วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

รายงานการประชุมการจัดการความรู้  เรื่อง การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด

วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒  เวลา ๑๓.๓๐-๑๕.๐๐ น.

ณ ห้องประชุมท่าเหนือ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี  อุตรดิตถ์

……………………………………………………………..

รายชื่อผู้เข้าประชุม

๑.   นางสาวดุจเดือน               เขียวเหลือง            พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ

๒.   นายไพทูรย์                       มาผิว                  พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ

๓.   นางสาวสุดารัตน์               ไชยประสิทธิ์           พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ

๔.   นางมณฑา                      อุดมเลิศ               พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ

๕.   นางสาวปฐพร                  แสงเขียว              พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ

๖.   นางสาวดวงดาว                 เทพทองคำ           พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ

๗.   นางสาวดารณี                  ขันใส                  พยาบาลวิชาชีพปฎิบัติการ

๘.   นายอิทธิพล                      แก้วฟอง               พยาบาลวิชาชีพปฎิบัติการ

๙.   นางสาวสุกัญญา               ม่วงเลี้ยง               พยาบาลวิชาชีพปฎิบัติการ

๑๐. นายกันตวิชญ์                    จูเปรมปรี              พยาบาลวิชาชีพปฎิบัติการ

๑๑. นายอรรถพล                     ยิ้มยรรยง            พยาบาลวิชาชีพปฎิบัติการ

๑๒. นางสาวจิราพร                  วิศิษฎ์โกศล            พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ เลขานุการ

๑๓. นางพัชรินทร์                   วงษ์สว่าง              พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ ผู้ช่วยเลขานุการ

รายชื่อผู้ไม่เข้าร่วมประชุม

๑. นายนภดล                       เลือดนักรบ       พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ (ไปราชการ)

๒. นางปภาดา                       ชมภูนิตย์         พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ (นิเทศ)

๓. นางสาววิไลวรรณ                บุญเรือง          พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ (นิเทศ)

๔. นางสาวจิระภา                  สุมาลี             พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ (นิเทศ)

๕. นางสาวสิริกานดา               สุขเกษม          พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ (ไปราชการ)

๖. นางสาววิรินทร                  พิมไลย            พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ (ไปราชการ)

จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน  ๑๓  คน คิดเป็นร้อยละ ๖๘.๔๒

เปิดประชุมเวลา ๑๓.๓๐ น.

ประธานที่ประชุม นางสาวดุจเดือน เขียวเหลือง รองผู้อำนวยการ  กลุ่มงานวิชาการ

วาระที่ ๑ เรื่องแจ้งจากประธาน

การเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด (Reflective thinking) คือ การใช้กระบวนการ ในการคิด และพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างพินิจพิเคราะห์ ละเอียดรอบคอบ มีเหตุมีผล ใช้ประสบการณ์ ความคิด ความเชื่อหรือองค์ความรู้ที่ยึดถือกันอยู่ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่าง ถ่องแท้ หรือทำให้เกิดข้อสรุปใหม่ที่จะใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหา ในสถานการณ์อื่นๆ อย่างเหมาะสม ซึ่งจากการประชุมการจัดการความรู้การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด ครั้งที่ ๒ ได้เกิดแนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด ตามแนวคิดของ                 อ.ดร.ดุจเดือน  เขียวเหลือง จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ประกอบด้วย ๗ ขั้นตอน ได้แก่

๑) อธิบายสถานการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้น

๒) อธิบายความรู้สึกต่อสถานการณ์

๓) บอกแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อที่สนับสนุนการกระทำ

๔) เปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย

๕) จัดลำดับความคิดและสรุปแนวคิดรวบยอด

๖) นำข้อสรุปไปปฏิบัติ

๗) สะท้อนคิดการเรียนรู้/ประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิม

ซึ่งภายหลังการประชุมการจัดการความรู้ ได้มีการนำแนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยแบ่งเป็น ๓ ระยะ ดังนี้

ระยะที่ ๑ นำแนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดไปประยุกต์ใช้ในการเขียน Reflective journal writing ในรายวิชาภาคทฤษฎี

ระยะที่ ๒ นำแนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดไปประยุกต์ใช้ในการเขียน Reflective journal writing ในรายวิชาภาคปฏิบัติ

ระยะที่ ๓ นำแนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบทั้งภาคทฤษฎีและภาคทดลองและรายวิชาภาคปฏิบัติ

มติที่ประชุม : รับทราบ

วาระที่  ๒  เรื่องรับรองรายงานการประชุม

มติที่ประชุม -

วาระที่  ๓ เรื่องติดตามรายงานการประชุม

มติที่ประชุม -

ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเพื่อพิจารณา

จากการนำแนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในรอบปีที่ผ่านมา ผลการดำเนินการการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างไร มีปัญหาอุปสรรค หรือข้อเสนอแนะ รวมถึงข้อสังเกตอะไรบ้าง เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขการจัดการเรียนการสอนในปีการศึกษาต่อไป

อาจารย์ดร. ปฐพร แสงเขียว : การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่มีความสำคัญและจำเป็นกับทุกสาขาวิชาชีพ เนื่องจากการสะท้อนคิดเป็นการมองตัวเอง ผู้เรียนสามารถมองเห็นข้อบกพร่องของตนเอง และสามารถบอกแนวทางการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องนั้นๆได้  จากการนำแนวคิดการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎี ปีการศึกษา ๒๕๖๐ พบว่า นักศึกษายังเขียนไม่สะท้อนถึงวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ยังสะท้อนได้ไม่ลึกซึ้ง และการเขียนของนักศึกษาไม่สามารถสะท้อนความคิดความรู้สึกที่แท้จริงของตนได้ และในปีการศึกษาเดียวกัน  ได้นำมาประยุกต์ใช้ในรายวิชาภาคปฏิบัติ โดยนำแนวปฏิบัติ ๗ ขั้นตอนมาใช้ พบว่า วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด เป็นวิธีการช่วยให้นักศึกษาสะท้อนคิดได้มากกว่าสามารถประเมินนักศึกษาได้ชัดเจนกว่าในรายวิชาภาคทฤษฎี โดยการให้นักศึกษาสะท้อนคิดโดยการประเมินตนเองหลังการทำกิจกรรมทุกครั้ง เพื่อเป็นการประเมินว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น นักศึกษารู้สึกอย่างไรกับเหตุการณ์นี้ และนักศึกษาได้ข้อคิดอะไรจากเหตุการณ์นี้ ซึ่งผู้สอนต้องปรับวิธีการโดยการตั้งคำถามเพื่อให้กระตุ้นให้นักศึกษาฝึกการสะท้อนคิด “วันนี้เป็นอย่างไรบ้าง, เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น,นักศึกษารู้สึกอย่างไร, แล้วนักศึกษาจะทำให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาถูกถาม จะมีการสะท้อนความรู้สึกได้ แต่จากการประเมินนักศึกษายังขาดการอ้างอิงหลักการแนวคิดและทฤษฎีของกระบวนการคิด  และอาจเนื่องด้วยข้อจำกัดของระยะเวลา นักศึกษายังคิดแบบไม่ไตร่ตรอง หรือบางคำถามยังไม่กระตุ้นเพื่อให้เกิด Reflective จริงๆ ผู้สอนได้สะท้อนให้นักศึกษาทราบว่าการเขียนรายงานสะท้อนคิดที่อ่านในรายวิชาภาคทฤษฎี ไม่แสดงออกถึงความสามารถในการสะท้อนคิดได้จริง ส่วนนักศึกษาได้สะท้อนให้ผู้สอนทราบว่า ชอบการตั้งคำถามที่ใช้ในการเรียนภาคปฏิบัติมากว่า โดยที่นักศึกษาสามารถ ตอบข้อคำถาม  ด้วยความสบายใจและพึงพอใจมากว่า

การนำการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด ๗ ขั้นตอน มาประยุกต์ใช้  เห็นว่าขั้นตอนที่ ๔ หากไม่ได้เรียนเป็นกลุ่มนักศึกษาอาจจะทำได้ไม่ดีนัก เนื่องจากนักศึกษาคิดคนเดียว  มีทางเลือกเฉพาะที่ตนเองคิดเท่านั้น ปัญหาที่พบเพิ่มเติม ด้านนักศึกษาการสะท้อนคิดรายกลุ่มบางครั้งนักศึกษาไม่ได้มีการฟังอย่างตั้งใจ จึงไม่เกิดการเรียนรู้จากการสะท้อนคิด กรณีการสะท้อนคิดรายบุคคล จะไม่เกิดการสะท้อนคิด เพราะนักศึกษาอาจจะไม่กล้าแสดงความคิดเห็นของตนเองอย่างเต็มที่ ไม่กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง ดังนั้นปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่จะส่งเสริมการเรียนรู้จากการสะท้อนคิดคือ ปัจจัยด้านนักศึกษา ซึ่งคุณลักษณะของนักศึกษาควรมีตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ ๑ นักศึกษาควรมีลักษณะช่างสังเกต ไวต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ไวต่อสิ่งแวดล้อมและบริบทที่เปลี่ยนแปลง

ขั้นตอนที่ ๒ นักศึกษาควรมีความตระหนักรู้ และสามารถอธิบายความรู้สึกของตนเองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้

ขั้นตอนที่ ๓ นักศึกษาควรมีพื้นฐานความรู้ และมีความเชื่อ และกล้าที่จะบอกถึงประสบการณ์ของตนเอง

ขั้นตอนที่ ๔ นักศึกษาควรมีการเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีสมาธิ ฟังผู้อื่นอย่างตั้งใจ และใคร่ครวญตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ขั้นตอนที่ ๕ นักศึกษาควรคิดเป็น Concept ซึ่งเป็นข้อที่สร้างได้ค่อนข้างยาก

ขั้นตอนที่ ๖ นักศึกษาควรฝึกคิดให้เป็นเหตุเป็นผล

ขั้นตอนที่  ๗ นักศึกษาควรฝึกคิดในการเปรียบเทียบจากประสบการณ์หรือเหตุการณ์ในอดีตที่ผ่านมา กับเหตุการณ์ปัจจุบันว่ามีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมบ้าง นักศึกษาได้รับประสบการณ์ใหม่ในประเด็นใดบ้างทั้งด้านความรู้ ความคิด และความเชื่อ

ประเด็นสำคัญคือ ผู้สอนควรจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตของนักศึกษา โดยการส่งเสริมให้นักศึกษามีการฟังอย่างตั้งใจ  และการฟังโดยไม่มีอคติ

อาจารย์ดร.ดุจเดือน  เขียวเหลือง : จากการทบทวนวรรณกรรม พบว่า การสะท้อนคิดจะให้ความสำคัญกับ Feeling คือ ความรู้สึก การเอาใจเขามาใส่ใจเรา จะทำให้นักศึกษาเปิดใจรับฟังคนอื่นและเข้าใจในบริบทของผู้อื่นมากขึ้น ในขั้นตอนที่ ๔ ในส่วนของการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนควรเปิดประเด็นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาได้เปิดใจ ไม่มีอคติในการรับฟัง ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ ๑ ซึ่งเป็นชนเผ่าที่พูดไม่ค่อยชัด เวลาที่มีการนำเสนอหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในกลุ่ม นักศึกษาจะไม่มีความมั่นใจ เนื่องจากสมาชิกในกลุ่มจะสนใจแต่การพูดไม่ชัดของเพื่อน ไม่ได้มีการรับฟังอย่างตั้งใจ มีอคติในการรับฟัง จึงทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง ขั้นตอนที่ ๕ เป็นขั้นตอนที่นักศึกษาต้องการคำแนะนำจากผู้สอนเป็นอย่างมาก

อาจารย์ดวงดาว เทพทองคำ: การเปิดใจรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เป็นการฟังที่ไม่มีอะไรมาปิดกั้น จะมีความคิดหรือความรู้สึกบางอย่างที่เกิดขึ้นมา ซึ่งความคิดนั้นอาจจะถูกหรือผิดก็ได้  ซึ่งในระหว่างนี้ความรู้สึกเป็นสิ่งสำคัญที่สุดควรละเว้นการสอดแทรกเนื้อหาด้านวิชาการเข้ามาเกี่ยวข้อง

อาจารย์อิทธิพล แก้วฟอง  : การสะท้อนคิดนักศึกษาจะปฏิบัติตามๆกันมาเป็นรูปแบบเดียวกัน นักศึกษาจะไม่กล้าที่จะคิด ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง  หรือนักศึกษาบางคนคิดไม่เป็นเพราะนักศึกษามีความเชื่อว่าตามบริบทของสังคมที่มักจะถูกตำหนิ ติเตียน หากใครที่มีความคิดที่แตกต่างจากผู้อื่นจะเป็นคนที่ไม่เหมือนคนอื่น อาจจะไม่ได้รับการยอมรับจากเพื่อนในกลุ่ม และอาจารย์ผู้สอน ดังนั้นจึงเห็นด้วยกับการที่ผู้สอนควรเปิดใจยอมรับฟัง (open minded) เพื่อให้นักศึกษาลดความกลัว ความวิตกกังวล มีความเป็นกันเอง กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นมากขึ้น จะเห็นได้จากการฝึกปฏิบัติรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน โดยการส่งเสริมให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ โดยการให้ความสำคัญกับขั้นตอนการเปิดใจยอมรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย และการกระตุ้นให้นักศึกษาสะท้อนคิดโดยการตั้งคำถาม เพื่อให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง สิ่งสำคัญ คือ ผู้สอนควรเปิดใจยอมรับฟัง (open minded) และมองนักศึกษาโดยปราศจากอคติ ไม่มองว่านักศึกษาคิดไม่เป็น แต่ให้มองอย่างเข้าใจในกรณีที่นักศึกษามีความคิดเห็นที่แตกต่าง และทำความเข้าใจว่าการเรียนรู้ได้ดีต้องมีพื้นฐานและประสบการณ์มาก่อน

อาจารย์สุดารัตน์  ไชยประสิทธิ์  : จากการนำแนวคิดการสะท้อนคิดมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ ปัญหาอุปสรรคที่พบคือ นักศึกษาไม่ยังติดกรอบความคิดเดิมๆ ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นในกรณีที่คิดแตกต่างจากเพื่อนในกลุ่มและอาจารย์ ซึ่งปัญหาเหล่านี้เกี่ยวข้องกับปัจจัยทั้งด้านผู้สอนและปัจจัยด้านนักศึกษา นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้จากการสะท้อนคิด คือ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมหรือบริบทของสังคม ที่ส่งเสริมหรือไปขัดขวางการเรียนรู้จากการสะท้อนคิดของนักศึกษา สิ่งสำคัญคือ ผู้สอนควรเข้าใจในความแตกต่างของผู้สอนและพื้นฐานของนักศึกษาแต่ละคน

อาจารย์ไพทูรย์ มาผิว : ผู้สอนควรทำความเข้าใจในกระบวนการสะท้อนคิด ๖ ขั้นตอนของ Gibb-cycle ซึ่งจะบรรยายต่อเหตุการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้น  ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร สิ่งที่เห็นเป็นอย่างไร บอกความรู้สึกอะไร สร้างคำถามให้นักศึกษาชวนคิด จะทำอย่างไรต่อไป ซึ่งจะเห็นได้ถึงการตระหนักรู้ในตนเอง สะท้อนเหตุการณ์ทุกประเด็นทำให้เกิด ความรู้สึกและการสะท้อนคิดในรายวิชาภาคปฏิบัติ ซึ่งจากประสบการณ์ในการนำแนวคิดการสะท้อนคิดไปประยุกต์ใช้ จะนำแนวคิดนี้ไปใช้กับกรณีศึกษาที่มีเหตุการณ์สะกิดใจหรือสะเทือนความรู้สึก ผู้สอนจะหยิบยกประเด็นขึ้นมาและตั้งคำถามเพื่อชวนให้นักศึกษาแสดงความรู้สึก และสะท้อนคิดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วกระตุ้นให้นักศึกษาวิเคราะห์โดยการตั้งคำถามและตั้งประเด็นหากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับนักศึกษาหรือครอบครัวของนักศึกษาเอง นักศึกษาจะปฏิบัติอย่างไร และจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง

อาจารย์มณฑา  อุดมเลิศ : จากการนำแนวคิดการสะท้อนคิดไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาฝึกปฏิบัติ พบว่านักศึกษาเขียนรายงานการสะท้อนคิดมาในรูปแบบเดียวกัน เหมือนปฏิบัติตามกันมา จึงทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้จากการสะท้อนคิดที่แท้จริง จึงมีการปรับเปลี่ยนให้นักศึกษาเขียนรายงานการสะท้อนคิดส่งทุกสัปดาห์ โดยให้นำประเด็นที่เกิดขึ้นกับกรณีศึกษามาเปิดประเด็นให้นักศึกษาวิเคราะห์ ว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น นักศึกษามีความรู้สึกอย่างไร และนักศึกษาจะทำอย่างไรต่อไป โดยเน้นประเด็นด้านความรู้สึก ความเชื่อ และมีการอ้างอิงจากทฤษฎี

สรุปขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด

สรุปแนวทางที่นำไปใช้ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562

๑.      ต้องมีการเตรียมและพัฒนาคุณลักษณะครู How to be reflective teacher

๒.      ต้องมีการเตรียมและพัฒนาคุณลักษณะนักศึกษา How to be reflective learner

๓.  สร้างสิ่งแวดล้อม จัดสภาพบริบทให้ส่งเสริมการเรียนรู้จากการสะท้อนคิด

คุณสมบัติผู้สอน คุณสมบัติผู้เรียน การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
1. เปิดใจกว้าง ไม่มีอคติ

2. ตั้งคำถามชวนคิด

3. ฟังอย่างตั้งใจ

4. คิดเป็น concept

5. ยืดหยุ่น

6. จริงใจ ตรงไปตรงมา

7. ให้กำลังใจ

8. Feed back เร็ว

1. ช่างสังเกต ไวต่อบริบท

2. เข้าใจตนเอง ซื่อสัตย์กับความรู้สึก

3. กล้าหาญในการบอกความเชื่อของตน

4. ฟังอย่างตั้งใจ เปิดใจกว้าง

5. คิดเป็นระบบ (ยากมาก)

6. ใช้ความเป็นเหตุผล เรียนรู้

7. ประเมินตนเองได้

1. จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เอื้อต่อคุณลักษณะของผู้เรียน

2. ให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ฝึกให้มีความ “กล้าคิด”

3. จัดสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนแบบสะท้อนคิดเช่น หนังสือ สื่อ แหล่งความรู้ภายนอก ฯลฯ

มติที่ประชุม: รับทราบ และนำไปเป็นแนวทางการ

ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องหารือที่ประชุม

มติที่ประชุม: -

ระเบียบวาระที่ ๖ เรื่องอื่นๆ

มติที่ประชุม: -

ปิดประชุม เวลา  ๑๕.๐๐ น.

ลงชื่อ…………………………………ผู้บันทึกการประชุม

(นางสาวจิราพร     วิศิษฎ์โกศล)

ลงชื่อ…………………………………ผู้ช่วยบันทึกการประชุม

(นางพัชรินทร์  วงษ์สว่าง)

ลงชื่อ…………………………………ผู้ตรวจรายงานการประชุม

(นางสาวดุจเดือน เขียวเหลือง)

ประธานที่ประชุม