการจัดการความรู้
ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
วันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๔
ณ ห้องประชุม ๑๑๔
—————————————————————————————————————————
ผู้เข้าร่วมประชุม
๑. นางศศิธร ชิดนายี ประธาน
๒. นางนิศารัตน์ นาคทั่ง
๓. นางอนัญญา คูอาริยะกุล
๔. นางมณฑา อุดมเลิศ
๕. นางสาวสุธีรา งามวาสีนนท์
๖. นางสาวนัยนา อินธิโชติ
๗. นายไพทูรย์ มาผิว
๘. นางวาสนา ครุฑเมือง
๙. นางสาวนัยนา แก้วคง
๑๐. นายสืบตระกูล ตันตลานุกุล
๑๑. นายเสน่ห์ ขุนแก้ว
๑๒. นางสาวอลิษา ทรัพย์สังข์
๑๓. นายวีระยุทธ อินพะเนา
๑๔. นายภราดร ล้อธรรมมา
๑๕. น.ส.อรุณ ผาเจริญ เลขานุการ
เปิดประชุมเวลา ๑๒.๓๐ น.
ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
อ.ศศิธร ชิดนายี แจ้งให้ทราบว่า คณะกรรมการจัดการองค์ความรู้ของวิทยาลัยฯ ได้กำหนดประเด็นในการจัดการความรู้ให้สอดคล้องกับพันธกิจของวิทยาลัยฯ คือ ๑. ด้านวิชาการ เรื่องการสอบขึ้นทะเบียนใบประกอบวิชาชีพ และพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ ๒. ด้านวิจัย และ๓. ด้านบริหาร เรื่องการประกันคุณภาพ สำหรับภาควิชาฯ วันนี้จะพูดคุยในประเด็นเรื่อง พัฒนาการสอบขึ้นทะเบียนฯ โดยมีแนวทางในการดำเนินงาน ดังนี้
๑. แสวงหาความรู้ ทำในวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ เวลา ๑๒.๓๐ – ๑๓.๓๐ น.
๒. การวิเคราะห์ความรู้ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนา
๓. การสังเคราะห์ความรู้
๔. นำข้อมูลลง web board และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
ระเบียบวาระที่ ๒ การสังเคราะห์ความรู้
ในขั้นตอนนี้ได้ให้อาจารย์ทุกท่านเสนอประสบการณ์การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเตรียมความพร้อมนักศึกษาในการสอบขึ้นทะเบียน
๒.๑ วิธีการเตรียมความพร้อมของสาขาการพยาบาลเด็ก
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ (Key Success Factors) ที่ทำให้นักศึกษาสอบผ่าน
๑) หลักสูตรมีความสัมพันธ์กัน ต่อเนื่อง ระหว่างทฤษฎีกับปฏิบัติ
๒) อาจารย์และนักศึกษา โดยที่อาจารย์ต้องมีการกระตุ้นนักศึกษาทั้งด้าน positive และ negative
เพื่อให้เกิดความกระตือรือร้น
๓) เทคนิคในการทำข้อสอบ
๔) กรณีนักศึกษาที่สอบไม่ผ่าน ห้ามให้นักศึกษาผ่านง่าย ๆ อาจจะมีการ Oral Test เพื่อให้นักศึกษาแต่ละคนผ่านทุกจุดประสงค์
๒.๒ วิธีการเตรียมของสาขาการพยาบาลผู้ใหญ่
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ (Key Success Factors) ที่ทำให้นักศึกษาสอบผ่าน
๑) หาข้อตกลงระหว่างการเตรียมตัวสอบ
๒) การสอบสภาให้นักศึกษาเข้าใจว่าทำเพื่อตัวเอง มากกว่า ไม่ใช่ทำเพื่อ วิทยาลัยฯ
- การเรียนภาคทฤษฎีกับการฝึกภาคปฏิบัติ ควรมีความสอดคล้องกัน เช่น เรียนแล้วฝึกปฏิบัติ
- การฝึกใน Ward ICU ควรเป็น อัตรา อาจารย์: นักศึกษา = ๑:๔
-ได้จัดทำโดยกลุ่มงานวิชาการกับกลุ่มงานกิจการนักศึกษา มีการประสานกันในเรื่องการทำกิจกรรมคลายเครียด สลับกับ วิชาการ
- การเชิญอาจารย์ภาคนอกมาติว จากการสอบถามนักศึกษาพบว่า ขึ้นกับรายวิชา ซึ่งในบางรายวิชาอาจารย์ภายในวิทยาลัยฯ สามารถติวได้ดีอยู่แล้ว ส่วนในของสาขาผู้ใหญ่จะพิจารณาอีกครั้งว่าจะใช้อาจารย์ภายนอกหรือไม่
- แบ่งนักศึกษาถ้าแบ่งคละเกรดกัน นักศึกษามีความคิดว่าเพื่อนในกลุ่มไม่ค่อยสนิทกัน ในครั้งนี้จึงให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกันใหม่ตามความสมัครใจ
๒.๓ วิธีการเตรียมของสาขาผู้สูงอายุ
๑) การ Conference ในการฝึกภาคปฏิบัติให้นักศึกษาหาข้อสอบ ทำข้อสอบที่นำมาแล้วมาวิเคราะห์ข้อสอบกัน
๒) การ Conference อาจจะสอดแทรกข้อสอบ
๓) ติวตาม Blue print สภา
ระเบียบวาระที่ ๓ สรุปประเด็นความรู้ที่ได้
ผลการจัดการความรู้ในภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ในเรื่องการพัฒนาการสอบขึ้นทะเบียนมี ประเด็น คือ
๑. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เรียนทฤษฎีแล้วฝึกภาคปฏิบัติที่สอดคล้องกัน
๒. อาจารย์ที่สอนต้องมีความชำนาญในแต่ระบบ
๓. เทคนิคในการทำข้อสอบ ดูตามแต่ละรายวิชา
๓.๑ ติวตาม Blue print
๓.๒ มีการเก็งข้อสอบ
๓.๓ คู่มือการติว
๓.๔ นำประสบการณ์การทำข้อสอบมาบอกเล่าให้นักศึกษา
๓.๕ ให้นำ case มาเล่าให้นักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจท่องแท้
๔. การเตรียมความพร้อมของนักศึกษา
๔.๑ แบ่งกลุ่มนักศึกษา เป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มเก่งและกลุ่มอ่อน
๔.๒ ทำ Empowerment
๔.๓ เชิญวิทยากรมาบรรยาย
๔.๔ นำนักศึกษารุ่นพี่มาเล่าประสบการณ์ ในกลุ่มที่สอบตกและสอบผ่าน
แนวทางการการเตรียมความพร้อมของภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ มีดังนี้
๑. การเตรียมความพร้อม จะดำเนินการโดย
๑.๑ แบ่งกลุ่มนักศึกษา (ซึ่งนักศึกษาได้แบ่งกลุ่มตามความสมัครใจ)
๑.๒ รูปแบบการการเตรียมความพร้อม ประกอบด้วย concept วิเคราะห์ข้อสอบ ซึ่งหลังจาก
การเตรียมความพร้อม ไประยะหนึ่งให้มีการประเมินผลรูปแบบการเตรียมความพร้อม
๑.๓ ในการเตรียมความพร้อมจะให้นักศึกษาเห็นความสำคัญ ทำเพื่อตนเองมากกว่าทำให้
วิทยาลัยฯ เช่น กำหนดให้นักศึกษาเข้าชั้นเรียนกี่เปอร์เซ็น (หมายเหตุ: จากการประชุมคณะกรรมการวิชาการให้มีการกำหนดให้นักศึกษาเข้าชั้นเรียน ๙๕ %)
๒. Empowerment จะมีการจัดอยู่ในโครงการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาชั้นปีที่ ๔ ซี่งอาจารย์ประจำชั้นปีที่ ๔ เป็นผู้จัดทำ มีรายละเอียดดังนี้
๒.๑ เชิญอาจารย์อาวุโส เช่น อ.จรวยพร ทะแกล้วพันธุ์,อ.ดุจเดือน เขียวเหลือง, อ.ศศิธร ชิดนายี,
อ.ดร.ศศมน ศรีสุทธิศักดิ์, อ.ดร.วรรณวดี เนียมสกุล
๒.๒ เชิญอาจารย์ใหม่ที่สอบผ่านมาเล่าประสบการณ์และเชิญรุ่นพี่ที่สอบไม่ผ่านมาเล่า
ประสบการณ์
๓. กรณีนักศึกษาที่สอบไม่ผ่านครั้งสุดท้ายของ comprehensive, มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้มีการสอบOral Test โดยการสอบ Oral Test จะให้สอบกับอาจารย์ที่มีความชำนาญเฉพาะระบบนั้น เวียนเป็นฐาน
๔. รูปแบบการเตรียมความพร้อม ประกอบด้วย concept วิเคราะห์ข้อสอบ ให้เริ่มทำตั้งแต่นักศึกษาอยู่ปีที่ ๓