รายงานการประชุมการจัดการความรู้ เรื่อง การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๒ ๒๕๖๒ เวลา ๑๓.๓๐-๑๕.๐๐ น. ณ ห้องประชุมอังศนา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
รายงานการประชุมการจัดการความรู้ เรื่อง การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด
วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๒ ๒๕๖๒ เวลา ๑๓.๓๐-๑๕.๐๐ น.
ณ ห้องประชุมอังศนา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
……………………………………………………………..
รายชื่อผู้เข้าประชุม
๑. นางสาวดุจเดือน เขียวเหลือง พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ
๒. นายไพทูรย์ มาผิว พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ
๓. นางสาวสุดารัตน์ ไชยประสิทธิ์ พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ
๔. นางมณฑา อุดมเลิศ พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ
๕. นางสาวปฐพร แสงเขียว พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ
๖. นางสาววิไลวรรณ บุญเรือง พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ
๗. นางปภาดา ชมภูนิตย์ พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ
๘. นายอิทธิพล แก้วฟอง พยาบาลวิชาชีพปฎิบัติการ
๙. นางสาวสุกัญญา ม่วงเลี้ยง พยาบาลวิชาชีพปฎิบัติการ
๑๐. นายกันตวิชญ์ จูเปรมปรี พยาบาลวิชาชีพปฎิบัติการ
๑๑. นางสาวสิริกานดา สุขเกษม พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๑๒. นางสาววิรินทร พิมไลย พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๑๓. นางสาวจิราพร วิศิษฎ์โกศล พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ เลขานุการ
๑๔. นางพัชรินทร์ วงษ์สว่าง พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ ผู้ช่วยเลขานุการ
รายชื่อผู้ไม่เข้าร่วมประชุม
๑. นายนภดล เลือดนักรบ พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ (ไปราชการ)
๒. นางสาวดวงดาว เทพทองคำ พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ (ไปราชการ)
๓. นางสาวดารณี ขันใส พยาบาลวิชาชีพปฎิบัติการ
๔. นายอรรถพล ยิ้มยรรยง พยาบาลวิชาชีพปฎิบัติการ (นิเทศ)
๕. นางสาวจิระภา สุมาลี พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ (นิเทศ)
จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน ๑๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๐
เปิดประชุมเวลา ๑๓.๓๐ น.
ประธานที่ประชุม นางสาวดุจเดือน เขียวเหลือง รองผู้อำนวยการ กลุ่มงานวิชาการ
วาระที่ ๑ เรื่องแจ้งจากประธาน
จากการจัดองค์ความรู้การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดครั้งที่ ๑ ได้มีการนำแนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยแบ่งเป็น ๓ ระยะ ดังนี้
ระยะที่ ๑ นำแนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดไปประยุกต์ใช้ในการเขียน Reflective journal writing ในรายวิชาภาคทฤษฎี
ระยะที่ ๒ นำแนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดไปประยุกต์ใช้ในการเขียน Reflective journal writing ในรายวิชาภาคปฏิบัติ
ระยะที่ ๓ นำแนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบทั้งภาคทฤษฎีและภาคทดลองและรายวิชาภาคปฏิบัติ
และได้นำการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด (Reflective thinking) ตามแนวคิดของ อ.ดร.ดุจเดือน เขียวเหลือง จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ประกอบด้วย ๗ ขั้นตอน ได้แก่
๑) อธิบายสถานการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้น
๒) อธิบายความรู้สึกต่อสถานการณ์
๓) บอกแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อที่สนับสนุนการกระทำ
๔) เปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย
๕) จัดลำดับความคิดและสรุปแนวคิดรวบยอด
๖) นำข้อสรุปไปปฏิบัติ
๗) สะท้อนคิดการเรียนรู้/ประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิม
ซึ่งจากการนำมาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบทั้งภาคทฤษฎีและภาคทดลองและรายวิชาภาคปฏิบัติและได้เกิดผลอย่างไรในการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดในครั้งนั้น
และจากการจัดองค์ความรู้การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด ครั้งที่๑ ทำให้ได้หาแนวทางร่วมกันที่จะนำไปใช้ในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๒ นั้นจึงจำเป็นต้องมีการเตรียมและพัฒนาคุณลักษณะ ๓ ประการคือ
๑. ต้องมีการเตรียมและพัฒนาคุณลักษณะครู How to be reflective teacher
๒. ต้องมีการเตรียมและพัฒนาคุณลักษณะนักศึกษา How to be reflective learner
๓. สร้างสิ่งแวดล้อม จัดสภาพบริบทให้ส่งเสริมการเรียนรู้จากการสะท้อนคิด
คุณสมบัติผู้สอน | คุณสมบัติผู้เรียน | การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ |
1. เปิดใจกว้าง ไม่มีอคติ
2. ตั้งคำถามชวนคิด 3. ฟังอย่างตั้งใจ 4. คิดเป็น concept 5. ยืดหยุ่น 6. จริงใจ ตรงไปตรงมา 7. ให้กำลังใจ 8. Feed back เร็ว |
1. ช่างสังเกต ไวต่อบริบท
2. เข้าใจตนเอง ซื่อสัตย์กับความรู้สึก 3. กล้าหาญในการบอกความเชื่อของตน 4. ฟังอย่างตั้งใจ เปิดใจกว้าง 5. คิดเป็นระบบ (ยากมาก) 6. ใช้ความเป็นเหตุผล เรียนรู้ 7. ประเมินตนเองได้ |
1. จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เอื้อต่อคุณลักษณะของผู้เรียน
2. ให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ฝึกให้มีความ “กล้าคิด” 3. จัดสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนแบบสะท้อนคิดเช่น หนังสือ สื่อ แหล่งความรู้ภายนอก ฯลฯ |
มติที่ประชุม : รับทราบ
วาระที่ ๒ เรื่องรับรองรายงานการประชุม
มติที่ประชุม -
วาระที่ ๓ เรื่องติดตามรายงานการประชุม
มติที่ประชุม -
ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเพื่อพิจารณา
จากการนำแนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในรอบปีที่ผ่านมา ผลการดำเนินการการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างไร มีปัญหาอุปสรรค หรือข้อเสนอแนะ รวมถึงข้อสังเกตอะไรบ้าง เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขการจัดการเรียนการสอนในปีการศึกษาต่อไป
อาจารย์ไพทูรย์ มาผิว : ผู้สอนควรทำจัดให้ผู้เรียนได้เจอกับสถานการณ์วิกฤต อาจจะเป็นการสร้างสถานการณ์จริงหรือบทบาทสมมุติ เพื่อกระตุ้นอารมณ์หรือความรู้สึกของผู้เรียน ส่วนการเป็นครูที่จะต้องตอบสนองให้นักศึกษาได้ชวนคิดนั้นควรจะมีคำถามในสต๊อกไว้ การที่จะมาสร้างคำถามในทันทีทันใดมักจะให้ผู้ที่ฟังอย่างตั้งใจแล้วได้ฟังไปช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้วแต่ยังไม่ตอบสนองทันที ดังนั้นควรจะทำอย่างไรต่อไป คือถ้ามีคำถามไว้ในสต๊อก (stock) คำถาม เช่น เกิดอะไรขึ้น เป็นอย่างไร จะช่วยให้ได้ฉุดคิดหรือทำให้นักศึกษาได้เกิดความคิดขึ้นมาได้ ส่วนในตัวคำถามที่ว่า ทำไม คิดว่าควรใช้ได้ ขึ้นอยู่กับน้ำเสียง และท่าที ซึ่งคิดว่าน่าจะไม่เป็นไร ซึ่งจะเห็นได้ถึงการตระหนักรู้ในตนเอง สะท้อนเหตุการณ์ทุกประเด็นทำให้เกิด ความรู้สึกจากการสะท้อนคิดในรายวิชาภาคปฏิบัติ โดยนำเอากระบวนการสะท้อนคิด ๖ ขั้นตอนของ Gibb-cycle มาประยุกต์ใช้ และรวมถึงถ้านำการเรียนรู้แบบสะท้อนคิด (Reflective thinking) ตามแนวคิดของ อ.ดร.ดุจเดือน เขียวเหลือง ๗ ขั้นตอน มาทำเป็นรูปแบบ Model ของวิทยาลัยฯก็น่าจะเป็นจุดยืน หรือโอกาสที่ดีมาก
อาจารย์ดร. ปฐพร แสงเขียว : คุณสมบัติของผู้สอน อาจจะถูกส่งต่อในเรื่องภาพส่วนบุคคลต่อๆกันมา ในส่วนตัวจึงได้มีวิธีการโดยการปรับตัวเอง ด้วยการเปลี่ยนท่าที และการสังเกตลักษณะท่าทีของผู้เรียน การให้กำลังใจ จากการสะท้อนคิดการฝึกภาคปฏิบัติในรายวิชาการพยาบาลสุขภาพจิต จะเห็นถึงความแตกต่างกันมาก เห็นได้ว่าในรายวิชาภาคทฤษฎี การสะท้อนคิดของนักศึกษาส่วนใหญ่จะเป็นการเขียนรายงานสะท้อนคิดที่อ่าน ไม่แล้วแสดงออกถึงความสามารถในการสะท้อนคิดได้จริง แต่เมื่อนักศึกษาได้ลงรายวิชาภาคปฏิบัติ ส่วนมากจะใช้วิธีการโดยการตั้งคำถามเพื่อให้กระตุ้นให้นักศึกษาฝึกการสะท้อนคิด “วันนี้เป็นอย่างไรบ้าง, เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น,นักศึกษารู้สึกอย่างไร, แล้วนักศึกษาจะทำให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้อย่างไร จะเห็นได้ว่านักศึกษามีการเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ในทิศทางที่ทำให้ตัวเองเปลี่ยนเช่น เมื่อให้กำลังใจนักศึกษาก็จะกล้าพูดกล้าคิดและ กล้าแสดงออก จึงมีการสะท้อนความรู้สึกได้ โดยฝึกให้นักศึกษาได้พูด ไม่ว่าจะถูกหรือผิด และจะเปิดใจกว้างรับฟังสิ่งที่นักศึกษาได้พูดและทำ ทำให้นักศึกษาได้มีการสะท้อนและเกิดการรับรู้เรียนรู้ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ส่วนการตั้งคำถาม เป็นสิ่งที่ยากมาก ยังต้องพัฒนาต่อไป คุณสมบัติของผู้เรียนข้อ ๓ กล้าหาญในการบอกความเชื่อของตน ก็ยากมากที่จะมาบอกเรื่องความเชื่อของตนถ้าไม่มีทฤษฎีมารองรับในส่วนนี้ก็ต้องพัฒนานักศึกษาในขั้นต่อไป และในปีการศึกษานี้อาจจะนำการใช้สถานการณ์ที่วิกฤตจริง การใช้กลยุทธ์กระตุ้นการคิดวิเคราะห์การคิดด้วยภาพ Visual thinking strategic และฝึกสติเพื่อให้มีการรับรู้ดี (Mind fullness) ด้วยวิธีการเดินจงกรม (Walking the labyrinth) สะท้อนคิดให้กับผู้เรียนได้ฝึกการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบก็น่าจะเป็นประโยชน์ที่ดีกับ รายวิชาการพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบด้วย และจะจัดทำเป็นคู่มือก่อนการฝึกปฏิบัติให้อาจารย์ผู้ร่วมสอนใน (ภาคปฏิบัติ) ได้ใช้คู่มือเป็นแนวทางในการฝึกปฏิบัติตามขั้นตอนของกระบวนการคิด ๗ ขั้นตอน หรืออาจารย์ท่านใดที่สนใจอยากร่วมกันสอนในภาคปฏิบัติก็สามารถมาร่วมด้วยได้เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการเรียนรู้กระบวนการ Reflective learning เพิ่มมากยิ่งขึ้น ส่วนปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาจะยังไม่ต่อเนื่องตาม ๗ ขั้นตอน เนื่องด้วยติดวันหยุดราชการ (วันสงกรานต์) ทำให้ในการฝึกปฏิบัติเป็นไปอย่างไม่ต่อเนื่อง ทำให้เกิดกระบวนการคิดไม่ต่อเนื่องด้วย
อาจารย์ดร.ดุจเดือน เขียวเหลือง : การสะท้อนคิดจะ เห็นได้ว่านักศึกษามีแรงตกกระทบจิตใจที่แตกต่างกันออกไป การที่จะมาใช้คำถามเดียวกันก็อาจจะใช้ไม่ได้ผลและทำให้ไม่ได้เกิดการสะท้อนคิด และการสะท้อนคิดก็จะแตกต่างกันออกไปซึ่งคุณลักษณะของนักศึกษาควรมีดังต่อไปนี้
๑. นักศึกษาควรมีลักษณะช่างสังเกต ไวต่อบริบทและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง
๒. นักศึกษาควรมีเข้าใจตนเอง ซื่อสัตย์กับความรู้สึกของตนเองและต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้
๓. นักศึกษาควรมีพื้นฐานความรู้ ความกล้าหาญในการบอกความเชื่อของตน
๔. นักศึกษาควรมีฟังอย่างตั้งใจ เปิดใจกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และใคร่ครวญตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
๕. นักศึกษาควรคิดเป็นระบบ ซึ่งเป็นข้อที่สร้างได้ค่อนข้างยาก
๖. นักศึกษาควรฝึกใช้ความเป็นเหตุผล เรียนรู้ให้เป็นเหตุเป็นผล
๗. นักศึกษาควรประเมินตนเองให้ได้โดยการฝึกคิดในการเปรียบเทียบจากประสบการณ์หรือเหตุการณ์ในอดีตที่ผ่านมา กับเหตุการณ์ปัจจุบันว่ามีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมบ้าง นักศึกษาได้รับประสบการณ์ใหม่ในประเด็นใดบ้างทั้งด้านความรู้ ความคิด และความเชื่อ
และควรมีแบบวัดหรือประเมินคุณสมบัติผู้เรียน วัดคุณสมบัติทั้ง ๗ ข้อใน ๑ แบบประเมิน เพื่อที่จะได้พัฒนาเป็น Model หรือเตรียมทั้งผู้เรียนและเตรียมทั้งผู้สอน
ควรมีกลยุทธ์ดังต่อไปนี้
ดังนั้นถ้าได้ในขั้นตอนต่อไป จะนำไปทำการวิจัยในโอกาสต่อไปเพื่อพัฒนาและเป็นรูปแบบ (Model) ของวิทยาลัยฯ เพื่อใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไปได้
อาจารย์มณฑา อุดมเลิศ : จากการนำแนวคิดการสะท้อนคิดไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาฝึกปฏิบัติ พบว่านักศึกษาเขียนรายงานการสะท้อนคิดมาในรูปแบบเดียวกัน เหมือนปฏิบัติตามกันมา จึงทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้จากการสะท้อนคิดที่แท้จริง ดังนั้นผู้สอนควรจะจัดการโดยการกระตุ้นให้เห็นสถานการณ์ตัวอย่างจริง เช่นกรณีรับน้องใหม่ หรือจัดให้มี OSCEE ในเด็กที่จะเปิดการศึกษาใหม่นี้จะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ส่วนตัวในการฝึกภาควิชาปฏิบัติให้ดู VDO ก่อนขึ้นฝึกจริง และมีการตั้งคำถามแต่ละหัวข้อๆและให้สรุปการสะท้อนคิดนั้นมาตามหัวข้อคำถามที่ให้ไป
อาจารย์สุดารัตน์ ไชยประสิทธิ์ : จากการนำแนวคิดการสะท้อนคิดมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ ปัญหาอุปสรรคที่พบคือ การฟังอย่างตั้งใจ โดยมีปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเข้ามามีอิทธิพลทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้จากการสะท้อนคิดที่ไม่จริงหรือการสะท้อนคิดเชิงวิชาการไปมากกว่า สะท้อนได้จริงและความแตกต่างระหว่างผู้สอนและพื้นฐานของนักศึกษาแต่ละคนถ้าปิดกั้นก็จะไม่ทำให้เกิดการสะท้อนคิดได้เลย
อาจารย์สุกัญญา ม่วงเลี้ยง: จากการนำแนวคิดการสะท้อนคิดไปใช้ในช่วงการตั้งคำถาม เพื่อให้ได้การสะท้อนคิดออกมาแต่ในเรื่องบริบทหรือสถานที่ไม่เอื้ออำนวยเช่น มีเสียงรบกวน หรือญาติ คนไข้ รวมกันอยู่จำนวนมาก ก็จะทำให้นักศึกษาเกิดการสะท้อนออกมาได้ไม่จริงตามการสะท้อนคิด
อาจารย์กันตวิชญ์ จูเปรมปรี: จากการนำแนวคิดการสะท้อนคิดไปใช้การสะท้อนคิดในรายวิชากระบวนการคิดนั้นจำนวนนักศึกษาในกลุ่มมีจำนวนมาก ทำให้บริบทที่ทำให้เกิดการสะท้อนคิดเป็นไปได้ไม่ค่อยจริง
อาจารย์พัชรินทร์ วงษ์สว่าง: จากการนำแนวคิดการสะท้อนคิดไปใช้การสะท้อนคิดในรายวิชาสารสนเทศทางการพยาบาล การสอน และการให้การปรึกษาทางสุขภาพ ของอาจารย์ จิระภา สุมาลี นั้น โดยผู้สอนได้บทบาทเป็นผู้ตั้งคำถาม และมอบหมายกรณีศึกษาและให้นักศึกษาจับคู่ แสดง บทบาทการเป็นผู้ให้คำปรึกษา และผู้รับบริการ ผู้สอนเป็นผู้สังเกตการณ์ จากนั้นจะทำให้นักศึกษาได้สะท้อนมุมมองและ ช่วยให้นักศึกษาได้สำรวจตนเอง ของนักศึกษา ทั้ง ๒ ฝ่าย และทำให้ได้ทราบข้อดีและข้อเสนอแนะจากการสะท้อนคิดนั้นได้จริง แต่อาจมีข้อจำกัดเรื่องเวลา
มติที่ประชุม: รับทราบ และนำไปเป็นแนวทางการ
ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องหารือที่ประชุม
มติที่ประชุม: -
ระเบียบวาระที่ ๖ เรื่องอื่นๆ
มติที่ประชุม: -
ปิดประชุม เวลา ๑๕.๐๐ น.
ลงชื่อ…………………………………ผู้ช่วยบันทึกการประชุม
(นางพัชรินทร์ วงษ์สว่าง)
ลงชื่อ…………………………………ผู้ตรวจรายงานการประชุม
(นางสาวดุจเดือน เขียวเหลือง)
ประธานที่ประชุม
จากการใช้วิธีการสะท้อนคิดในรายวิชาสารสนเทศทางการพยาบาล การสอน และการให้การปรึกษาทางสุขภาพ สําหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 (ภาคทดลอง) โดยอาจารย์มีบทบาทเป็นผู้ตั้งคําถามเพื่อให้นักศึกษาได้เกิดการสะท้อนคิด ในกรณีการให้คําปรึกษา ได้มอบหมายกรณีศึกษาและให้นักศึกษาจับคู่แสดงบทบาทการเป็นผู้ให้คําปรึกษาและผู้รับบริการ อาจารย์เป็นผู้สังเกตการให้คําปรึกษาและบันทึกข้อคิดเห็นต่างๆเพื่อสะท้อนให้นักศึกษาทราบทั้งในข้อดีและข้อเสนอแนะ หลังจากการใช้ประเด็นคําถามเพื ่อสะท้อนคิดนั้น นักศึกษาได้มีโอกาสในทบทวนความรู้สึกของตนเองเพื่อการพัฒนาไปสู่การตระหนักรู้ในตนเอง ที่จะเป็นคุณสมบัติ
ที่สําคัญของผู้ให้คําปรึกษา และนักศึกษาสามารถบอกถึงจุดดีและข้อควรพัฒนาของตนเองได้โดยมีอาจารย์ประจํากลุ่มที่เป็นผู้สังเกตการณ์ให้ข้อมูลเพิ่มเติม อาจารย์ได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาที่แสดงบทบาทสมมติเป็นผู้รับบริการได้ช่วยสะท้อนในมุมมองของผู้รับบริการที่มาขอรับคําปรึกษาจากผู้ให้คําปรึกษา ซึ่งนักศึกษาจะได้รับรู้ทั้ง 2 มุม คือมุมของตนเองในการผู้ให้คําปรึกษา และมุมของผู้รับบริการที่มีต่อผู้ให้การปรึกษา จะเห็นได้ว่าการสะท้อนคิดมีส่วน
ช่วยให้นักศึกษาได้สํารวจตนเอง ทั้งในมุมของผู้ให้การปรึกษาและผู้รับบริการ แต่อาจจะมีข้อจํากัดหากใช้วิธีการนี้ อาจต้องใช้เวลาพอสมควรในการสะท้อนคิดนักศึกษาทุกคน (เนื่องจากกลุ่มของนักศึกษามีขนาดใหญ่) ซึ่งผลการประเมินรายวิชาที่ผ่านมานักศึกษาได้เรียนรู้การให้การปรึกษาในภาคทดลองมากกว่าในภาคทฤษฎีเนื่องจากเป็นการลงมือปฏิบัติจริง
การเรียนรู้แบบสะท้อนคิด (Reflective thinking) ตามแนวคิดของ อ.ดร.ดุจเดือน เขียวเหลือง จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ประกอบด้วย ๗ ขั้นตอน ได้แก่ ๑) อธิบายสถานการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้น ๒) อธิบายความรู้สึกต่อสถานการณ์ ๓) บอกแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อที่สนับสนุนการกระทำ ๔) เปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย ๕) จัดลำดับความคิดและสรุปแนวคิดรวบยอด ๖) นำข้อสรุปไปปฏิบัติ และ๗) สะท้อนคิดการเรียนรู้/ประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิม
ซึ่งจากการนำมาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการ เกิดผลผลลัพธ์ในทางที่ดีต่อนักศึกษา เช่น นักศึกษากล้าแสดงความคิดเห็น วิเคราะห์ และบอกความรู้สึกของตนเองได้มากขึ้น
การจัดการเรียนการสอนเพื่อการสะท้อนคิด ช่วยพัฒนาทักษะด้านปัญญาที่เป็นสมรรถนะที่จำเป็นของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ แนวทางการจัดการเรียนการสอนต้องมีการเตรียมการทั้งด้านผู้สอนและผู้เรียน ด้านผู้สอนต้องพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่มีทักษะของการสะท้อนคิด โดยผู้สอนต้องเป็นผู้ที่ใจกว้าง มีความสามารถในการตั้งคำถามชวนคิด เป็นคนที่ยืดหยุ่น และอยู่กับปัจจุบันขณะได้ตลอดเวลา มีความจริงใจตรงไปตรงมา และเป็นผู้ที่มีทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดีด้วยการฟังอย่างตั้งใจ ส่วนผู้เรียนนั้น ต้องเป็นคนที่เข้าใจตนเอง กล้าหาญในการแสดงความคิดเห็น หรือบอกเล่าบรรยายความรู้สึกของตนเองได้อย่างตรงไปตรงมา มีความคิดอย่างเป็นระบบได้
การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด(Reflective thinking) โดยสิ่งที่สำคัญควรมีการพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียนและผู้สอนควบคู่กันไป How to (ทำอย่างไร) เพื่อให้เกิดความสามารถในการมองเห็นตนเองภายใต้บริบทจากประสบการณ์ของตนเอง ด้วยวิธีการเผชิญ เข้าใจ และแก้ไขปัญหาจากการปฏิบัติของตนเองทั้งที่ต้องการและจากการปฏิบัติจริง ดังนั้นการฝึกการสะท้อนคิดที่ดีของผู้เรียนควรฝึกการมีสติสมาธิและการฝึกการวิเคราะห์ร่วมด้วย ส่วนผู้สอนควรมีคุณลักษณะที่เป็นผู้ฟังที่ดีและมีการกระตุ้นโดยใช้คำถามชวนให้คิดวิเคราะห์ตลอด จึงจะทำให้เกิดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิดอย่างแท้จริง อ.พัชรินทร์ วงษ์สว่าง
ได้นำวิธีการเรียนการสอนแบบการสะท้อนคิดไปใช้ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 3 (ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยในชุมชน) พบว่าผู้เรียนสามารถอธิบายสถานการณ์ เรื่องราวที่พบเจอได้ บอกและสะท้อนอารมณ์ของตนขณะเผชิญสถานการณ์นั้นๆได้ รู้จักการตั้งคำถามที่เป็นคำถามปลายเปิด ต่อยอดไปสู่การค้นหาคำตอบด้วยวิธีการต่างๆได้ รวมถึงมีแนวคิดในการที่จะพัฒนาต่อยอดในการพัฒนาตนเองได้ โดยส่วนตัวชอบวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบนี้เพราะสามารถประเมินผู้เรียนได้จากให้สะท้อนโดยการพูดคุยและการเขียน
การนำแนวคิดการสะท้อนคิดมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ ทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้จากการสะท้อนคิด สะท้อนได้จริงและมีความแตกต่างระหว่างผู้สอน
การสะท้อนคิด หรือ Reflective practice หรือ reflection หมายถึง สิ่งที่สะท้อนการกระทำที่ผู้ปฏิบัติสามารถมองเห็นตนเองภายใต้บริบทจากประสบการณ์ของตนเอง ด้วยวิธีการเผชิญ เข้าใจ และแก้ไขปัญหาจากการปฏิบัติงานของตนเองทั้งที่ต้องการและจากการปฏิบัติจริง ทำให้มนุษย์เป็นอิสระจากการกระทำแบบเดิมๆ สามารถคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
จากการนำแนวคิดการสะท้อนคิดไปใช้การสะท้อนคิดในรายวิชาการปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้น หอผู้ป่วยศัลยกรรมอุบัติเหตุ พบว่านักศึกษาอธิบายสถานการณ์ เรื่องราวเหตุการณ์ฉุกเฉินที่พบเจอ และสะท้อนอารมณ์ของตนขณะเผชิญสถานการณ์นั้นๆได้ และวางแผนการรักษาพยาบาลเบืื้องต้น การแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าจากการเรียนรู้จากกระบวนการสะท้อนคิด
การสะท้อนคิด ตามขั้นตอน 7 ตอน ในขั้นตอน ๓) บอกแนวคิด/หลักการ/ความเชื่อที่สนับสนุนการกระทำ ๔) เปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย ๕) จัดลำดับความคิดและสรุปแนวคิดรวบยอด ๖) นำข้อสรุปไปปฏิบัติ เป็นกิจกรรม ที่จะช่วยให้นักศึกษามีแนวคิดในการทำงาน โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ซึ่งมีความจำเป็นในการทำงานในยุคปัจจุบัน พร้อมกับยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างกัน และสังเคราห์ความรู้ที่ได้นำนำไปสู่การปฏิบัติ เป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาให้เกิดขึ้นกับนักศึกษาทุกคน โดยอาจารย์ผู้สอน ต้องเปิดใจกว้างในเรียนรู้กับนักศึกษา โดยไม่ยึดติดคำตอบในตำรา
การสะท้อนคิดทั้ง 7 ขั้นตอน นับเป็นกระบวนการที่ดี ทำให้นศ.เกิดการเรียนรู้ และสามารถคิดนอกกรอบของตำราได้อย่างหลากหลายภายใต้หลักฐานที่นำมาอ้างอิง จนเกิดเป็นแนวคิดหรือวิธีการใหม่ที่นำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วย โดยเฉพาะในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน ๑
การสะท้อนคิด เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบหนึ่งที่เหมาะสมในการนิเทศนักศึกษาภาคปฏิบัติ เพราะเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ผุู้เรียนสามารถสะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้น ความรู้สึก และการปรับปรุงพัฒนาตนเองจากประสบการณ์ที่พบเจอ สิ่งสำคัญของการสะท้อนคิดอย่างหนึ่งคือ การ feedback จากอาจารย์ผู้สอน ต้องทำทันทีเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ถูกต้อง
การเรียนรู้แบบสะท้อนคิด (Reflective thinking) ตาม 7 ขั้นตอน เป็นแนวคิดที่ดีที่จะช่วยให้นักศึกษาสามารถระบุปัญหา วิเคราะห์ปัญหา และหาแนวทางการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีเหตุผล โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ การเปิดใจรับฟังอย่างไม่ตัดสินเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้นักศึกษากล้าคิดและกล้าแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ นำไปสู่การพัฒนาด้านกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
วิชาชีพการพยาบาลเป็นวิชาชีพที่ต้องปฏิบัติงานในสถานการณ์ที่หลากหลาย และเกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ ซึ่งต้องปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การเรียนรู้จากประสบการณ์หรือการสะท้อนคิดจากการปฏิบัติ จึงมีความสำคัญต่อการคิด ตัดสินใจ แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆซึ่งจะช่วยให้เกิดทักษะในการแก้ปัญหาที่ยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง รวมทั้งช่วยให้เข้าใจเหตุผลของการปฏิบัติได้ดีขึ้น
การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด ผู้ที่เป็นผู้สอนต้องเข้าใจกระบวนการสะท้อนคิดอย่างชัดเจน เพื่อที่จะดำเนินการในการเรียนการสอนให้นักศึกษาเกิดการสะท้อนคิดโดยธรรมชาติที่เกิดจากความคิดของนักศึกษาเอง ผลจากการการสะท้อนคิดออกมาจากนักศึกษานั้นจะสามารถทำให้ทราบความคิด การตัดสินใจ การแก้ปัญหาที่แท้จริง นอกจากนี้นักศึกษาต้องพร้อมยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างกัน และทำความเข้าใจที่จะนำความรู้ที่ได้นำไปสู่การปฏิบัติด้วย
การสะท้อนคิดหมายถึ ง กระบวนการคิดไตร่ตรองทบทวน พินิจพิเคราะห์และพิจารณาสิ่งต่างๆอย่างเป็ นระบบเกี่ยวกับประสบการณ์ที่เกิดขึ้น ทําให้เกิด
ความเข้าใจที่ลึกซึ้งในเรื่องนั้นๆจนเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆอันนําไปสู่การแก้ปั ญหานั้นๆในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ2,4-5ดังนั้นการจัดการเรี ยนการสอนโดยใช้
เทคนิ คการสะท้อนคิด จึ งหมายถึง กลวิธี ที่ครู ผู้สอนนํามาใช้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการคิดพิจารณาประสบการณ์ที่ผ่านมาอย่างรอบคอบ จนทําให้เกิดการเรี ยนรู้ที่จะนําไปปรับปรุ งการปฏิบัติงานของตนเองในอนาคตให้ดีขึ้น
การเรียนการสอนแบบสะท้อนคิดที่ได้นำไปใช้ในการสอนเป็นการสะท้อนคิดในเหตุการณ์หรือสถานการณ์จำลอง คือ reflection on action เป็นการสอนให้นักศึกษาได้คิดอย่างใคร่ครวญ พิจารณาไตร่ตรองในเหตุการณ์นั้นๆ ถ้าเราให้ผู้เรียนได้คุ้นชินกับการคิดแบบนี้โดยฝึกให้สะท้อนคิดแบบ on action ไปบ่อยๆ ก็จะทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะการสะท้อนคิด เมื่อไปเจอเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันในอนาคต ผู้เรียนก็สามารถใช้กระบวนการสะท้นคิดในเหตุการณ์ปัจจุบันได้อย่างพินิจพิเคราะห์และเหมาะสม ซึ่งเรียกว่าเป็น reflection in action
ได้นำแนวคิดการสะทอ้นคิดไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน พบว่าช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ด้วยเพราะการที่จะสะท้อนคิดได้ ต้องมีการรวบรวมข้อมูลและคิดวิเคราะห์ก่อน การเรียนวิธีนี้จะช่วยให้เกิดความรู้ที่ยั่งยืน
การสะท้อนคิดเป็นสิ่งที่มีประโยชน์เนื่องจาก…
การสะท้อนคิดในการปฏิบัติต้องมีเพราะมีช่องว่างระหว่างสิ่งที่เรียนในห้องเรียนและการปฏิบัติ
การสะท้อนคิดเป็นการสร้างเสริมพลังอำนาจ (empowerment) เพราะนักศึกษาต้องติดต่อสื่อสารกับผู้รับบริการและวิชาชีพอื่น
การสะท้อนคิดเป็นการส่งเสริมการคิดแบบวิจารณญาณ ช่วยให้เกิดการปรับเปลี่ยน
การนำแนวทางการสะท้อนคิดมาใช้ในการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ เป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพการสอนทางการพยาบาลที่ต้องการเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ของนักศึกษา ในการเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเองและของเพื่อนในกลุ่ม เพื่อก่อ่ให้เกิดความสามารถในการคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหาและสามารถประยุกต์ทฤษฎีที่ได้เรียนมาสู่การปฏิบัติการพยาบาลได้ การสะท้อนคิดเกิดจากตัวผู้เรียนเองที่รับรู้ข้อมูล ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งในภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ แล้วจึงนำสถานการณ์นั้นมาคิด วิเคราะห์ใคร่ครวญตามความคิดความเข้าใจของตนเอง ก่อนที่จะบอกต่อผู้อื่นโดยผ่านทั้งทางการพูดและการเขียนวิธีการสะท้อนคิดนี้ จึงเป็นการพัฒนาผู้เรียนทั้งวิธีการคิด และทักษะทางปัญญา เป็นการพัฒนาการเรียนรู้ ที่จะสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาสาระเข้าด้วยกัน จนเกิดเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง นอกจากนี้วิธีการสะท้อนคิดจะได้ผลดีต้องเกิดจากการรับรู้ ความเข้าใจตนเองเป็นสำคัญ มีการสะท้อนที่เป็นเหตุเป็นผล เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม ในการใช้วิธีการสอนโดยกระตุ้นให้เกิดการสะท้อนคิดในผู้เรียนนั้น ผู้สอนบนคลินิกมีความสำคัญในการช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าและความสำเร็จของผู้เรียน ด้วยการเป็นแรงเสริม ช่วยเหลือ ประสานงานด้านต่างๆ ให้คำปรึกษาแนะนำโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง กระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการคิด ใช้ปัญญาเพื่อการเรียนรู้ที่ยั่งยืนและมีความสุขในการเรียน นำไปสู่การเป็นพยาบาลวิชาชีพที่มีความรู้ความสามารถต่อไปในอนาคต
จากข้อสรุปของชุมชนนักปฏิบัติ ทำให้ได้แนวทางในการใช้ reflection ในการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ ซึ่งเป็นการสอนนักศึกษาจำนวนน้อยสามารถสอนได้ใกล้ชิด สามารถ reflect ได้แบบตัวต่อตัว ซึ่งสามารถแระยุกต์ใช้ในการใช้กระบวนการพยาบาลในการดูผู้ป่วย ซึ่งแทรกไปในกิจกรรมการ pre – post conference และการทำ nursing round ที่สามารถใช้กระบวนการสะท้อนคิดในการวางแผนการพยาบาล และติดตามความก้าวหน้า รวมถึงการประเมินและปรับกิจกรรมการพยาบาลให้กับผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมตรงตามสภาพปัญกาของผู้ป่วยที่นักศึกษาเห็นตรงหน้า โดยที่ไม่ต้องให้เขียน reflection ส่ง สามารถที่จะ reflect ได้ทีนทีทีนสถานการณ์ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการ reflect ต้องสะท้อนบนพื้นฐานของความรูเป็นสำคัญควบคู่ไปกับความรู้สึกด้วย knowlege with felling จะช่วยพัฒนากระบวนการคิดของนักศึกษาได้อย่างดี