เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
แผนภูมิแสดงข้อมูลครุภัณฑ์
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » รายละเอียด
 
‹ ย้อนกลับ
 
หน่วยงาน : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
ประเภทผลงาน : โครงการวิจัย
ชื่อผลงาน: ศึกษาความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านทันตสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์
  เป็นผลงานที่อยู่ในแผนส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิชาการของวิทยาลัย
  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการไปนำเสนอผลงานวิชาการ
ชื่อผู้ทำวิจัย สถานะการทำวิจัย สัดส่วน
พ.ต.หญิง ธันย์ชนก  อินทุวงศ์ หัวหน้า
นางสาว จิราพร  วิศิษฏ์โกศล ผู้ร่วม
นาง ดาราวรรณ  บุญสนธิ ผู้ร่วม
นางสาว พัชชา  สุดแดน ผู้ร่วม
นางสาว สุกัญญา  ม่วงเลี้ยง ผู้ร่วม
กลุ่มสาขาวิชาการ : การพยาบาลสูติศาสตร์
    ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
   ปัญหาทางทันตสุขภาพเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่ง ของประเทศไทย การดูแลทันตสุขภาพไม่ควรละเลย และมีความสำคัญที่ควรจะมีการดูแลอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ จะประสบกับปัญหาทันตสุขภาพมากกว่าหญิงปกติ สาเหตุก็สืบเนื่องมาจาก ผลของการตั้งครรภ์ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และอารมณ์ ปัญหาทางด้านทันตสุขภาพที่มีโอกาสพบมากในหญิงตั้งครรภ์ คือ โรคเหงือกอักเสบ โรคปริทันต์ และโรคฟันผุ จากการรายงานผลสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 7 เมื่อปี พ.ศ. 2555 ได้แบ่งการสำรวจเป็นกลุ่มอายุประกอบด้วยอายุ 15 ปีและ 35−44 ปีพบว่าเป็นโรคฟันผุร้อยละ 62.40 และ 35.20 ในส่วนของโรคเหงือกอักเสบจะพบได้ในกลุ่มอายุ 35−44 ปีร้อยละ 39.30 และพบโรคปริทันต์ในกลุ่มอายุ 15 ปี และ35−44 ปีร้อยละ 29.90 และ 15.60 ตามลำดับ (Dental health division department of health,2012) ซึ่งจะเห็นได้ว่ากลุ่มวัยเจริญพันธุ์จะมีอายุตั้งแต่ 15−44 ปีและหญิงตั้งครรภ์ก็นับว่าเป็นวัยเจริญพันธุ์ด้วยเช่นกัน จากผลการสำรวจพบหญิงตั้งครรภ์การเกิดโรคฟันผุ โรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพควรจะหาแนวทางในการดูแลสุขภาพช่องปากแก่หญิงตั้งครรภ์ หากหญิงตั้งครรภ์มีความรู้ที่ดีขึ้น ตระหนักถึงความสำคัญต่อการดูแลทันตสุขภาพของตนเอง และนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องแล้วจะส่งผลให้สภาวะอนามัยในช่องปากของหญิงตั้งครรภ์ดีขึ้น การที่หญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ มารับการรักษาทางทันตกรรมน้อยและได้ปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รับการรักษา หญิงตั้งครรภ์มีสภาวะโรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์รุนแรงในช่องปาก จะส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์โดยการคลอดบุตรมีน้ำหนักน้อยและคลอดก่อนกำหนด(Ananda P. Dasanayake,2008,p.45) อาจทำให้สูญเสียฟันอย่างถาวร นอกจากจะทำให้สูญเสียฟันแล้วยังต้องเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายในการรักษา ปัญหาทันตสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ เกิดจากหญิงตั้งครรภ์เห็นความสำคัญของทันตสุขภาพน้อย ละเลยต่อการปฏิบัติตนในการดูแลทันตสุขภาพของตนเอง จากสภาพปัญหาและความสำคัญดังกล่าว ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านทันตสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ เพื่อหาวิธีการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลด้านทันตสุขภาพแก่หญิงตั้งครรภ์ให้มีความตระหนักและตื่นตัวในการป้องกันปัญหาสุขภาพฟันให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ซึ่งจะทำให้หญิงตั้งครรภ์มีทันตสุขภาพที่ดีขึ้นต่อไป
     
    วัตถุประสงค์ของโครงการ
    1. เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ ด้านการดูแลตนเองด้านทันตสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านทันตสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์
    ขอบเขตของโครงการผลงาน
    1. งานวิจัยครั้งนี้ ศึกษาความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านทันตสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ ในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยคำนวณจากสถิติหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ ของ โรงพยาลบาลอุตรดิตถ์ มี.ค.- ก.ย.2556 ซึ่งมีจำนวน 571 ราย โดยสุ่มตัวอย่างจากประชากรดังกล่าวโดยกำหนด จะได้ประชากรกลุ่มตัวอย่างประมาณ 90 คน 2. การวิจัยครั้งนี้ ศึกษาความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านทันตสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ 2.1 สถานภาพทั่วไปของหญิงตั้งครรภ์ 2.2 ความรู้และทัศนคติในการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ 2.3 พฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ 3. งานวิจัยครั้งนี้เก็บข้อมูล ตั้งแต่ มีนาคม – พ.ค. 2557
    ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    ทราบถึงพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านทันตสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ ทั้งในภาวะปกติภาวะเจ็บป่วย 2. เป็นแนวทางในการวางแผนการส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ มีพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านทันตสุขภาพที่ดีขึ้น และนำไปสู่การดูแลทันตสุขภาพที่ดีให้กับบุตรต่อไป 3. เป็นแนวทางในการวิจัยเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมดูแลตนเองในกลุ่มเป้าหมาย อื่น ๆ
     นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  : นำข้อมูลที่ได้รับไปพัฒนาสื่อการเรียนการสอนในการส่งเสริมสุขภาพด้านทันตสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์
    บทคัดย่อ
   
 
 
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
  การเผยแพร่บทความวิชาการ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
       บูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ             ความร่วมมืองานวิจัยกับบุคคลภายนอก
ปีปฏิทิน : 2557
ปีการศึกษา : 2557
ปีงบประมาณ : 0
วันที่เริ่ม : 16 มี.ค. 2557    วันที่แล้วเสร็จ : 31 พ.ค. 2557
แหล่งเงินทุน  
ภายใน จำนวนเงิน 0.00 บาท
ภายนอก จำนวนเงิน 0.00 บาท 1
รวมจำนวนเงินทุน 0.00 บาท
  ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูล จำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด Download
โครงร่างวิจัย        ดาวน์โหลดไฟล์ 20140316112049.doc
ทั้งหมด 1 รายการ
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6