รายงานการประชุมชุมชนนักปฏิบัติการจัดการความรู้ PBL ครั้งที่…1…/2561 วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2561
รายงานการประชุมชุมชนนักปฏิบัติการจัดการความรู้ PBL
ครั้งที่…1…/2561 วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2561
ณ ห้องประชุมกลุ่มงานอำนวยการและยุทธศาสตร์
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
รายนามผู้เข้าประชุม
1. นางศศิธร ชิดนายี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
2. นางนิศารัตน์ นาคทั่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
3. นางสาวเสาวลักษณ์ เนตรชัง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
4. นางสาวนัยนา อินธิโชติ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
5. นายไพทูรย์ มาผิว พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
6. นางสาวนัยนา แก้วคง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
7. นางอรุณรัตน์ พรมมา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
8. นางสาววิภาวรรณ นวลทอง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
9. นายวีระยุทธ อินพะเนา พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
10. นางสาวนันทกาญจน์ ปักษี พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
รายนามผู้ไม่เข้าร่วมประชุม
ไม่มี
ผู้เข้าร่วมประชุมคิดเป็น ร้อยละ 100
เปิดการประชุมเวลา 13.00 น.
ประธานการประชุม -
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
- ไม่มี -
ระเบียบวาระที่ 2 รับรองรายงายการประชุม
- ไม่มี -
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่อง
- ไม่มี -
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องแจ้งเพื่อทราบอื่นๆ
- ไม่มี -
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องเพื่อพิจารณา
- ไม่มี -
ระเบียบวาระที่ 6 เรื่องอื่นๆ
1. การจัดการความรู้
ผู้รับผิดชอบรายวิชามโนมติ ทฤษฎี และกระบวนการพยาบาล ได้ดำเนินการให้ผู้สอน ร่วมกันแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากประสบการณ์ ความรู้ และทักษะ จากการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem – Based Learning [PBL]) มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 รายวิชา มโนมติ ทฤษฎี และกระบวนการพยาบาล เรื่อง กระบวนการพยาบาล ปีการศึกษา 2560 (หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2555) โดยอาจารย์ผู้เข้าร่วมได้แบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ ความรู้ และทักษะของตนเองอย่างกว้างขวาง สามารถถอดบทเรียน ดังนี้
1.1 สรุปผลการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติที่ดี “การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem – Based Learning [PBL])” พบว่า ขั้นตอนการดำเนินการ ยังคงประกอบด้วย 3 ขั้นตอน 1) ขั้นเตรียมการ 2) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL) และ 3) ขั้นประเมินผล และในแต่ละขั้นตอนย่อยๆ ของขั้นตอนหลักนั้น โดยภาพรวม อาจารย์ผู้ร่วมสอบแบบ PBL เห็นว่า มีความชัดเจน เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ดีได้
1.2 รายละเอียดข้อค้นพบปลีกย่อยเพิ่มเติม ดังนี้
1) ขั้นที่ 1 : เตรียมการ ข้อที่ 2 สร้างโจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) พบข้อเสนอแนะที่ดีจากการปฏิบัติประเด็นย่อยเกี่ยวกับการสร้างโจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) ว่า Triggers ที่ดี นอกจากการมีลักษณะ/คำนึงความครบถ้วน ได้แก่ 1) สร้างมาจากวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (objective learning) ที่จำเป็น หรือพิจารณาถึงความครอบคลุมของวัตถุประสงค์การเรียนรู้ สำหรับผู้เรียนของรายวิชานั้นๆ 2) ไม่เกินความสามารถด้านประสบการณ์ ความรู้ ทักษะที่เป็นพื้นฐานเดิมของผู้เรียน 3) มีความคล้ายคลึงหรือเสมือนจริงตามสถานการณ์ที่ต้องการ 4) มีเนื้อหา/เหตุการณ์ที่น่าสนใจ หรือกระตุ้น ดึงดูด หรือรุกเร้า ความสนใจใฝ่รู้ใฝ่เรียนของผู้เรียน และ 5) มีคำถามกระตุ้น (trigger question) ผู้เรียนแล้ว ยังมีสิ่งที่ต้องกระทำเพื่อให้ได้โจทย์ปัญหาที่ดี คือ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมวิพากษ์ ร่วมปรับปรุงโจทย์ปัญหา โดยผู้ร่วมสอนทุกคนอย่างจริงจัง เข้มข้น ซึ่งในส่วนนี้ คณาจารย์ในภาควิชาฯ ได้ร่วมกันแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ที่มีเกี่ยวกับการสร้างโจทย์ปัญหาที่ดี ปรับปรุงโจทย์ปัญหาอีกครั้ง จนได้โจทย์ปัญหาใหม่ ภายใต้การตอบคำถามเกี่ยวกับคุณลักษณ์และความครบถ้วนของโจทย์ปัญหาที่ดี ดังนี้
โจทย์ปัญหา
“ทำไมคุณยายจึงล้ม”
พยาบาล ก. รับใหม่ผู้ป่วยสูงอายุ ขณะผู้ป่วยเดินมากับเจ้าหน้าที่ พยาบาล ก. เห็นว่าผู้ป่วยเดินมาเอง จึงหยิบเสื้อผ้าให้ และให้ไปเปลี่ยนในห้องน้ำ ทันใดนั้นเองก็มีเสียงดัง “โครม!” พยาบาล ก. จึงรีบไปดูในห้องน้ำ พบว่า ผู้ป่วยผู้สูงอายุล้มก้นกระแทกในห้องน้ำ ลุกเดินไม่ได้
พยาบาลสมศรี พยาบาลหัวหน้าตึก ทราบเรื่อง จึงถามพยาบาล ก. ว่าเพราะอะไร จึงไม่ประเมินสภาพผู้ป่วยก่อนที่จะให้ไปเปลี่ยนเสื้อผ้าในห้องน้ำ รู้มั้ยคุณยายตามัว มองไม่ค่อยเห็น 11 แบบแผนกอร์ดอนทำไมไม่ใช้ แล้วอย่างนี้จะใช้กระบวนการพยาบาลดูแลผู้ป่วยได้อย่างไร
แนวทางการตั้งคำถามจากโจทย์สู่การกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้สำหรับอาจารย์
ปัญหาจากโจทย์
(Cue recognition or problem) |
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
(Learning Objective) |
คำถามนำ
(Trigger Question) |
หลังจากผู้เรียนอ่านโจทย์ปัญหาจบ | วิเคราะห์ Trigger มีข้อมูลใดบ้าง ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาล | |
ผู้ป่วยผู้สูงอายุล้มก้นกระแทกใน
ห้องน้ำ ลุกเดินไม่ได้ |
1. การประเมินสภาพผู้ป่วยโดยใช้เครื่องมือ 11 แบบแผนสุขภาพ กอร์ดอน
|
มีทั้งหมดกี่แบบแผน อะไรบ้าง |
2. การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย
2.1 ความหมาย ความสำคัญและแนวคิดของกระบวนการพยาบาล 2.2. ขั้นตอนของกระบวนการพยาบาล
2.3 ลักษณะเชิงวิทยาศาสตร์และสังคมของกระบวนการพยาบาล 2.4 การบันทึก และการรายงาน |
|
แนวทางการระบุปัญหา วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา การตั้งสมมุติฐาน และกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้สำหรับอาจารย์
ปัญหาจากโจทย์ | สาเหตุของปัญหา | สมมุติฐาน | วัตถุประสงค์การเรียนรู้
(Learning Objective) |
ผู้ป่วยผู้สูงอายุล้มก้นกระแทกในห้องน้ำ
ลุกเดินไม่ได้ |
|
1. การประเมินสภาพผู้ป่วยโดยใช้ 11 แบบแผนสุขภาพกอร์ดอนก่อนปฏิบัติการพยาบาลจะช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในผู้ป่วย | 1. การประเมินสภาพผู้ป่วยโดยใช้เครื่องมือ
11 แบบแผนสุขภาพกอร์ดอน
|
2. การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยจะทำให้การปฏิบัติการพยาบาลเป็นไปอย่างมีคุณภาพและบรรลุเป้าหมาย | 2. การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย
|
2) ขั้นที่ 1 : เตรียมการ เพิ่มเติมข้อที่ 3 คือ การสร้างสื่อวีดีทัศน์ (VDO) หรือการเลือกใช้สื่อวีดีทัศน์เรื่องการเรียนรู้แบบ PBL ที่เหมาะสม สำหรับนักศึกษาเพื่อการเรียนรู้กระบวนการ ขั้นตอน หรือแนวทางการเรียนรู้แบบ PBL อันจะนำไปสู่การกำหนดบทบาทของตนเอง การเตรียมตนเอง หรือการพัฒนาตนเองสู่เส้นทางการเรียนรู้ตามกระบวนการ PBL ให้บรรลุผลลัพธ์ของการเรียนรู้ตามที่ตั้งไว้
3) ขั้นที่ 2 : การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL) ใน Step 6 : Collect additional information outside the group ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลนอกกลุ่มโดยต่างคนต่างแยกย้ายกันหาความรู้จากแหล่งวิทยาการต่างๆ ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้ จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พบข้อเสนอแนะที่ดีจากการปฏิบัติ คือ ขั้นตอนนี้ แม้จะเป็นการให้นักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง แต่ครู/ผู้สอน ควรเพิ่มเติมบทบาทที่สำคัญอีกประการ คือ ผู้สอนจะต้องคอยกำกับและติดตามเพื่อให้นักศึกษาดำเนินการค้นคว้าอย่างเหมาะสม มีทิศทางการหาคำตอบที่ถูกต้อง ตรงประเด็น จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและน่าเชื่อถือ
4) ขั้นที่ 3 : การประเมินผล จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พบข้อเสนอแนะที่ดีจากการปฏิบัติ คือ การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ (summative evaluation) ตามที่กำหนด เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการแบบ PBL ได้แก่ 1) ความรู้ 2) ความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) ความสามารถในการแก้ปัญหา 4) ความสามารถในการทำงานเป็นทีม และ 5) ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
มติที่ประชุม 1. รับรองการสรุปผลการถอดบทเรียนเพิ่มเติม และให้นำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนรายวิชา มโนมติ ทฤษฎี และกระบวนการพยาบาล เรื่อง กระบวนการพยาบาล สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2560 (หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2555) ต่อไป
2. ให้ขยายผลการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติ : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning : กระบวนการการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem – Based Learning : PBL) ในรายวิชา มโนมติ ทฤษฎี และกระบวนการพยาบาล เรื่อง กระบวนการพยาบาล สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2561 (หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560)
ปิดการประชุมเวลา 16.00 น.
ลงชื่อ……………………………………………….ผู้บันทึกรายงานการประชุม
(นางสาวนัยนา แก้วคง)
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
วันที่…………./…………………../…………….
สรุปผลการถอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้
ภาควิชา การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
แนวปฏิบัติ : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning :
กระบวนการการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem – Based Learning : PBL)
[ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 6 : 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560]
แนวปฏิบัติ : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning : กระบวนการการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหา เป็นหลัก (Problem – based Learning : PBL) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 6 ได้พัฒนาขึ้นจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณาจารย์ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ภายใต้กระบวนการจัดการความรู้ (KM) อย่างต่อเนื่อง ภายหลังการนำไปใช้จริงในการจัดการเรียนการสอน ครั้งที่ 4 ในรายวิชา มโนมติ ทฤษฎี และกระบวนการพยาบาล เรื่อง กระบวนการพยาบาล สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โดยแนวปฏิบัติฉบับปรับปรุง มีรายละเอียด ดังนี้
การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning คือ กระบวนการหรือรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองอย่างกระตือรือร้นและใฝ่รู้ ทั้งคิด ทำ ค้นคว้า แก้ปัญหา และสร้างสรรค์การเรียนรู้อย่างอิสระ ฯลฯ โดยผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้ช่วยเหลือเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem–based Learning : PBL) คือ วิธีการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาหรือสถานการณ์เป็นจุดเริ่มต้นและกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการใฝ่หาความรู้เพื่อแก้ปัญหา โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการแสวงหาและรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมภายในกลุ่มผู้เรียนโดยผู้สอนมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องน้อยที่สุด
ขั้นตอนการดำเนินการ
การดำเนินการจัดการเรียนรู้แบบ PBL แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 : เตรียมการ
ขั้นเตรียมการนี้ถือว่าเป็นระยะที่มีความสำคัญ ซึ่งการเตรียมการที่ดีจะช่วยให้การเรียนการสอนแบบ PBL ประสบความสำเร็จ บรรลุตามเป้าหมายและผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้ โดยการเตรียมการที่ต้องกระทำ ภายใต้การมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งของผู้สอน ได้แก่
1. จัดทำคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL สำหรับครู/ผู้สอน/ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) และผู้เรียน โดยมีหลักการ ดังนี้
1.1 คู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL
1) คู่มือสำหรับผู้เรียน ควรประกอบด้วย 1) ขั้นตอนการเรียนรู้แบบ PBL 2) โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) และ 3) แบบประเมินหรือเครื่องต่างๆ ที่สำหรับประเมินผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้รายบท และการเรียนรู้แบบ PBL
2) คู่มือสำหรับครู/ผู้สอน/ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) ควรประกอบด้วย 1) ขั้นตอนการเรียนรู้แบบ PBL 2) โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) 3) แบบประเมินหรือเครื่องมือต่างๆ สำหรับประเมินผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้รายบท/เนื้อหา และการเรียนรู้แบบ PBL และ 4) เนื้อหาสาระหลัก/ที่จำเป็น สำหรับการอธิบายเชื่อมโยงหรือตอบโจทย์ปัญหา หรือ Triggers นั้นๆ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้สอนทั้งนี้เพราะผู้สอนแต่ละคนมีความความรู้ ความเข้าใจ และลุ่มลึกในเนื้อหาสาระและประสบการณ์แตกต่างกัน ดังนั้น การที่ผู้สอนร่วมกันกำหนดเนื้อหาสาระที่จำเป็นอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และนำกลับไปทบทวนอย่างจริงจัง ย่อมสร้างความเข้าใจในเนื้อหาได้ชัดเจน เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง เมื่อเข้ากลุ่มกับนักศึกษา
1.2 กระบวนการให้ได้มาซึ่งคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBLที่มีคุณภาพ ต้องมีจุดเน้นที่สำคัญ คือ กระบวนการจัดทำแบบมีส่วนร่วมของทีมผู้ร่วมสอน ทั้งนี้เพราะการมีส่วนร่วม จะช่วยสร้างความกระจ่างชัดในการกระทำ หรือเกิดความเข้าใจร่วมกันอย่างชัดแจ้ง มีทิศทาง/เข็มมุ่งเดียวกัน ทั้งแนวทางการปฏิบัติเชิงระบบและรายละเอียดปลีกย่อยในคู่มือ/การจัดการเรียนการสอนแบบ PBL ซึ่งเชื่อว่าเป็นวิธีทางหนึ่งที่นำครูเข้าสู่ความเชี่ยวชาญมีมาตรฐานในการสอน
2. สร้างโจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) โดย Triggers ที่ดี ควรมีลักษณะ/คำนึงความครบถ้วน/ประเด็นเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
2.1 สร้างมาจากวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (objective learning) ที่จำเป็น หรือพิจารณาถึงความครอบคลุมของวัตถุประสงค์การเรียนรู้ สำหรับผู้เรียนของรายวิชานั้นๆ
2.2 ไม่เกินความสามารถด้านประสบการณ์ ความรู้ ทักษะที่เป็นพื้นฐานเดิมของผู้เรียน
2.3 มีความคล้ายคลึงหรือเสมือนจริงตามสถานการณ์ที่ต้องการ
2.4 มีหัวเรื่องและเนื้อหา/เหตุการณ์ที่น่าสนใจ หรือกระตุ้น ดึงดูด หรือรุกเร้าความสนใจใฝ่รู้ใฝ่เรียน เช่น เป็นเหตุการณ์ที่กำลังได้รับความสนใจในปัจจุบัน เหตุการณ์ร่วมสมัย เป็นต้น
2.5 ประเด็นพิจารณาเพิ่มเติมเพื่อเติมเต็มการเรียนรู้ ดังนี้
(1) ควรมีคำถามกระตุ้น (trigger question) เพื่อช่วยให้ tutor ใช้ในการถามกระตุ้นนักศึกษาให้คิดไปตามแนวทางหรือการอภิปรายดำเนินไปสู่วัตถุประสงค์ของโจทย์ปัญหาที่กำหนดไว้
(2) สร้างสถานการณ์เสมือนจริง (Simulation Based Learning) หรือผู้ป่วยเสมือนจริง เพื่อเสริมสร้างความมีชีวิตชีวา (ความสด) ของโจทย์ปัญหา ทำให้โจทย์น่าสนใจ มีการสื่อสารสองทาง (two way communication) กระตุ้นการสร้างมโนทัศน์การรับรู้และความเข้าใจในโจทย์ปัญหาได้ดีขึ้น
(3) ตรวจสอบคุณภาพของโจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (triggers) โดยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อสร้างมาตรฐานของเครื่องมือ สำหรับการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ
3. การสร้างสื่อวีดีทัศน์ (VDO) หรือการเลือกใช้สื่อวีดีทัศน์เรื่องการเรียนรู้แบบ PBL ที่เหมาะสม สำหรับนักศึกษาเพื่อการเรียนรู้กระบวนการ ขั้นตอน หรือแนวทางการเรียนรู้แบบ PBL อันจะนำไปสู่การกำหนดบทบาทของตนเอง การเตรียมตนเอง หรือการพัฒนาตนเองสู่เส้นทางการเรียนรู้ ตามกระบวนการ PBL ให้บรรลุผลลัพธ์ของการเรียนรู้ตามที่ตั้งไว้
4. เตรียมครู/ผู้สอน ดังนี้
4.1 ประชุมทีมครูผู้สอนเพื่อสร้างความเข้าใจในขั้นตอน PBL และบทบาทของครู/ผู้สอนตามเจตนารมณ์ของการเรียนรู้แบบ PBL คือ ครู/ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่นักศึกษา (facilitator) ดังแนวคิดที่ว่า “Teach less learn more”
4.2 ฝึกทักษะการตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดอย่างต่อเนื่อง รอบคอบ ต่อยอด เป็นระบบ
4.3 จัดสัดส่วนครูต่อนักศึกษาที่เหมาะสม คือ 1 : 5-12 คน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป
5. เตรียมผู้เรียน ดังนี้
5.1 วางแผนแบ่งกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสม
1) ได้สัดส่วนครูต่อนักศึกษาที่เหมาะสม คือ 1 : 5-12 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป
2) คละเด็กเรียนเก่ง-ปานกลาง-อ่อน ตลอดจนเด็กที่มีประสบการณ์ ที่เกี่ยวข้องนั้นๆ ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน โดยเด็กที่เก่งและหรือเด็กที่มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องตามโจทย์ปัญหานั้นๆ จะเป็นตัวกระตุ้นพลวัตกลุ่ม (group dynamics) ทำให้สมาชิกกลุ่มได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
5.2 ฝึกทักษะการอ่านและสรุปความจากเนื้อหาที่อ่าน ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่ง และนักศึกษาต้องใช้ตลอดการเรียนรู้แบบ PBL
5.3 สร้างความเข้าใจในขั้นตอนและบทบาทของผู้เรียนตามกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL แก่ผู้เรียน
5.4 สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้แบบ PBL โดยการเน้นกระบวนการเสริมพลังการเรียนรู้ (Empowerment) แก่นักศึกษา ก่อนเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ทั้งนี้เพราะการ Empowerment จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และส่งเสริมให้นักศึกษามีอิสระในการปฏิบัติและเรียนรู้ หรือปลดปล่อยความรู้สึกที่ถูกคุกคามจากการบีบบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ สิ่งที่น่าเบื่อ เป็นสิ่งที่ดึงดูด และน่าสนใจที่เข้าไปเรียนรู้
5.5 สร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรและปลอดภัยแก่ผู้เรียน เพราะบรรยากาศที่เป็นมิตร จะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้สึกอิสระ ปลอดภัย ไม่ถูกคุกคามหรือบีบบังคมให้ทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ อันจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเรียนด้วยตนเอง
ขั้นที่ 2 : การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL)
ครู/ผู้สอนดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามขั้นตอน PBL 3 ระยะ 7 ขั้นตอน ดังนี้
ระยะที่ 1 : เปิดโจทย์ปัญหา ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 – 5 ของ PBL ดังนี้
Step 1 : Clarifying terms and concepts ผู้เรียนทั้งกลุ่มร่วมกันอ่านโจทย์หรือสถานการณ์ทำความเข้าใจกับศัพท์และแนวคิดให้มีความเข้าใจที่ตรงกัน โดยในขั้นตอนนี้ สามารถเพิ่มกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เข้าใจโจทย์หรือสถานการณ์ปัญหาเสมือนหนึ่งเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ ให้มากที่สุดด้วยวิธีการให้นักศึกษาร่วมกันแสดงบทบาทสมมุติ (Role Play) ตามโจทย์ปัญหาที่กำหนดขึ้น ซึ่งวิธีการดังกล่าว นอกจากจะทำให้ผู้เรียนได้รู้สึกมีอารมณ์ร่วมตามบทบาทที่แสดงแล้ว ยังทำให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานเบิกบานจากการแสดงหรือกิจกรรมการเคลื่อนไหว ไม่เครียด ส่งผลให้ผู้เรียนไม่ถูกกดดัน และเปิดใจใฝ่รู้ใฝ่เรียนต่อเนื่อง
Step 2 : Identify the problem ผู้เรียนระบุปัญหาของโจทย์หรือสถานการณ์
Step 3 : Analyze the problem เรียนวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาความเชื่อมโยงของปัญหา โดยขั้นตอนนี้ สามารถใช้เทคนิค Mind map เป็นเครื่องมือให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงของปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะ Mind map จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการจัดระเบียบความคิดทั้งแบบคิดกว้างและคิดลึก ช่วยให้ผู้เรียนเห็นภาพรวมของความสัมพันธ์ของสถานการณ์/โจทย์จากกระดาษแผ่นเดียว ทำให้เข้าใจได้รวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังช่วยในการจับประเด็นสำคัญ สรุปสาระสำคัญนำมาสื่อสารให้ผู้อื่นสามารถจับต้อง เข้าใจและต่อยอดความรู้ได้ เป็นต้น
Step 4 : Formulate hypotheses ผู้เรียนตั้งสมมติฐานที่เป็นสาเหตุของปัญหาและจัดลำดับความสำคัญ
Step 5 : Formulating learning objective ผู้เรียนตั้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา
ระยะที่ 2 : ศึกษาหาความรู้ เป็นขั้นตอนที่ 6 ของ PBL คือ
Step 6 : Collect additional information outside the group ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลนอกกลุ่มโดยต่างคนต่างแยกย้ายกันหาความรู้จากแหล่งวิทยาการต่างๆ ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้ โดยในขั้นตอนนี้ แม้จะเป็นการให้นักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง แต่ครู/ผู้สอนควรมีบทบาทที่สำคัญ คือ การกำกับและติดตามเพื่อให้นักศึกษาดำเนินการค้นคว้าอย่างเหมาะสม มีทิศทางการ หาคำตอบที่ถูกต้อง ตรงประเด็น จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและน่าเชื่อถือ
ระยะที่ 3: ปิดโจทย์ปัญหาเป็นขั้นตอนที่ 7 ของ PBL คือ
Step 7 : Synthesize and test the newly acquired and identify information generalization and principles derived from studying this problem กลุ่มกลับมาพบกันใหม่สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา เพื่อพิสูจน์สมมติฐานและสรุปเป็นหลักการสำหรับการนำไปใช้ต่อไปในอนาคต
ขั้นที่ 3 : ประเมินผล ประกอบด้วย
1. ปัจจัยที่จำเป็นต้องพิจารณาประเมิน เพื่อการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการเรียนรู้ และควรพิจารณาประเมินให้ครอบคลุม 360 องศา โดยปัจจัยที่จำเป็นต้องพิจารณาประเมิน ประกอบด้วย
1.1 ด้านผู้เรียน อันจะนำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ ดังนี้
1.1.1 การประเมินผลระหว่างการเรียนการสอนเพื่อนำข้อมูลวางแผนพัฒนาผู้เรียนตามกระบวนการ PBL อย่างต่อเนื่อง (formative evaluation)
1.1.2 การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ (summative evaluation) ตามที่กำหนด เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการแบบ PBL ได้แก่ 1) ความรู้ 2) ความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) ความสามารถในการแก้ปัญหา 4) ความสามารถในการทำงานเป็นทีม และ 5) ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
1.2 ด้านครู/ผู้สอน จะมุ่งเน้นการประเมินประสิทธิภาพและคุณภาพของครู/ผู้สอนในบทบาทที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
1.3 ด้านคู่มือการเรียนการสอนแบบ PBL
1.4 โจทย์ปัญหา/สถานการณ์ (Triggers)
2. วิธีการวัดและประเมินผล โดยทีมผู้ร่วมสอนต้องร่วมกำหนดวิธีการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับรูปแบบ/กระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเฉพาะวิธีเชิงคุณภาพ : การสะท้อนคิด (Reflection) จากการมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในวิธีการที่ควรนำมาประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะรูปแบบการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน หรือการเขียนการเรียนรู้ ภายใต้คำถามกระตุ้นหรือนำสู่กระบวนการสะท้อนคิด ทั้งนี้ วิธีการประเมินผลแบบการสะท้อนคิดนั้น จะช่วยให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงคุณภาพที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบ PBLและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ผ่านการถ่ายทอดจากตัวผู้เรียนรายบุคคลสู่การรับรู้ของบุคคลอื่น ซึ่งการสะท้อนคิด ทั้งรูปแบบการเขียนและการพูด จะเป็นกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นให้นักศึกษา/อาจารย์/ผู้สอนได้ทบทวนและตระหนักรู้ในความรู้สึก ความคิดของตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการตระหนักรู้ดังกล่าว จะทำให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งในความเป็นไปของเหตุการณ์ ความเชื่อมโยงของเหตุการณ์ ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่การพัฒนา/ปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนแบบ PBL ให้มีคุณภาพต่อไป
คณาจารย์ประจำภาควิชา
การพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
ผู้ถอดบทเรียน
9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
จากการเข้ากลุ่ม PBL มาหลายปี พบว่าจำนวนผู้เรียนในแต่ละกลุ่มมีผลต่อกระบวนการกลุ่มและการเรียนรู้ค่อนข้างมาก เมื่อกลุ่มผู้เรียนมีขนาด 6-8 คนต่อกลุ่ม จะเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ผู้สอนจะสามารถกระตุ้นได้ทั่วถึงอีกด้วย
ขั้นที่1การเตรียมการจัดการเรียนการสอนแบบPBL เป็นการวางแผนรอบด้านเพื่อให้กระบวนการPBL ทุกระยะดำเนินไปอย่างสอดคล้องกับแนวคิดหลักการของการจัดการเรียนรู้แบบPBL
PBL เป็นรูปแบบของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้น และปัญหานั้นจะต้องมีทางเลือกหนทางในการแก้ไขปัญหาหลากหลายช่องทาง ผู้เรียนเป็นผู้แก้ปัญหาโดยการแสวงหาข้อมูลใหม่ ๆ ด้วยตนเอง PBL เป็นการฝึกให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์และคิดอย่างมuวิจารณญาณ แต่มีงานวิจัยพบว่านักศึกษาของสถาบันพระบรมราชชนกเกิดกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์จากกระบวนการการจัดการเรียนการสอนแบบ PBL น้อย ดังนั้นเราควรจะต้องมีการศึกษาวิจัยต่อไปว่า “การเรียนรู้แบบ PBL ที่จะส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์นั้นควรเป็นอย่างไร” เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาของสถาบันพระบรมราชชนกเกิดอัตลักษณ์ที่พึงประสงค์ต่อไป
PBL เป็นรูปแบบของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้น ผู้สอนเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่จะต้องมีลักษณะไม่กดดัน อดทนรอคำตอบ ที่ผู้สอนจะต้องกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดวิเคราะ์
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก PBL เ้ป็นการบูรณาการ (integration) ของวิธีการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาหรือสถานการณ์ กระตุ้นให้ผู้เรียนเเกิดการเรียนรู้โดยการกำกับตนเอง (self-directed learning) เกิดความต้องการในแก้ปัญหา (problem solving) เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการแสวงหาและรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมภายในกลุ่มผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อย (small group discussion) โดยผู้สอนมีส่วนร่วมในการกระตุ้นคำถาม สร้างแรงจูงใจ วางแผนเพื่อให้ผู้เรียนมีอิสระในการปฏิบัติและเรียนรู้ การวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับรูปแบบ/กระบวนการเรียนรู้แบบ PBL ในเชิงคุณภาพโดยการสะท้อนคิด (Reflection) เพื่อมาประยุกต์ใช้ต่อไป
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก ควรลดรูปแบบ โดยไม่จำเป็นต้องยึดกรอบความรู้ที่อาจารย์ผู้สอนให้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า ความเป็นไปได้อีกวิธีการหนึ่งคือ ให้นักศึกษาอ่านโจทย์แล้วให้พวกเขาได้กำหนดวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้จาก คำถามที่เกิดขึ้นจากการอ่านโจทย์ จากความเห็นของผู้เรียน ดังนั้นในโจทย์เดียวกัน วัตถุประสงค์การเรียนรู้หลัก อาจใกล้เคียงกัน แต่วัตถุประสงค์อื่นๆ อาจได้จากการเรียนรู้ และการช่างสงสัยต่อปัญหาจากโจทย์ของเขาเอง แม้ว่าแต่ละกลุ่มอาจเรียนรู้ไม่ครบตามวัตถุประสงค์ต่างกัน แต่ได้ main concept ที่ไม่ต่างกันมากนัก ก็น่าจะใช้ได้ เพราะในเหตุการณ์จริง ในเรื่องเดียวกัน สถานการณ์ต่างกัน การแก้ไขปัญหา ในโจทย์เดียวกัน แนวทางการปฏิบัติอาจแตกต่างกันไปบ้าง แต่เป้าหมายก็อาจจะคล้ายกัน คือ ผู้ป่วยรอดชีวิต หรือปลอดภัย เป็นต้น
การสอนโดยใช้รูปแบบ Problem-based Learning สิ่งที่ผู้สอนควรตะหนักถึงคือ การสอนด้วยวิธีนี้ไม่ใช่ “การสอนแบบแก้ปัญหา” (Problem solving method) ซึ่งเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อน เช่น สอนเนื้อหาไปบางส่วนก่อน จากนั้นก็ทดลองให้นักศึกษาแก้ปัญหาเป็นกลุ่มย่อย ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว เป็นวิธีสอนแบบแก้ปัญหาไม่ใช่การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานเป็นจัดการเรียนรู้ที่เน้นในสิ่งที่เด็กอยากเรียนรู้ โดยสิ่งที่อยากเรียนรู้ดังกล่าวจะต้องเริ่มมาจากปัญหาที่เด็กสนใจหรือพบในชีวิตประจำวันที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทเรียน อาจเป็นปัญหาของตนเองหรือปัญหาของกลุ่ม ซึ่งครูจะต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนการจัดการเรียนรู้ตามความสนใจของเด็กตามความเหมาะสม จากนั้นครูและเด็กร่วมกันคิดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับปัญหานั้น โดยปัญหาที่จะนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้บางครั้งอาจเป็นปัญหาของสังคมที่ครูเป็นผู้กระตุ้นให้เด็กคิดจากสถานการณ์ ข่าว เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น จะเน้นที่กระบวนการเรียนรู้ของเด็ก เด็กต้องเรียนรู้จากการเรียน (learning to learn) เน้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนในกลุ่ม การปฏิบัติและการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative Learning) นำไปสู่การค้นคว้าหาคำตอบหรือสร้างความรู้ใหม่บนฐานความรู้เดิมที่ผู้เรียนมีมาก่อนหน้านี้ จุดมุ่งหมายของการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน รูปแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานมีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลและเป็นระบบให้แก่นักเรียนโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ คิดวิจารณญาณ การสืบค้นและรวบรวมข้อมูล กระบวนการกลุ่ม การบันทึกและการอภิปราย
การเรียนการสอนแบบ PBL มีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการเรียนการสอนในสาขาการพยาบาล เนื่องจากการเรียนในยุคปัจจุบันจะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ สามารถวิเคราะห์จากหลักการแนวคิดทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติจริงได้ ผู้สอนจะต้องกระตุ้นผู้เรียนให้เกิด
การสืบค้นข้อมูลหรือข้อความรู้ที่ต้องการ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์และคิดแก้ปัญหา การจัดการเรียนรู้แบบ PBL ถือว่าเป็นวิธีการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนปฏิบัติด้วยตนเอง เผชิญหน้ากับปัญหาด้วยตนเอง จะทำให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะทางปัญญาในการคิดหลายรูปแบบ
เช่น การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem–based Learning : PBL) คือ วิธีการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาหรือสถานการณ์เป็นจุดเริ่มต้น และกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการใฝ่หาความรู้เพื่อแก้ปัญหา โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการแสวงหา และรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมภายในกลุ่มผู้เรียน โดยผู้สอนมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องน้อยที่สุด ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้สึกอิสระ ปลอดภัย ไม่ถูกคุกคามหรือบีบบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ อันจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเรียนด้วยตนเอง
บทบาทของผู้สอนในการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ผู้สอนจะทำหน้าที่สนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน คอยให้คำปรึกษา กระตุ้นให้ผู้เรียนนำความรู้เดิมที่มีอยู่มาใช้และเกิดการเรียนรู้โดยการตั้งคำถาม ส่งเสริมให้ผู้เรียนประเมินการเรียนรู้ของตนเอง รวมทั้งเป็นผู้ประเมินทักษะของผู้เรียนและกลุ่ม พร้อมให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการพัฒนาตนเอง
การเรียนการสอนแบบ PBL ที่ผู้สอนต้องเป็นผู้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยเฉพาะการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้แบบตรวจสอบสมมติฐานโดยใช้ evidence base เป็นการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดการคิดอย่างเป็นระบบและมีเหตุมีผล
การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานเป็นจัดการเรียนรู้ที่เน้นในสิ่งที่เด็กอยากเรียนรู้ โดยสิ่งที่อยากเรียนรู้ดังกล่าวจะต้องเริ่มมาจากปัญหาที่เด็กสนใจหรือพบในชีวิตประจำวันที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทเรียน อาจเป็นปัญหาของตนเองหรือปัญหาของกลุ่ม ซึ่งครูจะต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนการจัดการเรียนรู้ตามความสนใจของเด็กตามความเหมาะสม จากนั้นครูและเด็กร่วมกันคิดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับปัญหานั้น โดยปัญหาที่จะนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้บางครั้งอาจเป็นปัญหาของสังคมที่ครูเป็นผู้กระตุ้นให้เด็กคิดจากสถานการณ์ ข่าว เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น จะเน้นที่กระบวนการเรียนรู้ของเด็ก เด็กต้องเรียนรู้จากการเรียน (learning to learn) เน้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนในกลุ่ม การปฏิบัติและการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative Learning) นำไปสู่การค้นคว้าหาคำตอบหรือสร้างความรู้ใหม่บนฐานความรู้เดิมที่ผู้เรียนมีมาก่อนหน้านี้
การเรียนการสอนแบบ PBLเป็นการเรียนการสอนที่ดี ผู้สอนจะต้องเตรียมพร้อมและมีคู่มือการเข้าการเรียนการสอนเพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกัน นอกจากนี้นักศึกษาต้องมีความตื่นตัวอยู่เสมอ ถึงจะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ
ประสบการณ์การใช้ PBL ที่ผ่านมาได้ดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อประเมินการคิดอย่างมีวิจารณญาณ พบว่าการเรียนการสอนส่งเสรห้เกิด Critical thinking ได้ แต่ไม่ชัดเจน ทั้งนี้ปัญหาของผู้สอนที่สำคัญคือการใช้คำถามกระตุ้นการเรียนรู้ พบว่าผู้สอนยังมีความกังวลใจอยู่กับเนื้อหา ทำให้เกิดการบรรยายในชั่วโมง PBL
สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งในการเรียนแบบPBL คือการเตรียมนักศึกษาใหม่มีทักษะในการค้นหาจากแหล่งสืบค้นให้หลากหลาย รวมถึงเตรียมสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ให้เพียงพอต่อการศึกษา เช่น หนังสือ ผู้เชียวชาญในสาขาต่างๆที่นักศึกษาจะปรึกษาและหาความรู้ได้โดยตรง
การจัดการเรียนรู้แบบ PBL มีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลและเป็นระบบให้แก่นักศึกษา โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ คิดวิจารณญาณ การสืบค้นและรวบรวมข้อมูล กระบวนการกลุ่ม การบันทึก และการอภิปราย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
การจัดการเรียนรู้แบบ PBL เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับนักศึกษาเพราะจะสามารถทำให้นักศึกษามีการแก้ปัญหาได้อย่างสมเหตุสมผล แก้ปัญหาโดยมีการใช้วิจารณญาณและมีขั้นตอน ทำให้นักศึกษาเกิดทักษะและสามารถนำไปใช้ในการเรียนและในการดำเนินชีวิตได้
การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning : กระบวนการการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหา เป็นหลัก (Problem – based Learning : PBL) เป็นการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้โดยใช้ทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล โดยผู้สอนต้องเป็นผู้ที่คอยกระตุ้นการเรียนรู้ในการแก้ไขปัญหานั้นๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ภายในกลุ่มนั้น
การจัดการเรียนรู้แบบ pbl เป็นการกระตุ้นให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง อันจะทำให้นักศึกษามีความเจริญงอกงามทางความคิด และสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ได้ด้วยตนเอง
สิ่งสำคัญในการจัดการเรียนการสอนแบบPBL คือการเตรียมทรัพยากรทางการศึกษา และทักษะในการค้นคว้าของนักศึกษา อันจะทำให้ประสบผลสำเร็จในการเรียน