แนวทางการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพของ
แนวทางการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพของ
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
๑. สร้างความเข้าใจและความกระจ่างชัดในการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกัน
๒. การพิจาณารายวิชาที่สอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ
๓. การวางแผนการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ
๓.๑ การจัดทำมคอ. ชัดเจน กิจกรรมที่ชัดเจน จะส่งผลการวัดและประเมินผลที่สอดคล้อง
๓.๒ กำหนดสมรรถนะให้เกิดกับนักศึกษาในเรื่อง การสื่อสารที่ดี ทีมที่ดี การเขียนแผนงานและโครงการ
? การบริหารจัดการการเรียนรู้ตามสภาพจริงจะช่วยให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะหรือสมรรถนะด้านการบริหารจัดการ ได้แก่การศึกษาและข้อมูลสภาพปัญหาการวางแผน การดำเนินการตามแผนการประเมินผล และการปรับปรุงหรือการพัฒนาต่อเนื่อง
? การสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคล
? การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า จากสถานการณ์ที่ไม่ได้เป็นดังที่คาดหวังไว้
? การสร้างเสริมความร่วมมืออันดี กับ อสม. ผู้ป่วย ญาติ และพยาบาล
? การคิดสร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อพัฒนาแผนงาน กิจกรรม นวัตกรรมการดูแลและสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยกรณีศึกษาตามสภาพจริง
๓.๓ พัฒนานักศึกษาให้มีสมรรถนะการสร้างสัมพันธภาพและการติดต่อสื่อสารการสร้างสัมพันธภาพการประเมินผู้ป่วยในครั้งแรกที่นักศึกษาเสนอเพิ่มเติมจะเป็นขั้นตอนที่ช่วยให้นักศึกษาวิเคราะห์ปัญหาของผู้ป่วยได้ละเอียดมากยิ่งขึ้นและนำมาสู่การปฏิบัติการพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพที่ครอบคลุมในทุกมิติ
๓.๔ การค้นหาทุนทางสังคม การบูรณาการได้ดีต้องมีภาคีเครือข่ายที่ดี
๓.๕ ปฏิทินการปฏิบัติงานควรมีความสอดคล้องกับปฏิทินชุมชนและปฏิบัติงานของทีมอ.ส.ม. ทีมพยาบาลชุมชนและองค์กรชุมชนเพื่อให้เกิดความทำงานที่สอดประสานกันและมีประสิทธิภาพ
๓.๖ วางแผนการพัฒนาผลการเรียนรู้ (Learning Outcome [LO]) ในด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (domain) ควรมีความสัมพันธ์และสอดคล้องกันระหว่าผลลัพธ์การเรียนรู้ กิจกรรมการสอนและกิจกรรมการวัดประเมินผล โดยยึดหลักตามกรอบแนวคิด?OLE Alignment? (Outcome-Learning activity-Evaluation activity Alignment)การดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่มีการบูรณาการกับการสร้างเสริมสุขภาพตามแผนที่วางไว้นั้นควรมีการดำเนินการแบบมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมแบบภาคีเครือข่ายระดับท้องถิ่นหรือประชาชนที่เกี่ยวข้องซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดการดำเนินการแบบคล่องตัวยังทำให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนทั้งด้านกระบวนการและผลลัพธ์การดำเนินการเรียนการสอนและการสร้างเสริมสุขภาพ
๓.๗ เครือข่ายความร่วมมือในส่วนของชุมชน ควรพิจารณา ดังนี้
๑) เครือข่ายความร่วมมือหลักที่สำคัญ ได้แก่ เครือข่ายภาคประชาชนทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. เป็นต้น
๒) เครือข่ายความร่วมมือ ส่วนองค์กรในชุมชนทั้งภาครัฐและเอกชน เช่นโรงเรียน สถานบริการสุขภาพในท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นโดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นนั้นถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยผลักดันและเสริมความเข้มแข็งของดำเนินงานและผลลัพธ์ยั่งยืน
๔. การดำเนินการบูรณาการการเรียนการสอนกับการสร้างเสริมสุขภาพ
๔.๑ การทำมคอ.ที่มีวัตถุประสงค์ของการบูรณาการกับการสร้างเสริมสุขภาพที่ชัดเจน
วัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชาภาคปฏิบัติโดยพิจารณาความสอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เช่น
?วางแผนและจัดกิจกรรมสร้างเสริมศักยภาพของผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพหรือญาติในการควบคุมและดูแลปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุได้?
๔.๒ กิจกรรมการเรียนการสอนที่ชัดเจน อาศัยการสื่อสารที่ดี ทำให้เกิดทีมที่ดี
๔.๓ การบูรณาการการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลสามารถทำได้ทั้งที่ชุมชนและการบูรณาการในหอผู้ป่วยการบูรณาการในหอผู้ป่วย เช่น การแนะนำผู้ป่วยก่อนกลับบ้าน D/C plan
๕. การวัดและประเมินผล
๕.๑ การวัดและประเมินผลนอกจากประเมินผู้เรียนตามวัตถุประสงค์และผลการเรียนรู้ ของรายวิชาแล้วควรพิจารณาเพิ่มเติมในส่วนของผู้รับบริการ/ประชาชนกลุ่มเป้าหมายหรือผลลัพธ์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพที่ชัดเจน โดยประเมินเป็นระยะๆ ดังนี้
ระยะแรกให้ระบุการวัดความรู้เกี่ยวกับปัญหาและการแก้ไขปัญหาสุขภาพหรือการวัดความตระหนักในความรับผิดต่อสุขภาพเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพหรือผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น หรือวัดทักษะการจัดการปัญหาสุขภาพภายหลังกิจกรรมเสร็จสิ้น
ระยะหลังให้ระบุการวัดเพิ่มในประเด็นการแสดงพฤติกรรมหรือการคงไว้ซึ่งพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการวัดดังกล่าว อาจวัดเป็นระยะๆ เช่นทุก ๑ สัปดาห์ หรือ ๒ สัปดาห์ หรือ ๑ เดือน เป็นต้นซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
๕.๒ จะต้องวัดผลที่เกิดกับนักศึกษา สำหรับผลที่เกิดกับผู้ป่วยหรือประชาชน ถือเป็น outcome เชิงประจักษ์สำหรับที่หอผู้ป่วยจะแตกต่างการประเมินผลของผู้ป่วยที่มีสุขภาพที่ดีขึ้น
๕.๓ มีการประเมินผลมาเป็นคะแนนฝึกปฏิบัติ
๖ .การพิจารณาผลกระทบ
-นักศึกษาสามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันได้นักศึกษาสามารถสร้างเสริมสุขภาพตนเองได้ทำสื่อได้ด้วยตนเองโดยใช้อุปกรณ์และสร้างสื่อเป็นวีดีโอเพื่อไปให้ชุมชนใช้ต่อไป
๗. การบูรณาการกับพันธกิจอื่น เช่น บริการวิชาการ วิจัย
แต่ละภาควิชามีการพิจารณาในประเด็นการบริการวิชาการ และการวิจัยไปด้วยเพื่อที่จะสามารถยืนยันผลของการทำงาน เช่น การบูรณาการการสร้างเสริมสุขภาพกับการเรียนการสอนและบริการวิชาการ ที่นำความรู้จากรายวิชา เพื่อนำไปให้ความรู้ หรือการตรวจสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคให้กับประชาชน หลังจากที่มีการบูรณาการกับบริการวิชาการแล้ว ได้ดำเนินการทำวิจัยต่อเนื่อง เพื่อเป็นการต่อยอดความรู้
ศศิธร ชิดนายี
หัวหน้างานวิจัย การจัดการความรู้และวิเทศสัมพันธ์
วันพฤหัส 6 กันยายน 2012
ได้นำไปใช้จริงในหัวข้อ 3.3 ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต ของนศ.พยบ.3 การสอนในคลินิกเรื่องการสร้างสัมพันธภาพฯ เนื่องจากการที่จะเข้าถึงปัญหาของผู้รับบริการได้อย่างแท้จริงจะต้องมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้รับบริการก่อน เพื่อให้การวางแผนการพยาบาลที่เหมาะสมและสอดคล้องกับปัญหา
นอกจาการจัดการเรียนการสอนที่ต้องมีการการจัดทำมคอ. ชัดเจน กิจกรรมที่ชัดเจน จะส่งผลการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องแล้วพบว่าตัวผู้สอนและหรือนักวิจัยที่เข้าไปอยู่ในกระบวนการไม่ว่าจะเป็นรายเดี่ยวหรือทีมควรมีการทำความเข้าใจในบริบทของรายวิชานั้นๆ และสร้างความเข้าใจและความกระจ่างชัดในการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกันเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในการนำไปถ่ายทอดต่อหรือสื่อสารกับภาคีเครือข่ายต่างๆในการลงไปส่งเสริมสุขภาพโดยเฉพาะในชุมชน ซึ่งวิทยาลัยของเรามีข้อได้เปรียบตรงที่เราได้ทำความตกลง สร้างเครือข่ายไว้หลากแห่งทำให้ง่ายต่อการขอความร่วมมือหรือขอความช่วยเหลือโดยเฉพาะชุมชนที่อยู่แวดล้อมวิทยาลัยรวมถึงบุคคลซึ่งเป็นทั้นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. ที่คอยให้การสนับสนุน ซึ่งเป็นจุดแข็งของวิทยาลัยในการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการกับการสร้างเสริมสุขภาพ รวมถึงการวิจัยซึ่งเป็นการต่อยอดความรู้ที่ดีได้
การวิจัยเกี่ยวกับสุขภาพแต่ละช่วงวัยเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพของบุคคลแต่ละวัย จากประสบการณ์ พบว่า องค์กรในชุมชนมีผลกระทบต่อคำตอบที่ได้รับ ทั้งนี้ ระหว่างเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2556 ได้เข้าไปมีส้วนร่วมในการเตรียมความพร้อมของประชาชนอายุ 59 ปี ก่อนเข้าสู่วัยเกษียณ ในเขตเทศบาลตำบลท่าเสา โดยการสนับสนุนงบประมาณของเทศบาลตำบลท่าเสา โดนการจัดกิจกรรมตามนโยบาย 6 อ. จำนวน 10 ครั้ง พบว่า ส่วนใหญ่มีการเตรียมพร้อมในระดับหนึ่งเท่านั้น แต่การส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มดังกล่าว พบว่า บริบทเปลี่ยนแปลงไปในทางบวก ด้วยเทคโนโลยีและการสื่อสาร ซึ่งเป็นตัวแปรที่ไม่สามารถควบคุมได้ ขึ้นอยู่กับการประยุกต์ของผู้วิจัย แต่ชุมชนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่าง ขอบคุณครับ
ควรมีการส่งเสริมให้นำการสร้างเสริมสุขภาพมาใช้ในการเรียนการสอนในทุกรายวิชาชัพทางการพยาบาลเเพราะการส่งเสริมสุขภาพเป็นการป้องกันการเกิดโรคที่ดีที่สุด
หลังจากที่มีการจัดทำกิจกรรมเสร็จสิ้น ควรมีการเพิ่มช่องทางการแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ และแนวทางปฏิบัติที่ดี ให้กับผู้ปฏิบัติด้วยกัน จำแนกกลุ่มย่อย 10-15 คน โดยใช้กิจกรรม Story Telling(เป็นกระบวนการสื่อสารความรู้ /ประสบการณ์ระหว่างบุคคล /กลุ่มบุคคล แบบไม่เป็นทางการ โดยใช้เทคนิคกระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจใหับุคคลเล่าความทรงจำในประสบการณ์การเรียนรู้และทำงานที่ภาคภูมิใจให้บุคคลอื่นฟัง ผู้ฟังเสริมคุณค่าและนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานของตน) ที่จะช่วยเพิ่มคุณค่าความรู้และประสบการณ์ และเป็นเครื่องมือสำคัญช่วยในการพัฒนาวัฒนธรรมการทำงาน การเรียนรู้ และ การร่วมมือ ของบุคคลในองค์กรอย่างสร้างสรรค์