รายงานการประชุม การจัดการจัดการความรู้ (Knowledge Management)เรื่อง แนวปฏิบัติที่ดีในการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด (Reflective Thinking)ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช
รายงานการประชุม การจัดการความรู้ (Knowledge Management)
ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช
วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลา ๑๓.๓๐ ? ๑๖.๐๐ น.
ณ ห้องประชุม ๓๒๔ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
******************************************************
รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม
๑. ดร.ดุจเดือน???????????? เขียวเหลือง?????? ????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๒. นางวิมล??????????????? อ่อนเส็ง?????????? ????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๓. ดร.ประภาพร?????????? มโนรัตน์????????? ????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๔. ดร.ปฐพร?????????????? แสงเขียว???????? ????????? วิทยาจารย์ชำนาญการ
๕. นายอุดลย์????????????? วุฒิจูรีพันธุ์??????? ????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๖. นางสาววิไลวรรณ????? บุญเรือง??????????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๗. นางสาวอัญชรี?????????????????? เข็มเพชร?????????????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๘. นายบุญฤทธิ์??????????? ประสิทธิ์นราพันธุ์????????? พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๙. นายอิทธิพล??????????? แก้วฟอง??????????????????? พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๑๐. นายกันตวิชญ์???????? จูเปรมปรี????????????????? พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๑๑. นางสาวชลธิชา?????? จับคล้าย?????????????????? พยาบาลวิชาชีพ
๑๒. นายอรรถพล???????? ยิ้มยรรยง????????????????? พยาบาลวิชาชีพ
๑๓. นายนพรัตน์????????? สวนปาน?????????????????? พยาบาลวิชาชีพ
๑๔. นางสาวสายฝน?????? ชมคำ?????????????????????? พยาบาลวิชาชีพ
ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
ประธานที่ประชุม นายบุญฤทธิ์? ประสิทธิ์นราพันธุ์ หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช
เปิดประชุมเวลา ๑๓.๓๐ น.
ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
๑.๑ ประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้
แผนการดำเนินการจัดการความรู้ (KM) เรื่องแนวปฏิบัติที่ดีในการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด
ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม
มติ? รับทราบ
ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องสืบเนื่อง
-ไม่มี-
ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเพื่อพิจารณา
-ไม่มี-
ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องอื่นๆ
ขั้นเตรียมการ
๑. มอบหมายคณาจารย์ในภาควิชาฯ ทุกคนทบทวนความรู้เรื่อง Reflective Thinking และมอบหมายให้อาจารย์ในภาควิชานำความรู้มาถ่ายทอดให้กับคณาจารย์ในภาควิชาได้รับทราบแนวทางของแต่คน ?พร้อมทั้งทบทวนผลการดำเนินงานที่ผ่านมาทั้งจุดเด่นและอุปสรรคของการเรียนการสอนที่อาจารย์แต่ล่ะท่านได้นำแนวทางไปปฏิบัติ เพื่อนำมาเป็นแนวทางและปรับปรุงพัฒนาและประยุกต์ใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนเรื่อง Reflective Thinking ของภาควิชาต่อไป
๒. คณาจารย์ในภาควิชาฯ รับฟังการบรรยายความรู้เรื่อง Reflective Thinking โดย อ.ดร.ดุจเดือน? เขียวเหลือง ?ผู้มีประสบการณ์ วิจัยการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิดเพื่อสร้างเสริมความสามารถ ในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาลสําหรับนักศึกษาพยาบาล The Development of the Thought Reflection Learning Model to Enhance Ethical Decision-Making in Nursing for Student Nurses และ อ.บุญฤทธิ์? ประสิทธิ์นราพันธุ์ ?ได้ผ่านการอบรม Reflective Thinking ที่?? The University of North Carolina at Chapel Hill? โดยสรุปแนวคิดรวบยอดเกี่ยวกับการเรียนรู้ เรื่อง Reflective Thinking เป็นแนวปฏิบัติของภาควิชาได้ดังนี้
ความหมายของการสะท้อนคิด
การสะท้อนคิด? คือการใช้กระบวนการในการคิดและพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างพินิจพิเคราะห์? ละเอียดรอบคอบ? มีเหตุผล? ใช้ประสบการณ์? ความคิด? ความเชื่อหรือองค์ความรู้ที่ยึดถือกันอยู่เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้? หรือทำให้เกิดข้อสรุปใหม่ที่จะใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหา???????? ในสถานการณ์อื่นๆอย่างเหมาะสม (Sherwood, G. & Horton-Deutsch, 2012)
Reflective Thinking เป็นวิธีการใช้ในกระบวนการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และมีการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง และพบว่านักศึกษาเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีเป็นพยาบาลที่มีความรู้ความสามารถและมีความเป็นพยาบาลที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ (Humanize Care)
การพัฒนา/สร้างให้เกิดการคิดใหม่เป็นสิ่งสำคัญโดยต้องใช้กระบวนการดังนี้
- การสะท้อนคิดเป็นกุญแจสำคัญทางกลยุทธ์ในการช่วยให้พยาบาลมีความคิดที่จะพัฒนางาน
- การตั้งคำถามที่ให้เกิดการพัฒนา
- ต้องระลึกอยู่เสมอว่าไม่มีอะไรที่จะไม่สามารถพัฒนาได้
- การใช้กระบวนการสะท้อนคิดจะบูรณาการทั้งความรู้และประสบการณ์ที่จะเกิดแนวทางใหม่ในการทำงานที่ดีขึ้น
กรอบการตั้งคำถามของ Reflective thinking มี 5 คำถาม ดังนี้
- What stands out for you in this case/story/situation? คุณได้เรียนรู้อะไรจากกรณีศึกษา/เรื่องเล่า/สถานการณ์ นี้
- What are you concerned about in this situation? อะไรที่คุณตระหนักเกี่ยวกับสถานการณ์นี้
- What assumptions are we making? สมมติฐานอะไรที่พวกเราตั้งขึ้น
- What else can it be? คุณมีทางเลือกอื่นๆ อีกหรือไม่
- What do you already know that can help you in this situation? คุณวางแผนอะไรสำหรับ
สถานการณ์นี้
ตัวอย่างกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเหตุการณ์โดยกระบวนการสะท้อนคิด
อธิบายสถานการณ์ที่เกิดขึ้น (Describe what happen)
Case story? บรรยายเหตุการณ์การเจ็บป่วยทั้งด้านอาการความเจ็บป่วยและวิถีชีวิต ซึ่งสามารถที่จะส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจเชิงลึกนอกจากเชิงกว้างเพื่อให้เกิดการตัดสินใจอย่างตรึกตรอง (sense making) ในบริบทของเหตุการณ์นั้นๆ ไม่ด่วนสรุปด้วยความคิดเห็นของตนเอง
ทดสอบความรู้สึก (Examine feelings)
: What stands out for you in this case/story/situation? คุณได้เรียนรู้อะไรจากกรณีศึกษา/เรื่องเล่า/สถานการณ์ นี้
ประเมินเหตุการณ์นั้นทั้งทางบวกและทางลบ (Evaluate positive and negative of the event)
: What are you concerned about in this situation? อะไรที่คุณตระหนักเกี่ยวกับสถานการณ์นี้
วิเคราะห์และทำความเข้าใจอย่างไตร่ตรอง (Analyze to determine sense-making)
: What assumptions are we making? สมมติฐานอะไรที่พวกเราตั้งขึ้น
กำหนดทางเลือกที่จะทำอย่างอื่นได้อีกหรือไม่ (Ask what else could you have done?
: What else can it be? คุณมีทางเลือกอื่นๆ อีกหรือไม่
กำหนดแบบแผนแนวทางการปฏิบัติในอนาคต (Set action plan for future occurrences)
: What do you already know that can help you in this situation? คุณวางแผนอะไรสำหรับสถานการณ์นี้
ความสำคัญของการนำการจัดการเรียนรู้มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาล
ทีคแมน? กล่าวว่า? การสะท้อนคิดเป็นสิ่งแรกสุดที่ใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล? เนื่องจากการ??? สะท้อนคิดจำเป็นต้องมีการตั้งคำถามและการตอบคำถามเป็นหัวใจสำคัญตลอดกระบวนการพยาบาล? ฉะนั้นวิธีการฝึกหัดการสะท้อนคิดที่ดีที่สุดคือ? การฝึกตั้งคำถามและการฝึกตอบคำถามด้วยมุมมองที่แตกต่างหลากหลาย? พร้อมทั้งพัฒนาตั้งคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
การนำรูปแบบไปใช้ในการจัดการเรียนรู้
1.ผู้เรียนควรมีพื้นฐานในวิชาชีพพยาบาลในระดับที่มากพอควร? เพราะความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาล? ต้องใช้การบูรณาการความรู้ในศาสตร์ของวิชาชีพพยาบาลเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ? ผู้เรียนควรมีความรู้พื้นฐานทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในรายวิชาต่างๆในการพยาบาล? เช่น แนวคิดพื้นฐานทางการพยาบาล? การพยาบาลมารดาทารก การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค?? การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพ? สุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช และการพยาบาลครอบครัวและชุมชน? เป็นต้น? ถ้าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานในเรื่องเหล่านี้? จะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาลตามวัตถุประสงค์ของรูปแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น? ดังนั้นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นนี้จึงเหมาะสมที่จะใช้กับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 ขึ้นไป
2.รูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้ มุ่งเน้นการสร้างเสริมความสารมารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพาบาล? โดยนำแนวคิดของการสะท้อนคิดมาประยุกต์ใช้ในการจัดกระบวนการการเรียนรู้??????????? จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สอนจะศึกษาแนวคิดการสะท้อนคิด เทคนิคและกระบวนการเรียนรู้และการประเมินพฤติกรรมการสะท้อนคิดเพิ่มเติมให้มีความเข้าใจ? เนื่องจากการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิดเป็นกระบวนการที่ต้องใช้พลังความคิดและเวลาในการคิดใคร่ครวญ? ทั้งในการตั้งคำถาม? การตอบคำถาม? การให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ? การจินตนาการหาทางเลือกที่หลากหลาย? การสังเคราะห์ทางเลือกใหม่ที่ได้เหมาะสม? ดังนั้นเพื่อนำไปสู่เป้าหมายสุดท้ายของการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิด? ผู้สอนต้องเอื้อให้ผู้เรียนกล้าตั้งคำถามตามความเป็นจริง? มีการอภิปรายอย่างหลากหลาย? และเป็นกันเอง? และให้การสะท้อนกลับให้ผู้เรียนถาม/ตอบคำถามในระดับที่สูงขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน??????? และเรียนรู้การเชื่อมโยงความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ
3.การเรียนรู้แบบการสะท้อนคิด? ผู้เรียนต้องมีการอ่านและแสวงหาข้อมูลอย่างกว้างขวาง? มีความตระหนักรู้ในตนเอง? สนใจและไวต่อข้อมูลและความรู้สึกที่ผุดออกมาจากสภาพแวดล้อมภายในตนเองและภายนอกตนเอง? พร้อมทั้งพร้อมที่จะเผชิญกับความรู้สึกเหล่านี้? ด้วยวิธีการที่สร้างแปลกใหม่แตกต่างไปจากเดิม? และหลากหลาย
4.รูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้? ผู้สอนมีการกำหนดตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงมาให้ผู้เรียนสะท้อนคิด? ดังนั้นการสะท้อนคิดบางครั้งอาจจะทำให้ผู้เรียนรู้สึกสับสน? เจ็บปวดและเป็นทุกข์ได้จึงจำเป็นต้องกระตุ้นและให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนความคิด? และจิตใจแก่ผู้เรียนที่พึ่งหัดสะท้อนคิด
5.การจัดการเรียนรู้โดยการสะท้อนคิดนั้นมีจำนวนผู้เรียนไม่มากนัก? ดังนั้นผู้สอนควรมีความยืดหยุ่นต้องให้เวลาผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้สอนคนอื่นๆและต้องไม่ปล่อยให้ผู้เรียนสะท้อนคิดเพียงลำพัง? จึงจะทำให้การสะท้อนคิดมีคุณภาพ
6.ในทุกๆครั้งก่อนการสอนแบบการสะท้อนคิดผู้สอนควรมีเทคนิคและวิธีการในการฝึกการเรียนรู้?????????? ในเรื่อง? การอยู่ในปัจจุบันขณะ (here and now) เนื่องจากก่อนการทำกิจกรรมต่างๆผู้เรียนควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของการมีสติ? และอยู่กับปัจจุบัน เพื่อที่จะทำให้ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมนั้นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ? และมีประสิทธิผล
จากการประชุมอาจารย์ในภาควิชาฯ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีอาจารย์ที่นำไปใช้เสนอแนะดังนี้
อ.อดุลย์ ไปปรับใช้ ในการเรียนการสอน วิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 1 สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 กิจกรรม เขียนบันทึกการเรียนรู้ ด้วยสะท้อนคิด ผู้สอนได้อธิบายเป้าหมายการเขียนบันทึกการเรียนรู้ ,วิธีการเขียน ,การประเมินผล แก่นักศึกษาในชั่วโมงแรกการฝึกงาน ผลการดำเนินงาน พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ เข้าใจและสามารถเขียนบันทึกการเรียนรู้แบบสะท้อนคิดได้ถูกต้อง น.ศ.มีการสืบค้น หาข้อมูล จากตำรา เว็บไซด์ต่างๆ???? ข้อเสนอแนะต่อการนำไปใช้? หากให้นักศึกษาเขียนบันทึกการเรียนรู้ แบบสะท้อนคิดทุกวัน ร่วมกับภาระงานที่ได้หมายหมายอื่นๆ ทำให้ช่วงระยะหลังๆ นักศึกษาเริ่มกลับไปเขียน บัรทึกการเรียนรู้ในรูปแบบเดิม (ไม่มีการค้นคว้าเพิ่มเติม ) ดังนั้นควรเขียนสัปดาห์ละ 1 ครั้ง น่าจะมีความเหมาะสม
อ.บุญฤทธิ์ ได้ทดลองใช้กระบวนการ Reflective Thinking กับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 โดยเริ่มใช้กระบวนการสะท้อนคิดการฝึกงาน โดยใช้ การเขียนบันทึกสะท้อนคิด ตามขั้นตอนการวินิจฉัยชุมชน ทั้ง 5 ขั้นตอน? ??ซึ่งการสะท้อนคิดในขั้นตอนต่างๆ จากประสบการณ์ ไม่ควรให้นักศึกษาเขียนทุกวัน เพราะ นักศึกษาต้องใช้เวลาในการเขียน? อาจเป็นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง? ผลงานที่ได้ยังพบว่า นักศึกษายังสะท้อนคิดในระดับความรู้สึกทั่วไป? ยังไม่นำไปสู่การนำไปใช้ในครั้งต่อไป และขาดทฤษฎีอ้างอิงในการทำกิจกรรมกับชุมชน ?ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า? อาจารย์ยังตั้งคำถามกระตุ้นให้นักศึกษาคิดยังไม่ดีเท่าที่ควร อาจต้องพัฒนาทักษะส่วนนี้สำหรับอาจารย์ รวมทั้งต้องเตรียมนักศึกษาให้เข้าใจ Reflective Thinking
แนวปฏิบัติ
แนวคิดรวบยอดเกี่ยวกับการเรียนรู้ เรื่อง Reflective Thinking เป็นแนวปฏิบัติของภาควิชา เกี่ยวกับองค์ประกอบหลักในด้านของอาจารย์ผู้สอน ด้านนักศึกษา และด้านของการจัดการเรียนการสอนได้ดังนี้
องค์ประกอบหลักของการสะท้อนคิด
ด้านครูผู้สอน
1.ครูควรสร้างแรงจูงใจ ใช้คำถามปลายเปิด กระตุ้นให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นได้อย่างต่อเนื่อง
2.ครูควรจะสะท้อนคิดนักศึกษา? ทั้งแบบกลุ่ม บุคคล ขึ้นอยู่กับหัวข้อ หรือสถานการณ์ที่ต้องการตามความเหมาะสม
3.คุณลักษณะของอาจารย์ผู้สอนในการเรียนแบบสะท้อนคิด ครูต้องเป็นผู้ฟังที่ดี? เปิดใจ เป็นกันเองกับนักศึกษา เป็นที่ปรึกษาไว้วางใจได้? ต้องมีความอดทน? ควบคุมอารมณ์ได้ดี ไม่ออกคำสั่ง สอนให้นักศึกษามีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส? ไม่ตำหนินักศึกษา? ต้องนิ่ง ไม่ชี้นำแต่ควรตั้งคำถามที่เป็นเหตุเป็นผลกัน
กล้าและเก่ง กระตุ้นการเรียนอยู่เสมอ
4.ครูควรทำงานเป็นทีม ไม่ปัดภาระให้คนใดคนหนึ่ง
5.ครูควรมีการเสริมแรงโดยการชื่นชมนักศึกษาเมื่อนักศึกษาทำได้
6.ครูควรเป็นกัลยาณมิตร
7.ครูควรเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
8.ครูต้องสามารถเชื่อมโยงความรู้ และหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกับนักศึกษาได้อย่างเหมาะสม
9.ครูควรมีการมอบหมายงานล่วงหน้าเพื่อให้นักศึกษามีเวลาเตรียมตัวและคิดวิเคราะห์? และติดตามการสะท้อนคิดอย่างสม่ำเสมอ
10.ครูควรเป็นคนช่างสังเกต? เปิดใจให้นักศึกษาได้ระบายความรู้สึก ควรไวต่อความรู้สึก
ด้านนักศึกษา
1.จะต้องมีการเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้? ต้องเข้าใจในลักษณะวิธีการเรียนการสอนโดยการสะท้อนคิด? และมีส่วนร่วมในการวางแผนการเรียนรู้
2.ต้องฝึกการคิดวิเคราะห์? ต้องมีการวางแผนที่ดี? แบ่งเวลาในการเขียนให้เหมาะสม
3.ต้องเข้าใจ? สรุปประเด็นและเขียนสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้
4.มีอิสระในการเขียน? มีความกระตือรือร้น? และมีทักษะการตั้งคำถามที่ดี
5.มีการเรียนรู้จากสภาพการจริง? เรียนรู้ตรงกับความต้องการ? ความสนใจและความถนัดของตน
6.นำสื่อต่างๆมาใช้ในการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม
7.กล้าแสดงความคิดเห็น? มีการสังเกตที่ดี? มีความรับผิดชอบ? มีวินัย? และตรงต่อเวลา
8.มีการใช้ความคิด? ความสามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้
9.มีความสุขในการเรียนการสอน
ด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน
1.ใช้การวิเคราะห์กรณีศึกษา? การประชุมกลุ่ม? การสนทนาเป็นรายบุคคล
2.ใช้บันทึกการเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอน? เช่น journal? writing? หรือ learning log สามารถนำไปใช้ในการสะท้อนคิดนักศึกษาทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ? การสะท้อนคิดโดยการเขียนบันทึก? ควรให้เวลาในการสะท้อนคิดอย่างเหมาะสม ไม่สั้นจนเกินไป? เช่นควรให้นักศึกษาลองฝึกเขียนในสัปดาห์แรก? จากนั้น ควรสะท้อนการคิดในสัปดาห์ถัดไป
3.ในการสะท้อนคิดสามารถทำในช่วงการทำ pre-post conference? จะช่วยให้นักศึกษาได้มีการเตรียมความพร้อมก่อนการเรียนการสอน
การวัดและประเมินผล
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้? ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบการสะท้อนคิดในครั้งนี้? เป็นการประเมินความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาล? และพฤติกรรมการสะท้อนคิดครอบคุลมทั้งการวัดก่อน? การติดตามผลระหว่างการจัดการเรียนรู้? และการวัดผลภายหลังการจัดการเรียนรู้? ประกอบด้วย
1.ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจริยศาสตร์และกฎหมายวิชาชีพพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังการใช้รูปแบบ? โดยใช้แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ? จริยศาสตร์และกฎหมายวิชาชีพพยาบาล? นำคะแนนจากผลการสอบทั้ง 2 ครั้ง? มาเปรียบเทียบเพื่อดูพัฒนาการของผู้เรียน
2.ประเมินความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลทั้งก่อนการใช้รูปแบบ? ระหว่างการใช้รูปแบบ? และหลังการใช้รูปแบบ? โดยใช้แบบประเมินความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาล? ซึ่งประเมินโดยผู้สอน? เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาล
3.ประเมินพฤติกรรมการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลระหว่างใช้รูปแบบ? โดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมการสะท้อนคิด? เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการสะท้อนคิด
ปิดประชุมเวลา ๑๕.๓๐ น.
ลงชื่อ…………………………………………….. ผู้บันทึกรายงานการประชุม
(นายอรรถพล? ยิ้มยรรยง)
พยาบาลวิชาชีพ
ลงชื่อ…………………………………………….. ผู้บันทึกรายงานการประชุม
(นายกันตวิชญ์? จูเปรมปรี)
พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
ลงชื่อ…………………………………………….. ผู้ตรวจสอบรายงานการประชุม
(นายบุญฤทธิ์? ประสิทธิ์นราพันธุ์)
หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช
สิ่งที่ต้องเตรียมนักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาเรียนอย่างมีความสุขสนุกกับการเรียนรู้ต้องเตรียมพร้อมการประชุมกลุ่ม การร่วมแสดงความคิด การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน พฤติกรรมเหล่านี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งและอาจารย์ผู้สอนต้องเตรียมนักศึกษาให้พร้อมพอสมควร คาดว่าจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
การเรียนรู้แบบสะท้อนคิด มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการคิดวิเคราะห์และตกผลึกองค์ความรู้ได้ในที่สุดอันจะส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ในผู้เรียนแบบฝังแน่นเป็นเหตุและผล เกิดการจำอย่างเข้าใจและดึงมาใช้ได้อีกเมื่อต้องการ
การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติโดยใช้วิธีการสะท้อนคิด อันได้จากการเล่าประสบการณ์ระหว่างเพื่อนในกลุ่มด้วยกัน ทำให้นักศึกษาได้มีโอกาสทบทวนสิ่งที่ตนได้ปฏิบัติต่อผู้รับบริการ นักศึกษาจะเกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ จากเพื่อน และเติมเต็มให้ตนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
การสนทนา เป็นรูปแบบหนึ่งการสะท้อนคิด การพูดคุยเพื่อแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกและแลกเปลี่ยนประสบการณ์อย่างมีโครงสร้าง (Structured Dialogue) โดยมีการเตรียมประเด็นหรือคำถามสำหรับกระตุ้นให้เกิดการคิดอย่างมีเหตุผลและเกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อประเด็นนั้นๆ การสนทนาอาจทำเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเล็กๆ โดยให้ วิเคราะห์ปัจจัยต่างของการกระทำที่สะท้อน ความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ และค่านิยมของแต่ละบุคคล รวมทั้งอาจระดมสมองเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน ผลของการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ก่อให้เกิดกำลังใจ มีการสนับสนุนซึ่งกันและกัน และเกิดการเรียนรู้ที่กว้างขวางขึ้น
การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดผู้สอนต้องฝึกตั้งคำถามและการฝึกตอบคำถามด้วยมุมมองที่แตกต่างหลากหลาย ผู้เรียนควรมีพื้นฐานในวิชาชีพพยาบาลในระดับที่มากพอควร เพราะความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมทางการพยาบาล ต้องใช้การบูรณาการความรู้ในศาสตร์ของวิชาชีพพยาบาลเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการสะท้อนคิดสามารถทำในช่วงการทำ pre-post conference จะช่วยให้นักศึกษาได้มีการเตรียมความพร้อมก่อนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
การสะท้อนคิดจะประสบความสำเร็จต้องกระทำภายใต้บรรยากาศการเรียนการสอนที่ผู้เรียนรู้สึกผ่อนคลายและมีความสบายใจที่จะแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องมีความรู้สึกเกรงใจต่อผู้สอนหากเป็นการสะท้อนคิดที่อาจมีความแตกต่างไปจากเพื่อนสมาชิกกลุ่มหรืออาจารย์ ดังนั้นผู้สอนจึงต้องสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ที่ผ่อนคลายเป็นกันเองเพื่อส่งเสริมให้เกิดการสะท้อนคิดอย่างเต็มที่ของผู้เรียน
การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดเป็นวิธีการที่ดีที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดอย่างมีวิจารณญาณ แต่มีส่ิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือการสร้างบรรยากาศการเรียนการสอนที่ผ่อนคลาย เป็นกันเองเพื่อให้การสะท้อนคิดเป็นไปอย่างอิสระเสรีทั้งนี้เพราะบริบทไทยมักทำให้ผู้เรียนรู้สึกไม่สบายใจในการสะท้อนคิดที่แตกต่างไปจากกลุ่ม จึงเป็นหน้าที่ที่ผู้สอนต้องออกแบบให้มีการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการสะท้อนคิดซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์และทักษะการสอนที่มีการฝึกฝนอย่างเป็นระบบ
องค์ประกอบที่สำคัญของการสะท้อนคิดคือ กระบวนการทางปัญญาและความรู้สึกนึกคิด โดยหัวใจของการสะท้อนคิดอยู่ที่ประสบการณ์ของบุคคลที่มีสิ่งเร้าให้เกิดความรู้สึกนึกคิดต่อประสบการณ์นั้น สิ่งเร้าดังกล่าวอาจจะเป็นสิ่งที่ทำให้แปลกใจ หรือสิ่งที่ทำให้ไม่สบายใจ รวมไปถึงความรู้สึกทางบวก และสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่างๆ ซึ่งกระบวนการสะท้อนคิดจะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลเชื่อมโยงความรู้สึกไปสู่ประสบการณ์ และพยายามที่จะอธิบายถึงสิ่งที่เกิดขึ้น เปรียบเทียบ หาเหตุผล พร้อมทั้งมีการประเมินการกระทำของตนเองด้วย
การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด สามารถกระทำได้ทั้งการเรียนในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์และประสบการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น เพื่อให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์ มีความสงสัย พยายามตั้งคำถาม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน พยายามค้นหาคำตอบ หาเหตุผลต่างๆ มาอ้างอิงกับปัญหาที่เกิดขึ้น ดังนั้นในรายวิชาภาคปฏิบัติจึงมีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในการประชุมปรึกษาก่อนและหลังการพยาบาล เพื่อให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฎีสู่การปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
การจัดการเีรียนการสอนแบบสะท้อนคิด สามารถกระดุ้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองทั้งด้านความรู้ และกระบวนการคิด และฝึกการยอมรับความคิดเห็นที่หลากหลาย กระตุ้นพฤติกรรมกล้าแสดงออกทางความคิด และยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เกิดการเรียนรู้ และผู้เรียนมีความสุขในการเรียน ด้วย
การเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด ผู้สอนสามารถนำมาใช้ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักศึกษาเพื่อเป็นการฝึกใช้การคิดวิเคราะห์ที่นำไปสู่การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และเป็นการพัฒนาศักยภาพทางปัญญาที่ส่งผลให้มีการปฏิบัติและการแก้ปัญหาในการฝึกปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การฝึกสะท้อนคิดจึงเป็นกระบวนการที่นำไปสู่การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และเป็นการพัฒนาศักยภาพทางปัญญาที่ส่งผลให้มีการปฏิบัติและการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของพุทธศาสนาที่กล่าวถึง การคิดไตร่ตรองหรือการคิดทบทวนอย่างมีเหตุผล เป็นหลักพุทธธรรมที่มีมาเป็นเวลายาวนานและสามารถนำมาใช้เป็นวิธีการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี โดยนักปรัชญาเรียกว่า วิธีแห่งปัญญา (สาโรช บัวศรี. 2544: 37-38) วิชาชีพการพยาบาล เป็นวิชาชีพที่ต้องปฏิบัติงานในสถานการณ์ที่หลากหลายและเกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ ซึ่งต้องปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การเรียนรู้จากประสบการณ์หรือการสะท้อนคิดจากการปฏิบัติ (Reflective Practice or Reflection on Practice)จึงมีความสำคัญต่อการคิดตัดสินใจแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับผู้รับบริการโดยจะช่วยให้เกิดทักษะในการแก้ปัญหาที่ยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง รวมทั้งช่วยให้เข้าใจเหตุผลของการปฏิบัติได้ดีขึ้น (Davies. 1995: 172-174) นอกจากนี้ ยังมีผลทำให้พยาบาลได้เรียนรู้และเข้าใจตนเองมากขึ้นส่งผลต่อการดูแลผู้ป่วย/ผู้รับบริการอย่างเข้าใจในธรรมชาติของมนุษย์และมีความเอื้ออาทรเกิดขึ้น (Lauterbach. & Becker.1998: 97-99) การนำวิธีการสะท้อนคิดมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนจึงเป็นแนวทางที่เป็น ประโยชน์ในการเตรียมบุคลากรพยาบาลเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการจัดการเรียนการสอนที่มีการปฏิบัติเป็นฐาน (Practice-based Instruction) ซึ่งจะทำให้นักศึกษาสามารถเชื่อมโยงการบริการกับการเรียนรู้ได้ (Service Learning) เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและเปิดโอกาสให้วิเคราะห์ วิพากษ์ และประเมินสิ่งที่ปฏิบัติ รวมทั้งได้รับข้อเสนอแนะในการปฏิบัติครั้งต่อๆไป (Eyler.2002: 453)
การจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิดเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเกิดการคิดที่ช่วยให้ตัวผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยจนเอง ซึ่งการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจะเกิดอาจจะเกิดจากการรับรู้ ความคาดหวัง ความรู้สึกตนเอง เกี่ยวกับประสบการณ์ แล้วมีการวางแผน หาแนวทางแก้ไขในอนาคต โดย
ผ่านกระบวนการพูดหรือเขียนซึ่งครูจะต้องมีบทบาทที่สำคัญในการการช่วยกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดกระบวนารคิดอยู่เสมอ และเมื่อเกิดกระบวนการคิดก็จะมทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ที่จะหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ๆด้วยตนเองโดยผู้เรียนมีการเชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฏีไปสู่การปฏิบัติได้ รวมทั ้งมีการตัดสินใจที่เหมาะสมในการ
ปฏิบัติงานในสถานการณ์ต่างๆได้ดังนั้นครูผู้สอนบทบาทครูผู้สอนจะต้องเป็นผู้ให้คำแนะนำที่ดีแก่ผู้เรียน
เพราะการเรียนการสอนโดยใช้การสะท้อนคิด ไม่เพียงแต่เป็นการพัฒนากระบวนการคิด แต่ยังช่วยพัฒนา
ทักษะทางปัญญาของผู้เรียนด้วย
การสะท้อนคิด อาจใช้กระบวนการสุนทรียสนทนา การฟังอย่างตั้งใจ และห้อยแขวนการตัดสินใจ และครูควรดึง และชูประเด็น รวมความสนใจ และสรุปความรู้
ความสามารถของผู้สอนมีความสำคัญอย่างมากต่อการประสบความเร็จในการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด ผู้สอนจึงต้องมีการพัฒนาตนเองให้มีความสามารถในการตั้งคำถาม ในการกระตุ้นการเรียนรู้ ตลอดจน การสร้างบรรยากาศที่ดีเพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
การจัดการเรียนการสอนโดยรูปแบบการสะท้อนคิด เป็นวิธีที่มีประโยชน์ต่อนักศึกษา โดยเฉพาะในการเรียนภาคปฏิบัติ ผู้สอนควรมีการพัฒนาทักษะในการตั้งคำถามที่ช่วยกระตุ้นการคิดของนักศึกษา เพื่อให้สามารถนำไปปรับใช้ในการฝึกปฎิบัติให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายของรายวิชาได้ดีขึ้น
วิธีการสอนแบบการสะท้อนคิดในภาควิชาการปฏิบัติ นักศึกษาต้องมีกระบวนการคิดไตร่ตรอง ทบทวน พินิจพิเคราะห์ โดยจากการฝึกวิชาปฏิบัติต่างๆนั้น อาจจะพบโจทย์ปัญหา หรือข้อสงสัยที่นักศึกษาต้องใช้สติและสมาธิ รวมถึงการค้นคว้าตำราหรือแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออื่นๆมาเพื่อหาคำตอบ โดยอาจใช้ประสบการณ์ของเพื่อนในกลุ่ม ของตนเอง มาปรับปรุงและพัฒนา และนำมาแก้ไขในปัญหานั้นๆให้ดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
วิธีการเรียนการสอนแบบการสะท้อนคิด นักศึกษาต้องมีกระบวนการคิดไตร่ตรอง ทบทวน พินิจพิเคราะห์ การฝึกวิชาปฏิบัติในวิชาต่างๆนั้น จะพบว่ามีโจทย์ปัญหา หรือข้อสงสัยมากมายที่นักศึกษาต้องหาคำตอบ โดบใช้สติและสมาธิ รวมถึงการค้นคว้าเพื่อหาคำตอบ โดยอาจใช้ประสบการณ์ของเพื่อนในกลุ่ม ของตนเอง มาปรับปรุงและพัฒนา และนำมาแก้ไขในปัญหานั้นๆให้ดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด การเตรียมการสอนต้องเริ่มจากการที่มีผู้สอนที่เป็น Reflective Thinker เพื่อให้สามารถเป็นตัวแบบที่ดีในการสอน ผู้สอนต้องมีความตระหนักในตนเอง การสอนวิธีนี้เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีการคิดอย่างเป็นระบบและสามารถคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ สร้างผู้เรียนให้พัฒนารูปแบบการคิด เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจในการประกอบวิชาชีพและใช้ในชีวิตประจำวัน
การสะท้อนคิดเป็นกิจกรรมกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความตื่นตัวที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้สอนทำหน้าที่ในการชี้ประเด็นจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยสะท้อนถึงความรู้สึกพอใจ/ไม่พอใจของผู้เรียน ที่จะนำไปสู่การตั้งประเด็นปัญหา แนวทางการแสวงหาคำตอบจากแหล่งข้อมูลต่างๆด้วยตัวเอง และการนำไปใช้ในการปฏิบัติจริง จากการนำไปทดลองใช้ในรายวิชามนุษย์และพฤติกรรมสุขภาพ และวิชา ป.ครอบครัวชุมชน2 พบว่าต้องให้เวลาแก่ผู้เรียนในการค้นคว้าข้อมูลต่างๆ จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
การนำแนวคิดการสะท้อนคิดมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ในการศึกษาพยาบาล จะช่วยให้นักศึกษาเกิดการใคร่ครวญในการกระทำ จะทำให้มองสถานการณ์ด้วยมุมมองที่แตกต่างหลากหลาย สามารถสร้างความรู้จากประสบการณ์และถ่ายโยงความรู้จากประสบการณ์หนึ่งไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆ หรือใช้แก้ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนในสถานการณ์ใหม่ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งสามารถตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์
การสะท้อนคิดเป็นรูปแบบการคิดที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการพิจารณาสิ่งต่างๆอย่างรอบคอบด้วยสติและมีสมาธิึ่ ทําให้ได้ทบทวนและสะท้อนการกระทําของตนเอง โดยผ่านกระบวนการพูดหรือเขียน เป็นการฝึกการสังเกต การคิดวิเคราะห์ จัดระบบความคิด เพื่อให้สื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างเข้าใจ ต้องเป็นผู้ที่ช่างสังเกต เชื่อมโยงความรู้ เป็นนักคิดและมีการตั้งคําถามที่ดีโดยใช้เหตุผลในการอ้างอิง การเรียนการสอนโดยใช้การสะท้อนคิด จึงเป็นการพัฒนาทั้งกระบวนการคิดและทักษะทางปัญญาของผู้เรียน