เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
แผนภูมิแสดงข้อมูลครุภัณฑ์
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » รายละเอียด
 
‹ ย้อนกลับ
 
หน่วยงาน : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
ประเภทผลงาน : โครงการวิจัย
ชื่อผลงาน: พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี อุตรดิตถ์
  เป็นผลงานที่อยู่ในแผนส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิชาการของวิทยาลัย
  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการไปนำเสนอผลงานวิชาการ
ชื่อผู้ทำวิจัย สถานะการทำวิจัย สัดส่วน
นาง อนัญญา  คูอาริยะกุล หัวหน้า
นาง ศศิธร  ชิดนายี ผู้ร่วม
นางสาว วราภรณ์  ยศทวี ผู้ร่วม
ดร. เสาวลักษณ์  เนตรชัง ผู้ร่วม
นาง นิศารัตน์  นาคทั่ง ผู้ร่วม
กลุ่มสาขาวิชาการ : กลุ่มวิจัย
    ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
   กระแสการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีต่างๆ ในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อม ความเป็นอยู่และวิถีชีวิตของคนไทยเป็นอย่างมาก ทำให้ประชาชนมีพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ในการดำรงชีวิตมากขึ้น เช่น อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม รับประทานอาหารที่ไม่ส่งเสริมสุขภาพ มีไขมันสูง กากใยน้อย รับประทานอาหารหวาน มัน เค็ม สารปรุงแต่ง การขาดการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ทำให้แนวโน้มของการเกิดโรคในปัจจุบันเปลี่ยนไป โดยจะพบโรคไม่ติดต่อเพิ่มมากขึ้น เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็ง เป็นต้น จากข้อมูลสถิติขององค์การอนามัยโลกในปี 2553 พบว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นจำนวนถึง 7.2 ล้านคน หรือคิดเป็น 12.2 % ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด และในปี 2548-2552 คนไทยป่วยเป็นโรคหัวใจต้องนอนโรงพยาบาล วันละ 1,185 ราย โดยเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดประมาณ 450 รายต่อวัน เสียชีวิตชั่วโมงละ 2 คน (สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค, 2556) นอกจากนี้ จากรายงานสถิติสุขภาพทั่วโลกปี พ.ศ. 2555 ขององค์การอนามัยโลก พบว่า 1 ใน 10 ของประชาชนในวัยผู้ใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และ 1 ใน 3 มีภาวะความดันโลหิตสูง และพบว่าประมาณร้อยละ 63 ของการเสียชีวิตทั้งหมดทั่วโลก เกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในประเทศไทยรายงานจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551–2552 พบความชุกของโรคเบาหวานในประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 6.9 ทั้งนี้พบว่า หนึ่งในสามของผู้ที่เป็นเบาหวานไม่เคยได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นเบาหวานมาก่อน และมีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานแต่ไม่ได้รับการรักษา คิดเป็นร้อยละ 3.3 (สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข, 2556) ผลที่เกิดจากการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ ไม่เพียงแต่มีผลกระทบเฉพาะบุคคลผู้ที่เป็นโรคเท่านั้น แต่ยังส่งผลไปถึงครอบครัว ชุมชน รวมไปถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอีกด้วย โดยที่ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ นั้นส่วนใหญ่เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง จากสถานการณ์และปัญหาดังกล่าว รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จึงให้ความสำคัญต่อระบบการสร้างเสริมสุขภาพที่เน้นการสร้างสภาพแวดล้อม และพฤติกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี ทุกรัฐบาลจึงมีนโยบายในการรณรงค์สร้างสุขภาพทั่วไป เน้นการสร้างเสริมสุขภาพมากกว่าการรักษาโรค ตามแนวคิด “สร้าง (สุขภาพ) นำซ่อม (สุขภาพ)” (อำพล จินดาวัฒนะ, สุรเกียรติ อาชานานุภาพ และสุรณี พิพัฒน์โรจนกมล, 2551) ประกอบกับการที่รัฐบาลได้เห็นความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพดังกล่าว จึงกำหนดนโยบายยุทธศาสตร์เมืองไทยแข็งแรง (Healthy Thailand) ขึ้น เพื่อให้คนไทยอยู่เย็นเป็นสุขทั้งกาย ใจ สังคมและปัญญา/จิตวิญญาณ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ มีสุขภาพแข็งแรง และอายุยืนยาว อันจะเป็นการลดปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมสุขภาพและลดโรคที่เป็นปัญหาสำคัญของประเทศ โดยรัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายของนโยบายดังกล่าวให้ทุกชุมชนของประเทศไทยก้าวสู่การเป็นเมืองไทยแข็งแรง ภายในปี พ.ศ. 2560 ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายต่างๆ ดังกล่าวแล้ว บุคคลทุกคนจำเป็นต้องรับผิดชอบการสร้างเสริมสุขภาพตนเอง และโดยเฉพาะบุคลากรด้านสุขภาพจะต้องนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ สนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพอย่างจริงจังทั้งต่อตนเอง และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคม และในบทบาทของผู้ให้บริการที่ต้องชี้แนะแนวทางการปฏิบัติตัวให้ประชาชนมีวัฒนธรรมเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพให้ถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม นอกจากจะส่งผลต่อภาวะสุขภาพของตนเอง คือ ทำให้สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค แล้ว ยังส่งผลต่อคุณภาพการทำงานหรือผลผลิตของหน่วยงานอีกด้วยดังที่ เพนเดอร์ (Pender, 2011) ได้ระบุข้อดีของการสร้างเสริมสุขภาพในที่ทำงานว่า จะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมที่สนับสนุนและก่อให้เกิดพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในตนเองของบุคลากร และการสร้างเสริมสุขภาพเป็นการเอื้อให้บุคลากรมีสุขภาพดี ทำให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีหน้าที่ในการผลิตบัณฑิตพยาบาล ออกไปดูแลด้านสุขภาพแก่ประชาชนในสังคมเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี นอกจากนี้วิทยาลัยยังมีศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางที่เน้นด้านการสร้างเสริมสุขภาพอีกด้วย ดังนั้นบุคลากรในวิทยาลัยจึงจำเป็นต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในด้านการสร้างเสริมสุขภาพด้วย เพื่อให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักศึกษาพยาบาล และการที่บุคลากรในวิทยาลัยมีสุขภาพที่ดี จะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาพยาบาล การดำเนินงานหรือการจัดกิจกรรมต่างๆ ของวิทยาลัยจะดำเนินไปด้วยความราบรื่น และมีประสิทธิภาพ แต่จากการสรุปผลการตรวจสุขภาพของบุคลากรในวิทยาลัย ปี 2554 จากจำนวนผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพ 80 คน (สุปราณี หมื่นยา และภราดร ล้อธรรมมา, 2555) พบว่า บุคลากรในวิทยาลัยมีผลการตรวจปกติ จำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 38.75 ผลการตรวจผิดปกติ จำนวน 49 คน คิดเป็นร้อยละ 61.25 ในจำนวนผลการตรวจที่ผิดปกติ มีจำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 2.5 ที่ต้องพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาเพิ่มเติม และจากผลการตรวจสุขภาพที่ผิดปกติดังกล่าว พบว่าส่วนใหญ่เกิดจากการมีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น ไขมันในเลือดสูง (ทั้งไขมันในเลือดสูงเพียงอย่างเดียว และไขมันในเลือดสูงร่วมกับภาวะอื่นๆ เช่น ซีด น้ำตาลในเลือดสูง เอนไซม์ตับสูง) ซึ่งพบถึงร้อยละ 48.75 ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเดียวร้อยละ 2.5 และซีดเล็กน้อยอย่างเดียวร้อยละ 6.25 เป็นต้น ซึ่งปัญหาสุขภาพดังกล่าวเป็นปัญหาที่สามารถป้องกันและแก้ไขได้ ด้วยการมีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพที่ถูกต้อง ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานของวิทยาลัยบรรลุตามพันธกิจและสอดคล้องกับศูนย์ความเลิศเฉพาะทางด้านการสร้างเสริมสุขภาพ จึงมีความจำเป็นในการศึกษาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ เพื่อทราบพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากร อันจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนและพัฒนาทางด้านสุขภาพให้แก่บุคลากรของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ต่อไป
     
    วัตถุประสงค์ของโครงการ
    1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2. เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพระหว่างบุคลากรแต่ละระดับ (อาจารย์พยาบาล เจ้าหน้าที่สายสนับสนุน และลูกจ้าง) ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
    ขอบเขตของโครงการผลงาน
    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์โดยมีขอบเขตการดำเนินงานในแต่ละด้าน ดังนี้ขอบเขตเนื้อหาการวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ แบ่งเป็น 6 ด้าน ได้แก่ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพด้านกิจกรรมทางกายด้านโภชนาการด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคลด้านการพัฒนาทางจิตวิญญาณ และด้านการจัดการกับความเครียดขอบเขตด้านแหล่งข้อมูลประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ประกอบด้วย อาจารย์พยาบาล เจ้าหน้าที่สายสนับสนุน และลูกจ้าง ปี พ.ศ. 2556จำนวน 91คนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ประกอบด้วย อาจารย์พยาบาล เจ้าหน้าที่สายสนับสนุน และลูกจ้าง ปี พ.ศ. 2556จำนวน 91 คน โดยผู้วิจัยใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาขอบเขตด้านตัวแปรตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำแนกเป็น 2 ประเภทคือ1. ตัวแปรต้นได้แก่ปัจจัยส่วนบุคคล (Personal factor): เพศ อายุ สถานภาพสมรส การมีบุตรในความดูแล(กรณีสมรสแล้ว) จำนวนบุตร ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่ทำงานเป็นบุคลากรของวิทยาลัยพยาบาล ตำแหน่งการทำงาน รายได้ต่อเดือน การเจ็บป่วยในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมา การปฏิบัติเมื่อเจ็บป่วย และความสนใจหากวิทยาลัยมีนโยบายจะจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ2. ตัวแปรตาม ได้แก่ พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ
    ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    ทำให้ทราบพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของของบุคลากร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ได้อย่างเหมาะสม
    บทคัดย่อ
   

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ประกอบด้วย อาจารย์พยาบาล เจ้าหน้าที่สายสนับสนุน และลูกจ้างปี พ.. 2556 จำนวน 74 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ 6 ด้านคือ ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ด้านกิจกรรมทางกาย ด้านโภชนาการ ด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ด้านการพัฒนาทางจิตวิญญาณ และด้านการจัดการความเครียด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)

ลการวิจัยพบว่า

1. บุคลากรของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์มีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ด้านการพัฒนาทางจิตวิญญาณ และด้านการจัดการกับความเครียดอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านกิจกรรม
ทางกาย และด้านโภชนาการ อยู่ในระดับปานกลาง

2. บุคลากรของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ แต่ละระดับ (อาจารย์พยาบาล เจ้าหน้าที่
สายสนับสนุนและลูกจ้าง) มีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพไม่แตกต่างกัน

ดาว์โหลดไฟล์บทคัดย่อ :  ดาวน์โหลดไฟล์ 20140311213126.docx
 
 
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
  การเผยแพร่บทความวิชาการ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
       บูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ             ความร่วมมืองานวิจัยกับบุคคลภายนอก
ปีปฏิทิน : 2557
ปีการศึกษา : 2556
ปีงบประมาณ : 0
วันที่เริ่ม : 11 มี.ค. 2557    วันที่แล้วเสร็จ : 11 มี.ค. 2557
แหล่งเงินทุน  
ภายใน จำนวนเงิน 29,000.00 บาท
ภายนอก จำนวนเงิน 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทุน 29,000.00 บาท
  ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูล จำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด Download
ทั้งหมด 0 รายการ
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6