รายงานการประชุม การจัดการความรู้เรื่อง การเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๑
รายงานการประชุม
การจัดการความรู้เรื่อง การเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่
ครั้งที่ ๒/๒๕๖๑
วันพุธที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๑ ณ ห้องประชุมชั้น ๓ อาคาร ๑๐๐ ปีกระทรวงสาธารณสุข
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
รายชื่อผู้เข้าประชุม
๑. นางอนัญญา คูอาริยะกุล รองผู้อำนวยการกลุ่มงานวิชาการ
๒. นางสาวอลิษา ทรัพย์สังข์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๓. นางสาวนัยนา อินโชติ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๔. นางประภาพร มโนรัตน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๕. นายนภดล เลือดนักรบ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๖. นางสาวอัญชรี เข็มเพชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
๗. นายภราดร ล้อธรรมมา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
๘. นางจิราพร ศรีพลากิจ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๙. นางสาวดาราวรรณ ดีพร้อม พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
๑๐. นายนพรัตน์ สวนปาน พยาบาลวิชาชีพ
๑๑. นางวาสนา ครุฑเมือง ผู้ช่วยเลขานุการ
๑๒.นายอดุลย์ วุฒิจูรีพันธุ์ เลขานุการ
ร้อยละของจำนวนผู้เข้าประชุม ๖๐
ประธานที่ประชุม นางอนัญญา คูอาริยะกุล
เปิดประชุมเวลา ๑๓.๐๐ น.
ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
-
ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม
มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุม วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๐
ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องสืบเนื่อง
ประธานแจ้งเรื่องสืบเนื่องจากการประชุมเมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ การจัดการความรู้เรื่อง การเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่ และวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ การประชุมการนำเสนอการจัดการความรู้ในระดับวิทยาลัย ได้กำหนดให้มีการรายงานติดตามผลการนำแนวปฏิบัติเขียนบทความวิชาการสู่การนำไปใช้ มีการรายงานผลการนำแนวปฏิบัติไปใช้ ดังนี้
๑. อาจารย์อลิษา ทรัพย์สังข์ นำแนวปฏิบัติไปใช้ในการเขียนบทความ เรื่อง การนอนหลับที่ถูกรบกวนในเด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล : บทบาทพยาบาลในการจัดการกับปัญหา (Sleep disturbance in Child) อยู่ในขั้นตอนการลงมือเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์ พบปัญหาความยุ่งยากและเสียเวลาในการเขียนระบบการเขียนเอกสารอ้างอิงโดยใช้ระบบแวนคูเวอร์
(The Vancouver style) และ ระบบ APA (6th Edition)
มติที่ประชุม ดังนี้
- แนวทางปฏิบัติในขั้นตอนการลงมือเขียนบทความ หัวข้อ ๓ ส่วนท้าย ควรเพิ่มเติมว่า “หรือระบบแวนคูเวอร์ (The Vancouver style)”
- อาจารย์ผู้เขียนบทความวิชาการควรพัฒนาทักษะการใช้โปรแกรม EndNote ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับการจัดการทางบรรณานุกรม เช่น การสืบค้น การจัดเก็บ การจัดการรูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรม หรือรายการอ้างอิงที่ผู้ใช้ได้ไปสืบค้นมาจาก แหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น จากฐานข้อมูลออนไลน์ หรือจากฐานข้อมูลของห้องสมุด ฯลฯ โปรแกรม EndNote สามารถที่จะทำการ Import รายการอ้างอิงเหล่านั้นมาไว้ฐานข้อมูลของ EndNote ได้โดยตรง เพื่อนำมาจัดการในส่วนของรายการบรรณานุกรม หรือรายการอ้างอิงในตัวเล่มวิทยานิพนธ์ หรืองานวิจัย ทั้งนี้โปรแกรม End Note สามารถใช้งานร่วมกับโปรแกรมจัดการเอกสารทั่วไป เช่น Microsoft Word โดยสามารถสร้างรายการอ้างอิงหรือรายการบรรณานุกรมสำหรับงานเขียนแต่ละชิ้นได้ทันที และในรูปแบบที่ต้องการ เช่น APA, Chicago, Vancouver เป็นต้น
๒. อาจารย์วราภรณ์ ยศทวี นำแนวปฏิบัติไปใช้ในการเขียนบทความ เรื่อง บทบาทพยาบาลในการพัฒนาความสามารถเพื่อลดความเครียดในการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบประสาท อยู่ในขั้นตอนส่งต้นฉบับตีพิมพ์/เผยแพร่ เพื่อส่งให้ Reviewer พิจารณา ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์ พบปัญหาความยุ่งยากและเสียเวลาในการเขียนเอกสารอ้างอิงที่เป็นชื่อภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ
มติที่ประชุม ดังนี้
- แนวทางปฏิบัติในขั้นตอนการเตรียมเขียนบทความ หัวข้อ ๑.๔.๑ ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล ควรเพิ่มเติมว่า “ทั้งนี้หากเป็นเนื้อหาที่เป็นภาษาไทยควรสืบค้นจากต้นฉบับที่มีบทคัดย่อเป็นภาษาอังกฤษเพื่อความถูกต้องในการสะกดชื่อที่เป็นภาษาอังกฤษหากนำไปใช้ในรายการอ้างอิง”
- แนวทางปฏิบัติในขั้นตอนการตีพิมพ์ หัวข้อ ๓.๒ ส่วนท้ายประโยคควรเพิ่มเติมว่า “ให้ปฏิบัติตรงตามที่ Reviewer ให้ข้อเสนอแนะ หรือหากผู้เขียนบทความมีความเห็นไม่ตรงกับสิ่งที่ Reviewer ให้ข้อเสนอแนะ ควรติดต่อกลับไปที่กองบรรณาธิการของแหล่งตีพิมพ์นั้นๆ ทางโทรศัพท์หรือเมล์ส่วนตัว”
๓. อาจารย์นภดล เลือดนักรบ นำแนวปฏิบัติไปใช้ในการเขียนบทความ เรื่อง การใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง อยู่ในขั้นตอนศึกษาเงื่อนไขของแหล่งตีพิมพ์/เผยแพร่ พบปัญหาความยุ่งยากในของบประมาณเพื่อสนับสนุนการนำเสนอบทความในวารสารระดับนานาชาติ
มติที่ประชุม ดังนี้
- แนวทางปฏิบัติในขั้นตอนการตีพิมพ์ หัวข้อ ๓.๑ การเลือกแหล่งตีพิมพ์ เผยแพร่ ควรเพิ่มเติมว่า “ทั้งนี้ควรศึกษางบประมาณสนับสนุนการดำเนินการตีพิมพ์เผยแพร่”
- กลุ่มงานวิจัยควรจัดทำระบบการสนับสนุนทุนในการตีพิมพ์เผยแพร่
ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องหารือที่ประชุม
-
ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องอื่นๆ
ปิดการประชุมเวลา ๑๖.๐๐ น.
นัดประชุมครั้งต่อไป : -
ลงชื่อ ……………………………………………….. (นายอดุลย์ วุฒิจูรีพันธุ์) บันทึกรายงานการประชุม |
ลงชื่อ …………………………………………………… (นางอนัญญา คูอาริยะกุล) ตรวจรายงานการประชุม |
ในการจะเขียนบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่ให้ได้นั้น เราสามารถเริ่มต้นจากการสร้างแรงบันดาลใจในการเขียนให้ตนเองก่อน โดยเลือกเรื่องหรือประเด็นที่ชอบ และอ่านค้นคว้ามากๆเกี่ยวกับเรื่องราวเหล่านั้น แล้วนำมาสรุปเป็นประเด็นใหญ่และย่อยออกไป และอธิบายในแต่ละประเด็นอย่างมีหลักฐานอ้างอิง ยกตัวอย่างเช่น ข้าพเจ้า ตื่นเต้นกับเรื่องราวของหมูป่าอะคาเดมี ที่เป็นคนแปลกหน้าที่ชาวโลกอยากช่วยและอยากรู้จัก “อยากทำความเข้าใจสถานการณ์รอดชีวิตของเขา” ข้าพเจ้าดูทุกคลิบ ทุกข่าว ทุกการวิจารณ์ในช่วงเวลานั้นและต่อๆมาจนข้อมูลมันเริ่มซ้ำ จึงสรุปเขียนว่าเหตุผลที่เขารอชีวิตได้นั้น มันมาจาก2ประเด็นหลักคือ การมีความเชื่อและศรัทธาเกี่ยวกับMeditation และพลังอำนาจแห่งหัวใจรักของมนุษยชาติ Power of Human Hearty และเขียนเป็นวิจัยได้1เรื่อง ตอนนี้กำลังย่อยข้อมูลที่ค้นไว้มาเขียนเป็นบทความ…มันมีความสุขกับการเขียนกับการค้นคว้า กับการอธิบายปรากฎการณ์ที่ช็อคกระแสโลกและเขา13หมูป่าอะคาเดมีรอดชีวิตแบบอัศจรรย์..ยังค้นและเขียนต่อไป…แรงบันดาลใจสำคัญสำหรับคนเขียนงานวิชาการ